ยาฟาวิพิราเวียร์

“ยาฟาวิพิราเวียร์” รักษาโควิด-19 อาจทำให้ตาเปลี่ยนสี หรือเรืองแสง แต่จะกลับมาปกติ

Alternative Textaccount_circle
ยาฟาวิพิราเวียร์
ยาฟาวิพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ปัจจุบันยาฟาวิพิราเวียร์ถือเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ตามแนวทางการดูแลรักษา COVID-19 โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากยานี้มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณไวรัสได้ดี และจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศไทย พบว่าการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะรุนแรงของ COVID-19

และเป็นยาที่ไม่ควรซื้อมาบีิโภคเอง เนื่องจาก ยาฟาวิพิราเวียร์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียงและผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเหตุให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

ยาฟาวิพิราเวียร์ 2

ล่าสุด ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้โพสต์เรื่องผลข้างเคียงจากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ลงเฟซบุ๊คเพจ หมอแล็บแพนด้า โดยระบุว่า

“กินยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ใช่แค่ดวงตาเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง หรือน้ำเงิน แต่บางคนตาเรืองแสงได้ด้วยนะ ฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสที่ อย่างที่เรารู้กันว่ามีฤทธิ์ต่อต้านอาร์เอ็นเอไวรัสหลายชนิด ก็เลยเอามารักษาโควิด-19 เพราะโควิดเป็นไวรัส

ฟาวิพิราเวียร์ อีกชื่อหนึ่งคือ 5-Fluoro-2-hydroxypyrazine-3-carboxamide ซึ่งประกอบไปด้วยสารเรืองแสง ทีนี้พอเรากินยาเข้าไปเพื่อรักษาโควิด-19 แถมต้องกินวันละเป็น 10 เม็ด ยาก็เลยกระจายไปทั่วร่าง ทั้งผิว เส้นผม เล็บ ลูกตา บางคนจะเห็นชัดเลยว่าเรืองแสง บางคนก็มองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นเป็นสีม่วงๆ ไม่ต้องตกใจนะครับ ไม่กี่วันเดี๋ยวร่างกายก็กำจัดยาออกไปเอง ไม่ได้กลายเป็นมนุษย์เรืองแสงหรือตาม่วงไปตลอด เดี๋ยวก็กลับมาเป็นปกติครับ”

ยาฟาวิพิราเวียร์ 1


ข้อมูล :

  • ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (หมอแล็บแพนด้า)
  • rama.mahidol.ac.th/atrama/issue041/rama-rdu

ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่ทั่วโลกต่างก็กังวล

แพทย์ผิวหนังชี้ “ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม” สามารถเกิดขึ้นได้หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19

อย. เตือนอย่าซื้อ ยาฟาวิพิราเวียร์ กินเอง เสี่ยงเจอยาปลอมอาจอันตรายถึงชีวิต

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up