ชุดแต่งงานไทย ผ้านุ่ง-สไบต่างสี งามแท้ตามขนบโบราณผสานความมงคล : Colorful Traditional Thai Dress

account_circle

Vanus Couture

ชุดแต่งงานไทย โบราณ

ร้านในดวงใจของเจ้าสาวที่ชอบความหรูหรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ครั้งนี้ “คณุสรรค์ สุดเกตุ” เจ้าของห้องเสื้อ “วนัช กูตูร์” ได้รังสรรค์ชุดแต่งงานแบบไทยในธีมสีสันตัดกันให้ แพรว wedding ชมโดยเฉพาะ

โดยคุณสรรค์ได้เล่าย้อนไปถึงที่มาที่ไปของการนุ่งห่มสีสันตัดกันใน วัฒนธรรมไทยว่า “คนไทยได้อิทธิพลด้านเครื่องนุ่งห่มมาจากอินเดียต้ังแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะอินเดียเชี่ยวชาญเรื่องงานทอผ้า ความที่ผู้คนมีผิวค่อนข้างเข้มจึงนิยมสวมเสื้อผ้าสีสันสดใสและตัดกันเพื่อขับผิว เมื่อไทย รับวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มและสั่งซื้อผ้าจากอินเดียมา จึงนิยมสวมชุดสีสันตัดกันไปด้วย เพียงแต้ไม่นิยมสีฉูดฉาดมากนัก จึงลดสีให้นุ่ม ลงหน่อย รวมไปถึงสีท่ีนํามาย้อมผ้าของไทยก็เป็นของจากธรรมชาติ เช่น ใช้ครามย้อมออกมาเป็นสีน้ําเงิน ส่วนสีแดงมาจากครั่ง ซึ่งไม่ได้ให้สีจัดจ้ามาก

“สําหรับการนุ่งห่มของสตรีในยุคโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา นิยมนุ่งสีห่มสี คือใช้ผ้านุ่งสีหน่ึงตัดกับห่มสไบอีกสีเช่นท่ีหลายคนเคย ได้ยิน ว่านุ่งครามห่มแสด หรือนุ่งแดงห่มเขียว เป็นต้น แม้จะใส่สีตัดกันแต่ในเครื่องนุ่งห่มนั้นจะมีตัวเชื่อมระหว่างสองสีอยู่ สมมตินุ่งครามห่มแสด บริเวณหน้านางหรือเชิงผ้านุ่งมักมีลวดลายที่เป็นสีแสดผสมอยู่ เพื่อเช่ือมสีระหว่างผ้านุ่งและผ้าสไบ ถือเป็นเทคนิคการผสมสีแบบโบราณให้ดู สบายตา

ชุดแต่งงานไทย โบราณ

“หากเจ้าสาวคนใดอยากเลือกชุดสีตัดกัน ต้องให้ความสําคัญกับน้ําหนักของเฉดสีท่อนบนและท่อนล่างให้เท่ากัน เช่นหากใช้ผ้านุ่งที่มีน้ําหนักสีเข้ม ท่อนบนถึงจะคนละสีก็ควรจะมีความเข้มของสีเท่าๆ กับท่อนล่าง ทําให้แม้จะดูขัดแย้งก็ยังไปด้วยกันได้ แล้วอาจเสริมด้วยสไบดิ้นทองดิ้นเงิน หรือเครื่องประดับ เพื่อมาเป็นตัวเชื่อมระหว่างสี ทําให้ในภาพรวมของชุดแม้จะให้สีสันขัดแย้ง แต่ไม่แปลกตา

“ถ้าให้ผมแนะนําคู่สีที่ตัดกันแบบเหมาะกับปัจจุบัน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ชอบโทนชมพู แต่ควรเป็นโทนชมพูกะปิ หรือชมพูอมเทาจะสวยและคลาสซี่กว่า โดยหากใช้ผ้านุ่งชมพูกะปิ ผมแนะนําให้จับคู่กับท่อนบนโทนสีขาวงาช้าง จะให้ความเป็นโมโนโทนเล็กๆ อมนู้ดหน่อยๆ เหมาะกับคนผิวขาว แต่ถ้าเป็นสาวผิวเข้มผมแนะนํา สีโทนร้อน อย่างโทนสีแดงตัดกับสีเหลืองทอง จะช่วยขับผิวให้สวยเด่นไปอีกแบบ ครั้งนี้ผมจึงเลือกทําชุดแต่งงานแบบสีตัดกันมา 2 ชุดในสอง โทนสี ทั้งสีโทนเย็นและสีโทนร้อน

“โดยชุดแรกใช้ผ้านุ่งเป็นผ้ายกสีน้ําทะเล ตัดกับสไบอัดกลีบสีกลีบบัว โดยมีจุดเชื่อมอยู่ที่ลวดลายผ้าบริเวณหน้านางที่มีสีกลีบบัว แทรกอยู่เบาๆ แล้วทับด้วยสไบชิ้นนอกสีทองที่ปักแล่งทองอีกที ซึ่งผลของการใช้สีกลีบบัวมาซ้อนไว้ด้านในจะช่วยเบรกความเหลืองทองของ ท่อนบนให้ดูนุ่มลง ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป ทําให้ผู้สวมใส่ดูอ่อนเยาว์และ อ่อนหวานขึ้น ดูโรแมนติกไปอีกแบบ

ชุดแต่งงานไทย โบราณ

“ส่วนชุดท่ีสองจะใกล้เคียงสีแบบโบราณข้ึนมาหน่อย โดดเด่นด้วย ผ้านุ่งสีแดง ตัดกับสะพักสีเหลืองทองอร่าม เป็นความขัดแย้งกันระหว่าง สีแดงกับสีเหลืองซึ่งเป็นโทนร้อนทั้งคู่ ส่วนสไบสีแดงที่ซ้อนทับอยู่ใต้ สะพักสีทองจะเป็นเหมือนตัวเชื่อมให้สีของผ้านุ่งโยงไปถึงท่อนบนด้วย แล้ว เติมเครื่องประดับที่เป็นทองผสมกับทับทิมสีแดงมาช่วย โดยข้อควรระวังของการเลือกชุดโทนร้อนและสีเข้มนั้น ไม่ควรใช้เกิน 2 สี เพราะหากใช้สีมากไปจะทําให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตา

“สําหรับผ้านุ่งที่นํามาใช้ในชุดเจ้าสาวในครั้งนี้ ทั้งสองชิ้นเป็นผ้า ยกใหญ่แบบโบราณของลําพูนแบบมีขอบสังเวียนตามแบบหญิงไทย โบราณที่มีชาติตระกูล ซึ่งทางวนัช กูตูร์ สั่งทอพิเศษ ทําให้มีราคา ค่อนข้างสูง เหมาะกับการนุ่งสด (การใส่ผ้านุ่งแบบโบราณท่ีใช้ผ้าทั้งผืน มาพันจับจีบทบแล้วเย็บด้วยมือ แทนการใช้ผ้านุ่งสําเร็จ) ส่วนสะพักสีทองช้ินนอกของทั้งสองชุดก็เป็นงานปักแล่งทองด้วยมือ และเป็นลวดลายท่ีเราออกแบบเองจึงมีแค่ช้ินเดียว

ชุดแต่งงานไทย โบราณ

“สําหรับเจ้าสาวท่ีกําลังตัดสินใจเลือกชุดไทย ผมแนะนําให้เข้ามาปรึกษาพูดคุยกันก่อนจะดีที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วสีสันของชุดจะขึ้นอยู่กับความชอบ เหมาะกับสีผิว ประกอบกับธีมงานและสถานท่ี ว่าธีมงานเป็นสีอะไร สถานที่เป็นอย่างไร ไปจนถึงดอกไม้ในงาน เพื่อประเมินว่าพอใส่ชุดเจ้าสาวไปยืนอยู่หน้างานแล้วจะจมไหม คือมีหลายปัจจัยมากครับ ดังน้ันหากให้รายละเอียดได้เยอะ มีรูปสถานที่และธีมมาให้ดู ผมจะพออนุมานได้ว่าใส่ชุดแบบไหนดี ซึ่งเท่าที่เคยแนะนํามา “สวยถูกใจทั้งน้ันครับ”

Praew Recommend

keyboard_arrow_up