ฉีดสารแปลกปลอม

แพทย์ผิวหนังชี้การ ‘ฉีดสารแปลกปลอม’ เข้าสู่ผิวหนัง อาจเกิดอันตรายได้

Alternative Textaccount_circle
ฉีดสารแปลกปลอม
ฉีดสารแปลกปลอม

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ผลข้างเคียงจากการฉีดสารแปลกปลอมเข้าสู่ผิวหนัง เนื่องจากปัจจุบันได้มีความนิยมในการฉีดสารเติมเต็มหรือ ฉีดสารแปลกปลอม เข้าสู่ผิวหนังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากใช้ผิดวัตถุประสงค์

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้มีความนิยมในการ ฉีดสารเติมเต็ม หรือสารแปลกปลอมเข้าสู่ผิวหนังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพื่อเสริมความงาม โดยที่สารแปลกปลอมนั้นอาจเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับ “ทา” ที่ผิวหนังชั้นบน แต่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ด้วยการนำไปฉีดเข้าผิวหนัง หรือสารที่ใช้สำหรับ “ฉีดเข้าหลอดเลือด” โดยตรง ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา ดังนี้

ฉีดสารแปลกปลอม 1

แพทย์ผิวหนังชี้การ ‘ฉีดสารแปลกปลอม‘ เข้าสู่ผิวหนัง อาจเกิดอันตรายได้

1. เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง มีอาการผิวหนังบวม แดง กดเจ็บที่ผิวหนัง หรือเป็นหนอง อาจเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่สัปดาห์หลังการฉีด หรืออาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว

2. เกิดก้อนที่ใต้ชั้นผิวหนัง ที่เรียกว่า กรานูโลม่า (Granuloma) มีอาการบวมเป็นก้อน อาจมีหรือไม่มีการอักเสบร่วมด้วยก็ได้

3. เกิดภาวะตีบตันของเส้นเลือด อาจมีอาการปวดหรือชา ที่บริเวณที่ได้รับการฉีด หรือบริเวณใกล้เคียง

4. บริเวณที่รับการฉีดมีสีผิดปกติ อาจม่วงช้ำ หรือขาวซีด

5. มีอาการแสบ แห้ง แดงที่ผิวหนังมากกว่าปกติ ที่บริเวณที่รับการรักษา

ฉีดสารแปลกปลอม 2

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้บริโภคควรตรวจสอบก่อนที่จะทำการฉีด ดังนี้

1. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉีดว่าผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องหรือไม่

2. ตรวจสอบแพทย์ผู้ที่จะทำการรักษา ว่าเป็นแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่

3. ตรวจสอบสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการฉีดรักษา ว่าเป็นสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

4. ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดว่าเป็นของใหม่ เปลี่ยนทุกครั้งก่อนการรักษาในผู้ป่วยทุกรายหรือไม่

หากมีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้น ผู้บริโภคควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที การดูแลผิวพรรณที่ถูกวิธี แนะนำให้ใช้ ครีมกันแดด หลบแดด และรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม หากต้องการปรึกษาเรื่องผิวพรรณ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง


ข้อมูล : กรมการแพทย์
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพทย์ผิวหนังเตือนคนที่นิยม ทาเล็บสีแดง มีโอกาสแพ้มากกว่าสีอื่น และแนะวิธีป้องกัน

แพทย์ผิวหนังไขข้อข้องใจเรื่อง “กลิ่นตัว” พร้อมแนะวิธีป้องกัน และแนวทางรักษา

สูตินรีแพทย์ห่วงหญิงไทยเสี่ยงโรค “ช็อกโกแลตซีสต์” ย้ำไม่หายขาด อาจเป็นซ้ำ

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up