ชีวิต(ไม่)ตลกของ กตัญญู สว่างศรี ราชาเสียงหัวเราะแห่งยุค
กตัญญู สว่างศรี

ชีวิต(ไม่)ตลกของ กตัญญู สว่างศรี ราชาเสียงหัวเราะแห่งยุค

Alternative Textaccount_circle
กตัญญู สว่างศรี
กตัญญู สว่างศรี

ช่วงเวลาที่ม่านเปิด ผู้คนต่างเงียบรอการเริ่มต้นทอล์คโชว์ของ กตัญญู สว่างศรี ผู้ที่ชื่นชอบในการเล่าเรื่องตลก แม้สิ่งที่เขาเคยผ่านมาไม่ค่อยตลกเท่าไร เป็นนักเขียนแล้วไม่รุ่ง เปิดสํานักพิมพ์ก็ไม่รอด ทั้งยังเคยถูกไล่ออกจากงาน ที่สุดเขาตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางมาเป็นผู้มอบเสียงหัวเราะผ่าน Stand-Up Comedy และความบันเทิงในรายการ Katanyu Tonight

เปิดโลกการเขียน


“ประสบการณ์ในวัยเด็กที่มีผลต่อแนวคิดในการใช้ชีวิตของผมทุกวันนี้น่าจะเป็นตอนที่อยู่กับแม่ครับ ผมโตมาในครอบครัวที่มีคุณแม่ ผม และพี่ชาย รวมถึง น้องชายแม่ที่ผมเรียกว่าอากู้ ซึ่งเป็นโรคประสาท คนอื่นจะมองว่าสติไม่ดีเลยก็ว่าได้ แต่คุณแม่ก็ดูแลพวกเรามาเป็นอย่างดี ทั้งทํางานไปด้วย พาอากูไปโรงพยาบาลด้วย ตัวผมเองก็มีส่วนร่วมในการช่วยดูแล ได้เห็นสายตาของคนที่ตัดสินอาว่าบ้า เราก็ ไม่ได้โทษใคร ประสบการณ์เหล่านี้ทําให้เรามีความเห็นอกเห็นใจ ทําความเข้าใจผู้อื่น โดยที่ไม่รีบตัดสินใครไปก่อน รวมถึงได้ความอดทนมาจากคุณแม่ ทําให้พร้อมสู้กับ สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญในชีวิต”

“ความสนใจในวัยเด็กที่เชื่อมโยงมาถึงงานในปัจจุบันก็ค่อนข้างเยอะ ความที ชอบอ่านการ์ตูน นิยายแนวเหนือธรรมชาติ ฟังเพลง ดูหนังซิตคอม ชอบถึงขั้น เสพติดเลยก็ว่าได้ เกรดตอนมัธยมคือ 1.6 ไม่รู้จบมาได้ยังไง ไม่ชอบเข้าเรียน แต่คิดมาตลอดว่าอยากทํางานด้านครีเอทีฟ อย่างดีเจ นักเขียนบทละครซิตคอมหรือท่าภาพยนตร์ จึงตัดสินใจเรียนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต”

“ ชีวิตพลิกผันช่วงนี้ละครับ เพราะยังไม่ชอบเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่เอาเวลา ไปทําอย่างอื่น ตอนนั้นนิตยสาร a day มีโครงการ a teem junior รุ่นที่ 3 เป็น โครงการสําหรับให้นักศึกษาเรียนรู้งาน ผมลองสมัครไปแล้วผ่านเข้าไปอยู่ในทีม กองบรรณาธิการ ตอนนั้นตื่นเต้นมาก เพราะมีแต่คนเก่ง ๆ อย่างพี่เต๋อ (นวพล ธํารงรัตนฤทธิ์), พี่เต้ (จิราภรณ์ วิหวา) หรือเคน (นครินทร์ วนกิจไพบูลย์) ทําให้ ตัวเองได้เรียนรู้ไปด้วย”

“แต่เส้นทางนี้ไม่ง่ายเลย เพราะผมไม่มีพื้นฐาน ยากสุดคือการทําต้นฉบับ การเขียนบทความให้น่าอ่าน ขณะที่คนอื่นในทีมมีทักษะกันบ้าง ตอนนั้นพี่ก้อง (ทรงกลด บางยี่ขัน) เป็นบรรณาธิการ เขาแก้งานคนอื่นนิดหน่อย ส่วนของเรา ไม่แก้ แต่พี่ก้องเขียนขึ้นใหม่ทั้งหมด ทําให้ตลอดเวลา 3 เดือนที่ฝึกงานผมทํา ต้นฉบับได้แค่ 2 ชิ้น แถมยังโดนจดหมายคอมเมนต์มาด่าอีกว่าข้อมูลผิดพลาด นั่งร้องไห้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ รู้สึกเฟลมาก ทุกวันนี้ก็ยังจําความรู้สึกนั้นได้”

“ผมถามเพื่อนสนิทในทีมชื่อเอี่ยว (ศิวะภาค เจียรวนาลี) ว่าทํายังไงให้เขียน แล้วน่าอ่าน เขาแนะนําให้เข้าร้านหนังสือ หยิบเล่มที่ชอบมาอ่านเยอะ ๆ หลังจากนั้น ผมก็เข้าร้านหนังสือเป็นบ้าเป็นหลัง เลือกหยิบพวกวรรณกรรมคลาสสิกอย่าง The Brothers Karamazor ของฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี นักเขียนรัสเซีย กับของ ฮารูกิ มูราคามิ เล่มที่ชอบคือ Kafka on the Shore อะไรที่เขาว่าดี ผมตามอ่านหมด”


“จากที่เคยอ่านแต่หนังสือการ์ตูน ไม่ค่อยได้ซึมซับทักษะการเขียน แต่การ อ่านครั้งนั้นถือว่าเปิดโลกของการเขียนให้ผม รู้สึกว่าตัวเองพัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะการเขียนหรือการเล่าเรื่อง แต่ภายใน 3 เดือนนั้นไม่ได้ทําให้เขียนหนังสือดีขึ้น มาได้แบบพริบตานะ ต้องอาศัยการทําบ่อย ๆ ไม่หยุดอยู่กับที่ แล้วผลลัพธ์จึงจะ ปรากฏออกมา”

กตัญญู สว่างศรี

เส้นทางนักเขียน

หลังจากฝึกงานและเรียนต่อจนจบ ถึงเวลาก้าวออกมาสู่โลกของการทํางาน จริง “ผมมีโอกาสร่วมงานกับ happening นิตยสารเปิดใหม่แนวศิลปะบันเทิงของ พวิภว์ บูรพาเดชะ ในตําแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการ อย่าเพิ่งตกใจนะ เพราะตอนนั้น มีแค่ผมกับพี่วิภว์สองคนน่ะ (หัวเราะ) ความที่รู้จักกันมาสมัยฝึกงานอยู่ที่ a day”

“ระหว่างทํางานผมมีโอกาสเขียนนิยายสั้นเรื่อง อยู่กับกู่ (2553) ได้ตีพิมพ์ เป็นคอลัมน์ใน happening ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่ได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์ ในชีวิตที่เล่าไปก่อนหน้านี้ ได้รับความสนใจพอสมควร ทําให้เริ่มเห็นแววว่า ตัวเองอาจจะมาทางเรื่องสั้น จึงเขียนมาเรื่อย ๆ และมีโอกาสตีพิมพ์ ยๆ ลงในนิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมอย่าง ช่อการะเกด ฉบับที่ 55 เรื่อง ความทรงจํา ตอนนั้นเป็นความรู้สึกที่สุดยอดมาก ภูมิใจ ในตัวเองสุด ๆ ท่าให้ตระหนักด้วยว่าคนเราถนัดการเขียน ไม่เหมือนกัน เมื่อก่อนเข้าใจว่าการเขียนที่ดีต้องเขียนแบบ วรรณกรรมเจ๋ง ๆ แต่ทุกวันนี้เข้าใจแล้วว่าเขียนคอลัมน์ แบบหาข้อมูลเก่งก็แบบหนึ่ง เขียนเรื่องแต่งเก่งก็แบบหนึ่ง เขียนสัมภาษณ์เก่งก็อีกแบบ ฟีเจอร์ความเก่งไปคนละทางกัน

ครั้งหนึ่ง…โดนไล่ออก

“หลังจากทํางานที happening ไปสักพักผมก็เปลี่ยนงานอีก ความที่ชอบทําอะไรใหม่ ๆ บวกกับเริ่มหลงใหลในงานวรรณกรรมเรื่องสั้น จึงเข้าไปทํางานที่นิตยสาร Writer ไม่กี่เดือน พี่บินหลา สันกาลาคีรี บรรณาธิการ นิตยสาร แจ้งว่า“คุณใช้แต่ปากทํางาน” ซึ่ง ตอนนั้นผมอายุประมาณ 26 – 27 ปี ยังเป็นวัยรุ่น ก็ไม่ค่อยเข้าใจ คิดว่าเราคงเขียนไม่ถูกใจ จึงโดนไล่ออกมา เพิ่งมาเข้าใจทีหลังว่าอาจเป็นเพราะเราใช้ปากในการพูดถึงไอเดียกับสิ่งที่อยากให้เป็น แต่ไม่สามารถ ลงมือทําให้ออกมาดีเหมือนอย่างที่พูดไว้ได้”

“แม้ตอนนั้นจะผิดหวังในตัวเองมาก ๆ แต่การถูกไล่ออกก็เป็นจุดเปลี่ยน สําคัญ เพราะทําให้เราเลิกยึดติดกับความยิ่งใหญ่ของวรรณกรรม แล้วหันไป เห็นคุณค่าอื่น ๆ ในชีวิตที่สามารถหาความสุขได้ เพราะที่ผ่านมาคิดแต่ว่าอยากเขียนหนังสือให้ได้รางวัลซีไรต์ เป็นที่ยอมรับ แต่เราไม่ได้ดูแลคนอื่นเลย ไม่ได้ ท่าตัวดีกับแม่ เพราะมัวแต่สนใจสิ่งที่อยากหา พอคิดได้แบบนั้น ผมก็ตั้งหลัก คุยกับตัวเองใหม่ว่าถ้าพื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่สําหรับเราก็ไม่เป็นไร และถามตัวเองว่า แล้วชีวิตเราหาอะไรได้อีกบ้าง ที่จะพอหาเงินมาเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัวให้มี ชีวิตที่ดี จึงทําให้เลิกมองแค่งานเขียนด้วย”

“แต่ตอนนั้นมืดแปดด้านเลยนะ เหมือนอกหัก ชีวิตว่างมาก ไม่รู้จะไป ทางไหน ตัดสินใจบวช เพื่อจะคิดอะไรออก บวกกับตอนนั้นคูณย่าอยากให้บวช โมเมนต์ตอนทีโกนหัวบวชนาคแล้วต้องขี่คอเพื่อนตากแดดกันไปแบบร้อน มาก แต่พอมองเห็นแม่มีความสุข ญาติทุกคนพร้อมใจมาทําหน้าวงมโหรี แฮปปี้กันหมด ทําให้เรารู้สึกดีไปด้วยคนรอบตัว”
“เกิดเป็นความคิดว่าถ้าเราทําอะไรสักอย่าง อาจจะเหนื่อยนิดหน่อย แต่ คนรอบตัวแฮปปี้ จะเป็นจุดที่ทําให้เรามีความสุขไปด้วย จากแต่ก่อนที่ยึดตัวเอง เป็นใหญ่ มองแค่เป้าหมายในการเป็นนักเขียนเท่ ๆ ก็เปลี่ยนมุมมองความคิด ทําให้ตัวหดเล็กลงมา รู้จักแคร์คนรอบข้างมากขึ้น”


ทางนี้ไม่รอด ก็แค่ไปทางอื่น

“หลังจากลีกมาได้ประมาณ 2 – 3 เดือน ผมกลับมาทํางานอีกครั้งด้วยสายตา ที่เปลี่ยนไปที่นิตยสาร GM โดยพี่อ๋อง (วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ) เป็นบรรณาธิการ ในยุคนั้น ผมรับตําแหน่งบรรณาธิการสัมภาษณ์ แต่ละเดือนมีหน้าที่ทําสัมภาษณ์ ประจําฉบับ โดยพี่อ้องคอยช่วยแก้ไขให้อีกที จนบทสัมภาษณ์ออกมาเหมาก (หัวเราะ)”

“พร้อมกับได้ทําสํานักพิมพ์ นกเค้า ของตัวเองไปด้วย จากการเขียน ความรัก และแสงสีขาว ที่เป็นงานรวมเรื่องสั้นแนวความสัมพันธ์ของความรัก ส่งไปตาม สํานักพิมพ์ต่าง ๆ แล้วไม่มีใครตีพิมพ์งานให้ จึงทําเองเลย วิธีการง่าย ๆ คือพิมพ์ 200 เล่มแล้ว รถเข็นไปเดินในงานสัปดาห์หนังสือ แล้วขอฝากขายตามบูธ อย่าง ธของสํานักพิมพ์ระหว่างบรรทัด ปรากฏว่าหมด จึงสั่งพิมพ์อีกกว่าพันเล่ม คราวนี้ เหลือบาน (หัวเราะ) แม้ในแง่ธุรกิจจะไม่ประสบความสําเร็จ แต่มันช่วยเสริมพลัง ให้เราว่าอย่างน้อยก็สามารถทําออกมาได้ และท่าอย่างเต็มที่แล้ว ถ้าไปต่อไม่รอด ก็แค่เดินไปทางอื่น ชีวิตไม่ได้หยุดแค่นี้”

“ท่านิตยสาร GM ประมาณ 9 เดือน เจอช่วงทีเรียกว่าตะวันตกดินของนิตยสาร ช่วงปี 2016 ที่ Image ปิดตัว ทําให้เราตั้งคําถามกับยุคสมัยและสิ่งที่ หาอยู่ ความที่เราไม่ได้ยึดติดแล้วว่าจะต้องเขียนหนังสือเท่านั้น จึงลองเปลี่ยนไปทํางานด้านเอเจนซีบ้าง”

“ตอนนั้นพี่ปอง (จักรพงษ์ คงมาลัย) และพี่บี (สโรจ เลาหศิริ) ชวนไป ทํางานที่ Moonshot ทําให้ได้เรียนรู้เรื่องการสร้างโปรเจ็กต์โดยใช้ไอเดียและ ใส่ความครีเอทีฟ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราถนัดพอดี บวกกับได้จัดงานทอล์คโชว์ จัดงานอีเวนต์เยอะ ก็เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ มากมาย”

Stand-Up Comedy

สําหรับจุดเปลี่ยนในการมาท่าสแตนด์อัพคอมเมดี้ เริ่มต้น ณ วันที่เขารับเป็น พิธีกรในงาน a book Lecture Show ที่เชียงใหม่แล้วได้ค้นพบบางอย่าง “ตอนนั้น ก่อนงานเริ่มประมาณ 1 ชั่วโมงอยากทําการเรียกแขก คิดว่าลองทอล์คโชว์แล้วกัน ก็ขึ้นเวทีไปเล่าเรื่องตลก คนดูหัวเราะชอบใจใหญ่ นาทีนั้นทําให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า เราอยากเล่าเรื่อง อยากทําสแตนด์อัพคอมเมดี้ บวกกับการที่ทํางานด้านเอเจนซี อยู่แล้ว ทําให้เข้าใจในกระบวนการการจัดงานทอล์คโชว์ว่าควรต้องทําอะไรบ้าง”

“ประมาณ 2 – 3 เดือนถัดมา ในปีเดียวกันนั้น (2016) ผมตัดสินใจทํา สแตนด์อัพคอมเมดี้ของตัวเองครั้งแรก โดยเปิดรับสมัครทีมงานผ่านทางเฟชบุ๊ก จนพบกับแฟกซ์ (คณิตกรณ์ ศรีมากรณ์) ที่อาสาเป็นผู้ช่วยเขียนบท ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ด้วยนิสัยห้าว ๆ แบบผม ที่สุดเกิดเป็นโชว์ “A-Katanyu 30 ปี ชีวิตห่วยสัส” อาศัยหยิบเรื่องราวในชีวิตมาถ่ายทอดให้เป็นเรื่องตลก สาเหตุที่ได้ ชื่อนี้มา ก็มาจากการที่เราย้อนกลับไปทบทวนชีวิตที่ผ่านมา แม้จะไม่ได้ตกอับ ขนาดนั้น แต่ก็เป็นภาวะของการพยายามดิ้นรนเพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่าง จะเห็น ว่าผมทํางานมาเยอะ ความที่มีไฟ อยากขึ้นเป็นแถวหน้า แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ การถูกมองข้าม แต่ผมก็ยังไม่ยอมแพ้ อดทนสู้มาตลอด”

“เมื่อคิดคอนเซ็ปต์โชว์ได้ ก็โทร.หาพี่โต้ง (ประวิทย์ พันธุ์สว่าง) รุ่นพี่ที่รู้จัก ขอใช้สถานที่ Zombie Books ย่าน RCA ก่อนโชว์ผมตื่นเต้นมาก งานนี้ได้รับการ พูดถึงพอสมควร ความที่เราอยู่ในแวดวงของสื่อมวลชน พี่ๆ เพื่อน ๆ ในวงการ ที่เอ็นดูก็มาช่วยโปรโมต ทําให้งานวันนั้นเป็นไปได้ด้วยดี มีคนมาดู 20 – 30 คนได้ ราคาบัตร 349 บาท ไม่มากอะไร แต่เราก็ภูมิใจในตัวเอง ทําให้ย้อนไปนึกถึง คําพูดของพี่บินหลาที่บอกว่าเราใช้ปากทํางาน และวันนี้ก็ได้ใช้มันจริง ๆ ผมจึง โทร.ไปขอบคุณที่เป็นแรงผลักดัน ทําให้เรามีวันนี้ หลังจากนั้นมาก็เริ่มทําโชว์ที่ ใหญ่ขึ้น จากคนดูหลักสิบกลายเป็นหลักพัน”

“นิสัยผมห้าวและมั่นใจมาก ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่มันเป็นคุณสมบัติ ของเรา บวกกับความชอบอะไรใหม่ ๆ ผมชอบดูสแตนด์อัพคอมเมดี้ของประเทศ ออสเตรเลีย อเมริกา และอังกฤษ ที่เขาทํากันเยอะ แต่เมืองไทยมีน้อย ที่ดัง ๆ ก็มีแค่พี่โน้ส อุดม แต้พานิช) จึงอยากลองทํา ผมไม่ได้รู้สึกมั่นใจในแง่ที่ว่าจะต้อง ประสบความสําเร็จยิ่งใหญ่ แต่มั่นใจว่าได้ลงมือทําอย่างเต็มที่ ถ้าทําแล้วดีก็โอเค แต่ถ้าเฟลก็ไม่เป็นไร”

“ตอนนี้ผมทํามาแล้วประมาณ 4 โชว์ เวลาทําแต่ละโชว์ผมจะลิสต์ประเด็นก่อน ว่าอยากสื่อสารเรื่องอะไร เพื่อวางคอนเซ็ปต์ เช่น การใช้ชีวิต ความรัก หรือ เรื่องมุมมองความคิดต่าง ๆ ในสังคม อย่างโชว์ล่าสุดที่ชื่อว่า “The Boy” ผมเริ่มจาก การสํารวจภาวะของตัวเองก่อน แล้วนําความคิดนั้นออกมาแชร์ โดยแบ่งวิธีคิดเป็น 2 แบบ อย่างแรกคือคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาที่อยากสื่อสาร กับอย่างที่สองคือ เทคนิควิธีการเล่าเรื่อง เปรียบง่าย ๆ คือพาร์ตหนึ่งจะมีเนื้อปลา เนื้อหมู หรือ เนื้อไก่ ส่วนอีกพาร์ตจะเป็นวิธีการทําว่าจะผัด ต้ม หรือทอด “พาร์ตแรกมาจากชีวิตทั่วไปที่ผมดิ้นรนกับการเอาตัวรอดทางธุรกิจ รู้สึกว่า การโตเป็นผู้ใหญ่เหนื่อยมาก อยากกลับไปเป็นเด็ก ตอนนั้นภาวะของเรามีมวลรวม บางอย่างที่คิดถึงแต่คนอื่น ทั้งเรื่องทีม เรื่องภาระต่าง ๆ จึงกลายมาเป็นคอนเซ็ปต์ ที่ว่าปล่อยความเป็นเด็กในตัวเองออกไป แล้วตั้งใจเติบโตเป็นผู้ใหญ่สักที เพราะ มันถึงเวลาที่ต้องต่อสู้กับโลกภายนอกแล้ว แต่เราก็ตั้งเป็นประเด็นค่าถามกลับมา ด้วยว่าแล้วเรายังเป็นเด็กได้อยู่ไหม คือแต่ละโชว์เราจะละเอียดกับเรื่องพวกนี้มาก ๆ เพราะผมชอบให้คนดูโชว์จบแล้วได้อะไรบางอย่างกลับไป”


“สําหรับผม เสน่ห์ของสแตนด์อัพคอมเมดี้คือการมอบเสียงหัวเราะให้กับผู้อื่น เป็นความสุข สามารถทําให้วันที่เขามาดูเรากลายเป็นวันที่ดี หรือช่วยเยียวยา ในวันที่จิตใจของเขาห่อเหี่ยวให้กลับมาเต้นแรงอีกครั้ง เป็น Magic Moment สําหรับคนที่ทําได้ แต่การทํางานแบบนี้เป็นเรื่องยากมากในไทยที่ไม่มีวัฒนธรรม สแตนด์อัพคอมเมดี้อย่างแข็งแรงในแง่ของความถี่ในการดู คุณภาพของผู้เล่น สถานที่ในการฝึกฝน แม้แต่บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถก็มีน้อย อุตสาหกรรมนี้ ไม่ค่อยมั่นคง แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเติบโตได้อีกไหม ส่วนตัวผมเองตอนนี้ก็ต้องดิ้นรน ฉีกมาทําเป็นรายการแนว Late Night Show จะมีความตลกในรูปแบบของการ สร้างบทสนทนา โดยมีคนดังเข้ามาร่วมพูดคุย จนเกิดเป็นรายการ Katanyu Tonight (2023) คอนเซ็ปต์ก็จะเป็นการสัมภาษณ์คนดังเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราว ชีวิตในประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไลฟ์สไตล์หรือความรัก ลงในช่องยูทูบ ควบคู่กับ การทําสแตนด์อัพคอมเมดี้และธุรกิจเอเจนซี่ไปด้วยครับ”

หาความสุขให้เจอ

“เป้าหมายของผมตอนนี้โฟกัสอยู่ที่การพัฒนาโชว์สแตนด์อัพคอมเมดี้ให้เป็น ที่รู้จักยิ่งขึ้น บวกกับการทํารายการ Katanyu Tonight เพื่อขยายฐานคนดู ความจริงรู้สึกว่าสิ่งนี้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้ถูกที่ถูกทางที่สุด ทั้งด้านการใช้ สกิลการสัมภาษณ์ การชอบเล่าเรื่อง การสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้คน สร้างเป็น คอมมูนิตี้ขึ้นมา ผมทําแล้วรู้สึกสบายใจและมีความสุขที่สุดแล้วครับ”

“ในวัย 39 ปีก็เรียกได้ว่าผ่านอะไรหลาย ๆ อย่างมาเยอะ ทั้งตอนที่สุขที่สุด ทุกข์ที่สุด และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวัยนี้มีมากมาย แต่ถ้าให้พูดถึงสิ่งที่นึกถึงสิ่งแรกคือ ไม่ได้มีใครสนใจเราขนาดนั้น อยากทําอะไรก็ทําไป ชีวิตเป็นของคุณ พยายามหา ความสุขของตัวเองให้เจอก็เพียงพอแล้ว อย่างการที่ผมเจอคอมเมนต์แย่ๆ คนพวกนั้น อาจนึกถึงเราแค่เพียงเสี้ยววินาทีด้วยซ้ํา แล้วเขาก็ไปโฟกัสอย่างอื่นต่อ ฉะนั้นอย่าไป สนใจค่าพูดของใครมากนัก”

“ส่วนใครที่กําลังหาเส้นทางที่ใช่ของตัวเอง อยากบอกว่าสู้ๆ นะครับ บางคน ถ้าไม่ได้มีภาระอะไรก็ขอให้ลุยให้เต็มที่ เอาให้สุดทาง แต่ถ้าใครที่มีเงื่อนไขในชีวิต อย่างเช่นการมีครอบครัวต้องดูแลหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็ขอให้บาลานซ์ให้ได้ระหว่าง สิ่งที่จะออกไปลุยกับสิ่งที่ต้องดูแล ความจริงชีวิตคนเราไม่ต้องลุยขนาดนั้นก็ได้ แค่สามารถดูแลใครสักคนหนึ่ง ดูแลตัวเอง หรือดูแลครอบครัวให้มีความสุข แค่นี้ก็โอเคแล้ว”

“อย่าเพิ่งท้อนะครับ ใช้ชีวิตในปัจจุบันให้เต็มที่ ผมเชื่อว่าชีวิตของทุกคนมี จังหวะและเวลาที่เหมาะสมรออยู่”

เรื่อง Prince

ภาพ วรสันต์ ทวีวรรธนะ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up