สันต์ ศรุตานนท์

เปิดบ้านทรงยุโรปดูอภิมหากองมรดกสองชั่วอายุคนของ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์

สันต์ ศรุตานนท์
สันต์ ศรุตานนท์

เปิดบ้านทรงยุโรปบนพื้นที่ 6 ไร่ ริมถนนสุขุมวิทของ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ ร่ายตำนานมรดกสองชั่วอายุคน หนึ่งเดียวที่ได้ชื่อว่ามีมากที่สุดในโลก

ต้องบอกว่าเป็นบุญตาของคนรักของเก่าจริงๆ เมื่ออดีต ผบ.ตร.มือปราบ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ สุภาพบุรุษหนุ่มใหญ่ เจ้าของความสูง 189 เซนติเมตร เปิดบ้านทรงยุโรปบนพื้นที่ 6 ไร่ ริมถนนสุขุมวิทให้ได้ชมทุกซอกมุม

นับเป็นหนึ่งในมรดกที่พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ ได้รับจากคุณลุงตั้งแต่ราคาตารางวาละร้อยบาท จนปัจจุบันตารางวาละ 3 แสนบาท รายล้อมด้วยต้นไม้นานาชนิด ทั้งของไทยและเทศ แซมด้วยรูปปั้นหินอ่อนแกะสลักหลากสีนับร้อยชิ้น ทุกชิ้นล้วนเดินทางมาจากฝรั่งเศสและอิตาลีด้วยมูลค่าสูงแตกต่างกัน บางชิ้นหลักแสนบาท ขณะที่บางชิ้นสูงลิ่วถึงหลักล้าน!

เปิดบ้านทรงยุโรปดูอภิมหากองมรดกสองชั่วอายุคนของ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์

สันต์ ศรุตานนท์

สันต์ ศรุตานนท์

untitled-2

“รูปปั้นหินอ่อนส่วนใหญ่มักแกะสลักเป็นรูปเทพเจ้าในเทพนิยายของยุโรป มีทั้งเทพเจ้าอพอลโล มาดอนน่า คิวปิด ฯลฯ ชิ้นไหนใส่เสื้อผ้ามิดชิดราคาถูกหน่อย ยิ่งมีเสื้อผ้าน้อยชิ้นยิ่งแพง เพราะการแกะสลักให้เห็นกล้ามเนื้อและสรีระคนเหมือนจริงไม่ง่าย รูปปั้นหินอ่อนเป็นของมีค่าอย่างเดียวที่วางนอกบ้านได้โดยไม่หาย เพราะแต่ละชิ้นหนักเป็นตัน”

สันต์ ศรุตานนท์

ถ้าให้เท้าความถึงที่มาที่ไปของมรดกเก่าเก็บเหล่านี้คงต้องเริ่มที่ “คุณย่า” คือเจ้าจอมสมบุญในรัชกาลที่ 5 เลี้ยงหลานทั้งหมด 4 คน คือ พล.ต.อ.กระเษียร ศรุตานนท์ (นามสกุลพระราชทานตอนต้นรัชกาลที่ 6) คุณลุงของท่านสันต์ คุณลุงกระสินธ์ คุณลุงสวัสดิ์ (ทั้งสองท่านนี้ต่อมาถูกโอนให้ใช้นามสกุล ‘มันประเสริฐ’ เป็นนามสกุลพระราชทานตอนปลายรัชกาลที่ 6) รวมถึงคุณพ่อท่านสันต์ (กระสันต์ ศรุตานนท์) ซึ่งเป็นน้องคนเล็ก อยู่ในบ้านเดียวกันทั้งหมด ริมถนนพระราม 4

โดยคุณย่าได้รับพระราชทานของบางส่วนจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 อีกทั้งอยู่ในตระกูลที่ฐานะดี เป็นนักสะสมที่ดินตัวยง เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก ทั้งในย่านสุขุมวิท หัวลำโพง พระราม 4 และถนนเพชรบุรี พอคุณย่าเสียชีวิต ทรัพย์สินต่างๆ จึงตกเป็นของหลานๆ

สันต์ ศรุตานนท์

สันต์ ศรุตานนท์

“ด้วยความที่คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ผมอายุ 5 เดือน คุณแม่ (ประยงค์ ศรุตานนท์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) จึงเลี้ยงดูมาคนเดียว พอคุณลุงกระเษียรเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายกะทันหัน ตอนนั้นผมเป็นร้อยตำรวจโท เปิดพินัยกรรมออกมา ท่านยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผม เพราะท่านไม่มีบุตร ดังนั้นมรดกที่ผมได้รับทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่เก็บสะสมกันมา 3 ชั่วอายุคน ชั่วคนแรกคือคุณย่าท่าน (เจ้าจอมสมบุญ ในรัชกาลที่ 5) รุ่นต่อมาคือคุณลุงกระเษียร จนมารุ่นผม เป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 เพราะชอบของเก่ามาตั้งแต่เด็ก

“ตอนอายุ 2 – 3 ขวบ ถ้าซนหรือร้องไห้งอแงเป็นต้องถูกจับขังในตุ่มโบราณลายครามของจีนตลอด จนรู้สึกผูกพันกับของพวกนี้ เหมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของเราตั้งแต่เกิด เมื่อได้รับมรดกมาจึงจำเป็นต้องสานต่อ เพราะของบางอย่างที่คุณลุงไม่ได้เก็บ แต่ผมชอบ ก็ซื้อหามาสะสม ทีแรกคิดว่าสะสมนิดหน่อย ทำไปทำมากลายเป็นมีมากมายหลายอย่าง”

ร่ายตำนาน “สังข์” เห็นแล้ว “ซี้ด” ของสะสมหนึ่งเดียวที่ได้ชื่อว่ามีมากที่สุดในโลก!

หนึ่งในของสะสมที่อยู่ในคลังมรดกของท่านสันต์และเป็นคนเดียวในโลกที่มีในครอบครองก็คือ “สังข์”

สังข์โบราณ สังข์โบราณ สังข์โบราณ สังข์โบราณ สังข์โบราณ

ท่านสันต์กล้าออกตัวว่ามีสังข์เยอะที่สุดในโลก ทั้งสังข์เป่าและสังข์รดน้ำ ใหญ่แค่ไหนก็มี ยาวเป็นเมตรก็มี เพราะมีชาวอังกฤษคนหนึ่งซึ่งมีสังข์มากที่สุดในโลกถึง 70 ชิ้นนำมาขายต่อ ก็รับซื้อมาหมด มีทั้งสังข์เลี่ยมทองคำ โดยตีเนื้อทองคำหนาๆ มาหุ้ม ตกแต่งด้วยมรกต ทับทิม เฉพาะตัวสังข์อายุหลายล้านปี ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากทิเบต ภูฏาน เนปาล อินเดีย รวมที่มีทั้งหมด 700 สังข์

สันต์ ศรุตานนท์

“ส่วนใหญ่คนอังกฤษ ฮอลแลนด์ และฝรั่งเศสชอบสะสมของพวกนี้ เพราะอินเดีย เนปาล เคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ ส่วนมากคนเล่นของเก่ามักผูกพันกับของ คนที่นำมาขายต่อให้ผมตั้งราคาไม่แพง แต่มีข้อแม้ว่าทุกปีขอเดินทางมาเยี่ยมสักครั้ง เพราะเก็บมาตั้งแต่หนุ่ม และถ้าผมจะปล่อยต่อให้บอกเขาก่อน เผื่อช่วงนั้นเขาอยากกลับมาเล่นต่อ จะได้ซื้อคืน

“ความจริงถ้าเขาแยกขายจะได้ราคามากกว่าขายรวม แต่ถ้าแยกขายเขาไปเยี่ยมไม่ได้ จึงขายรวม และเหตุที่ผมชอบสะสมสังข์ เพราะอย่างน้อยถือเป็นของมงคล ส่วนงาช้างแกะสลักที่เป็นศิลปะฝีมือดี อยู่ที่ไหนไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร ถือเป็นของมีค่าที่สะสมต่อเนื่องกันมา คุณค่าไม่เคยตก”


ชุดเชี่ยนหมากทองคํา

มรดกที่ท่านสันต์ได้ตกทอดมาจากคุณลุงจึงเป็นสิ่งที่มิอาจประเมินค่าได้ เรียกว่าคอลเล็คเตอร์เห็นแล้วซี้ดจริงๆ 


เรื่องและภาพ : นิตยสารแพรว

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up