รู้จัก 'สารสไตรีนโมโนเมอร์' จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อันตรายมากหากสูดดม

รู้จัก ‘สารสไตรีนโมโนเมอร์’ จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อันตรายมากหากสูดดม

Alternative Textaccount_circle
รู้จัก 'สารสไตรีนโมโนเมอร์' จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อันตรายมากหากสูดดม
รู้จัก 'สารสไตรีนโมโนเมอร์' จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อันตรายมากหากสูดดม

จากเหตุการณ์ โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (5 ก.ค.64) ซึงเป็นโรงงานผลิตโฟมของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ที่ตั้งอยู่บนถนนกิ่งแก้ว ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ทางทิศตะวันตกของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีสารเคมีอันตรายชื่อ สไตรีนมอนอเมอร์ เก็บอยู่ปริมาณมาก ได้เกิดระเบิดขึ้น ซึ่งมีรายงานความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตขึ้น อีกทั้งทางด้าน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ย้ำเตือนประชาชนว่าอย่าสูดดมควันจากโรงงานแห่งนี้ เพราะสารดังกล่าวอันตรายและอาจก่อมะเร็งได้

รู้จัก 'สารสไตรีนโมโนเมอร์' จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

รู้จัก ‘สารสไตรีนโมโนเมอร์’ จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ อันตรายมากหากสูดดม

สไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสารเคมีที่มีอันตรายต่อระบบอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบสร้างเลือด ตับ และระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อได้รับไอระเหยของสารนี้ทางการสูดดม ส่งผลให้เวียนศีรษะ ง่วงซึม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หมดสติ จะต้องย้ายผู้ป่วยไปบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที หากได้รับทางผิวหนังจะมีอาการผิวหนังแดง ปวด ให้ใช้วิธีล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมากๆ หากสัมผัสสารทางดวงตาจะทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง ปวดตา จึงควรล้างตาด้วยน้ำในปริมาณมาก ๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ด้าน รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์ว่า สารเคมีที่โรงงานนี้มีสารตั้งต้นหลายตัว ซึ่งสารประกอบหลักๆ คือ สไตรีน (styrene) เพราะเป็นโรงงานที่ทำ ฟองน้ำ โฟม นอกจากนี้ ยังมีสาร พอลิสไตรีน (polystyrene) โดยมีสไตรีนเป็นสารตั้งต้น และยังมีสารที่อยู่ในกลุ่มตัวทำละลาย เช่น คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) โทลูอีน (toluene) สารเคมีที่เป็นตัวชะล้างทำความสะอาด ซึ่งเป็นสารประกอบ ฮาโลเจน (halogen) ซึ่งโดยรวมแล้ว จะเรียกว่าเป็นสารเคมีที่ไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ คือ สารที่เหนี่ยวนำที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงใช้งานในอุตสาหกรรมระบบปิด ไม่ค่อยจะหลุดรอดออกมาสู่ชุมชน

ฝั่งทางด้าน เวิร์คพอยท์ทูเดย์ รศ.วีรชัย อธิบายว่า สารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะ สารสไตรีน มีสารประกอบอื่นๆ เช่น เบนซิน เป็นสารไวไฟที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เมื่อสารเหล่านี้เจอกับไฟก็เกิดการระเบิดปะทุขึ้นมา

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในอากาศที่มาจากการเผาไหม้ คือ ฝุ่น PM 2.5 พร้อมกับสารปนเปื้อนสารเคมี เป็นกลุ่มหมอกควัน กระทบต่อประชาชนที่อาศัยโดยรอบ และยังเป็นผลต่อสุขภาพในระยะยาว

เขากล่าวว่ามลพิษที่เกิดขึ้น “ไม่ได้มีพิษเฉียบพลัน แต่เป็นกลุ่มหมอกควันที่มีสารเคมีเจือปนมีผลต่อร่างกายในระยะยาว ถ้าสูดหายใจเข้าไปจะมีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะเป็นมะเร็งกันทั้งหมด เพราะสารกลุ่มนี้เป็นสารที่สงสัยให้ก่อมะเร็ง แต่การรับเข้าไปเยอะๆ ก็มีผลต่อร่างกาย ในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแออยู่แล้วเมื่อต้องสูดดมสารพิษก็อาจทำให้ร่างกายแย่ลง แนะนำว่าประชาชนควรใส่หน้ากากแบบเต็มใบหน้า หรือหน้ากากที่ป้องกัน PM 2.5 ได้”

สารสไตรีนโมโนเมอร์ 1

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีไอระเหยของสารสไตรีน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ กระจายออกไปโดยรอบในรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงงาน ซึ่งเป็นด้านท้ายลมในช่วงเช้า บริเวณแถบถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก แขวงดอกไม้ เขตประเวศ ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา

ขณะเดียวกัน ผลการตรวจของกรมควบคุมมลพิษพบว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดมลพิษไกลถึง 9 กม.

โดยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่โดยรอบในระยะ 500 เมตร ถึง 9 กิโลเมตร โดยตรวจวัดระดับขีดจำกัดการติดไฟ (LEL) ปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงความกังวลว่าอาจมีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งฝนจะไปชะล้างกลุ่มควันจากเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นสารพิษแล้วตกลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ อาจส่งผลต่อประชาชนในการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้น้ำช่วงนี้ โดยในช่วง 1-2 วันนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ 2

ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ต่างแชร์ภาพและคลิปกลุ่มควันจากเหตุไฟไหม้ที่ได้ลอยเข้าปกคลุมหลายพื้นที่ของ กทม. เช่น ย่านบางนา ลาดกระบัง หัวหมาก บางกะปิ รวมถึงบริเวณแยกรัชโยธิน และประชาชื่น

รศ.วีรชัย บอกกับเวิร์คพอยท์ทูเดย์ว่า การกำจัดหมอกควันที่มีสารพิษเหล่านี้ มีระยะเวลาสลายตัวตามธรรมชาตินานเป็นปี แต่ก็จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น น้ำ ความชื้น ฝน ก็จะทำให้สลายตัวได้เร็ว และน้ำจะทำปฏิกิริยาทำให้กลายเป็นสารประกอบตัวอื่นที่สลายตัวได้ง่ายขึ้น และลงสู่พื้นดินซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวนกลับมาสู่มนุษย์ได้อีก

นักวิชาการเคมีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสงสัยว่าที่ตั้งโรงงานดังกล่าว อยู่ในพื้นที่สีแดงของผังเมืองสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับอาคารพาณิชย์และแหล่งชุมชน ทั้งที่โรงงานขนาดใหญ่แบบนี้ควรจะเป็นพื้นที่สีม่วง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบต่อไป


ข้อมูล : bbc.com/thai , ไทยรัฐออนไลน์ , เวิร์คพอยท์ทูเดย์

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฮาวทูเซฟชีวิตในวิกฤต ฝุ่น PM2.5 มหันตภัยร้ายเล็กจิ๋วที่ห้ามมองข้าม!

ชวนรู้ “แอนโดรกราโฟไลด์” ใน “ฟ้าทะลายโจร” ฮีโร่สมุนไพรไทย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

ฮาวทูดูแลผิวจาก ฝุ่นพิษ PM 2.5 ภัยเงียบที่ทำให้เกิดสิว ผดผื่น และหมองคล้ำ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up