กลุ่มคนหนุ่มสาวมักจะมีข้
โดย หมอผิง – พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า “ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) คือ หนึ่งในกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี
ซึ่งระบบเผาผลาญนี้ คือ กระบวนการที่ร่างกายนำอาหารที่รับประทานเข้าไป เปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อใช้ดำรงชีวิต และทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ และถึงแม้ว่าร่างกายของทุกคนจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อมีอายุที่มากขึ้น ร่างกายของคนส่วนใหญ่จะมีมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ผนวกกับฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายที่ลดลง อย่างโกรทฮอร์โมน ส่งผลให้ระบบเผาผลาญจะทำงานได้น้อยลง ซึ่งสามารถส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นภาวะอ้วนลงพุง อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบเผาผลาญถึงสำคัญ”
การดูแลรักษาและช่วยชะลออัตราการเผาผลาญที่ลดลง สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
- เพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มากขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- กำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพราะนอกจากที่การออกกำลังกายจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญแล้ว การออกกำลังกายยังไปกระตุ้นให้เกิดการทำงานของระบบเผาผลาญส่วนที่มาจากการออกกำลังกายอีกด้วย
โดยการออกกำลังกายที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การกระโดดเชือก เป็นอย่างน้อย 150 – 300 นาทีต่อสัปดาห์ และการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เช่น บอดี้เวท ฟรีเวท โยคะ เป็นอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ข้อมูล : Garmin Thailand
ภาพ : Pexels
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
“ออกกำลังกาย” มีดีกว่าแค่ “ลดน้ำหนัก” ผลวิจัยชี้ชัดคนอ้วนลดความเสี่ยงจากโรคได้
ทำไมยิ่ง “ลดน้ำหนัก” ถึงยิ่ง “อ้วน” มีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรแก้