พิธีล้างเท้าเจ้าบ่าว พร้อมข้าวของที่ต้องเตรียม และสคริปต์ที่ต้องมี

account_circle

เมื่อพูดถึง พิธีล้างเท้าเจ้าบ่าว ในปัจจุบันนี้บ่าวสาวหลายคนอาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าไปถามคุณพ่อคุณแม่ หรือปู่ย่าตายายแล้วล่ะก็ พวกท่านจะร้องอ๋อโดยทันที ซึ่งสาเหตุที่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีพิธีนี้ให้เห็นแล้วอาจจะเป็นเพราะด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยากและอาจทำให้ช่วงเวลาดูยืดเยื้อ แต่ถ้าหากคุณเป็นคู่ที่อยากสืบสานวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งนี้ไว้ แพรว wedding ได้รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ พร้อมสคริปต์เป๊ะๆ แบบ 2 ภาษามาให้แล้วค่า

 

สิ่งที่ต้องเตรียม

ฝ่ายเจ้าสาวตระเตรียมแบบโบราณ : ใบตองวางทับด้วยหินก้อนใหญ่ที่เจ้าบ่าวสามารถขึ้นไปยืนได้และน้ำสะอาดผสมมะกรูดมะนาวในขันเงินสำหรับล้างเท้าเจ้าบ่าว

ฝ่ายเจ้าสาวตระเตรียมแบบประยุกต์ : ก้านมะยมและน้ำสะอาดใส่ในขันเงินสำหรับพรมเท้าเจ้าบ่าว

ฝ่ายเจ้าบ่าว : เตรียมซองเงินหรือสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่ฝ่ายเจ้าสาว

ขั้นตอนในพิธี

เมื่อเจ้าบ่าวมาถึงหน้าประตูบ้านเจ้าสาวแล้ว น้องหรือญาติผู้น้องของเจ้าสาวจะเป็นผู้ล้างเท้าเจ้าบ่าว โดยเจ้าบ่าวจะต้องถอดรองเท้าและยืนอยู่บนหินที่รองด้วยใบตอง จากนั้นน้องหรือญาติผู้น้องของเจ้าสาวจะตักน้ำที่เตรียมไว้ในขันเงินล้างและช่วยเช็ดเท้าให้เจ้าบ่าว เพื่อเป็นการต้อนรับและเป็นการแสดงความเคารพเจ้าบ่าวที่จะเข้ามาอยู่ในครอบครัว หลังจากนั้นเจ้าบ่าวจะให้ซองเงินเป็นสินน้ำใจตอบแทน

ปัจจุบันคนไทยสวมรองเท้าเดินกันจนเป็นเรื่องปกติจึงไม่จำเป็นต้องล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ทำให้มีการประยุกต์พิธีล้างเท้าโดยเปลี่ยนมาใช้ก้านมะยมมัดแล้วจุ่มน้ำในขันที่เตรียมไว้ พรมบนรองเท้าเจ้าบ่าว ไม่ต้องล้างจนเท้าเปียกเหมือนสมัยก่อน และบางพื้นที่อาจมีการชิงรองเท้าเจ้าบ่าว เพื่อเอาไว้เรียกค่าไถ่ และสร้างสีสันสีสันในงานแต่ง

 

The Feet Washing Ceremony (if necessary)

  • The groom takes off his shoes and stands on a rock placed on a banana leaf.
  • The younger sibling of the bride pours water onto the groom’s feet to welcome and to show respect to the person who will become his or her brother-in-law. (In the old days, Thais walked barefoot everywhere, so they had to wash their feet before stepping in to houses.)
  • The groom gives money to say thank you.

    NOTE
    : For convenience, these steps can be reduced to simply sprinkling water on the groom’s feet.

>> อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีแต่งงานไทยเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย! <<

Praew Recommend

keyboard_arrow_up