ศิลปะที่เป็นมากกว่าของเล่น ตู่-ณัฐพงศ์ ผู้สร้าง Greenie & Elfie
ตู่-ณัฐพงศ์

ศิลปะที่เป็นมากกว่าของเล่น ตู่-ณัฐพงศ์ ผู้สร้าง Greenie & Elfie

Alternative Textaccount_circle
ตู่-ณัฐพงศ์
ตู่-ณัฐพงศ์

ในตลาดอาร์ตทอยที่กําลังเติบโตแบบพุ่งทะยาน ท่ามกลางศิลปินมากหน้าหลายตาที่มีโอกาสได้แจ้งเกิด หนึ่งในผู้มาก่อนกาลคือ “คุณตู่ – ณัฐพงศ์ รัตนโชคสิริกูล” ผู้สร้างสรรค์คาแร็คเตอร์ Greenie & Elfie ที่ปีหน้า สองเพื่อนซี้จะฉลองครบรอบ 10 ปีแล้ว

ย้อนกลับไปในปี 2015 ในยุคที่โซเชียลมีเดียยังไม่บูม ไม่มีช่องทางการโปรโมตให้เลือกสรรอย่างวันนี้ คุณตู่กลับพาคาแร็คเตอร์โกอินเตอร์จนมีพาร์ตเนอร์ต่างชาติสนใจร่วมลงทุนการผลิต จนถึงวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ไม่ได้จับตามกระแสเสียทีเดียว แต่มาจากการรู้ความต้องการของแฟน ๆ และเหนืออื่นใดคือการรู้ใจตัวเอง

ตู่-ณัฐพงศ์

Greenie & Elfie

“ผมชอบดูการ์ตูนญี่ปุ่นและชอบวาดรูป กระทั่ง ม.6 แม่ถามว่าจะเรียนต่อด้านไหน ตอนนั้นก็รู้ว่าถ้าบอกแม่ ว่าอยากวาดภาพคงไม่เห็นด้วย เพราะสมัยก่อนไม่มีอาชีพรองรับนักวาดรูป จึงบอกว่าจะเรียนออกแบบตกแต่ง ภายใน เพราะดูเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวาดรูปที่สุดแล้ว ตอนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงเลือกคณะนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพราะรู้สึกว่าคณะนี้เรียนหลากหลายด้าน

“ช่วงที่เรียนก็ทํางานเสริมไปด้วย ตอนนั้นมีคนมาจ้างให้วาดปกหนังสือที่รวมการ์ตูนญี่ปุ่นหลาย ๆ เรื่องที่แปล ในบ้านเรา ผมรับทํามาเรื่อย กระทั่งเรียนจบก็ไปเป็นบรรณาธิการหนังสือการ์ตูนไทยชื่อ a.Comix แต่ทําได้ไม่นาน เพราะตลาดการ์ตูนไทยยังไม่เป็นที่นิยม ช่วงที่ออกจากงานมีคนแนะนําให้รู้จักกับพี่บอย โกสิยพงษ์ ซึ่งตอนนั้น คริสติน (มารี นี่เวล) ศิลปินในสังกัดกําลังจะออกอัลบั้มเดี่ยว เขากําลังหาคนวาดตัวการ์ตูนบนปกอัลบั้มพอดี พี่บอยชอบลายเส้นจึงชวนมาทํางานด้วยกัน หลังจากนั้นก็มีโอกาสทํางานด้วยกันหลายโปรเจ็กต์ ผมเคยเป็น บรรณาธิการฝ่ายการ์ตูนให้นิตยสาร Katch และ Manga Katch ร่วมก่อตั้งบริษัทแอนิเมชั่น BeboydCG กับพี่บอย รวมทั้งเคยทําแอนิเมชั่นออกอากาศทางทีวี เช่น หลวงพ่อจํากับหมู่บ้านจักจั่น และ แดร๊กคูล่าต๊อก รวมถึงมีโอกาสทําการ์ตูนเรื่อง นาค ที่ฉายในโรงหนัง แต่รายได้ไม่คุ้มทุน พอถึงปี 2015 บริษัทแอนิเมชั่นที่ทํา
ด้วยกันก็ปิดตัวลง

“ตอนนั้นยังไม่คิดว่าจะทําอะไรต่อ รู้แค่ว่าที่ผ่านมาเราทํางานเกี่ยวข้องกับคาแร็คเตอร์มาหมดแล้ว กระทั่ง วันหนึ่งเพื่อนซึ่งกําลังเริ่มทําอาร์ตทอยบังเอิญมาเห็นภาพสเก็ตช์ของผม เป็นตัวการ์ตูนเด็กผู้หญิงที่สเก็ตช์เก็บไว้ ตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งเป็นปีที่ กรีนนี่” ลูกสาวของผมเกิด และการ์ตูนตัวนั้นผมก็ตั้งชื่อว่ากรีนนี่ ที่ตั้งชื่อนี้เพราะอยากให้ คนที่อยู่ใกล้มีความสุข สดชื่น สบายใจ เหมือนได้อยู่กับธรรมชาติ

“เพื่อนบอกว่าคาแร็คเตอร์น่ารักดีนะ ทําไมไม่ลองทําเป็นของเล่นดูล่ะ ประโยคนั้นจุดประกายความคิด เพราะที่ผ่านมาทําแอนิเมชั่นและการ์ตูนเยอะ แต่ไม่มีตัวไหนที่รักเป็นพิเศษ ผิดกับกรีนนี่ที่เปรียบเสมือนตัวแทนลูก ถ้าจะลงมือทําอะไรสักอย่างก็ควรเป็นกรีนนี่นี่แหละ ตอนนั้นก็คิดว่าอยากหาคู่หูให้ จึงนึกถึงช้างน้ํา ก่อนหน้านี้ ผมเคยทําตัวอย่างการ์ตูนเรื่อง อัมพวา ซึ่งเล่าถึงความลี้ลับของช้างน้ําที่มีพระธุดงค์เดินทางไปพบในป่าลับแล ในตํานานเล่าว่าถ้าช้างน้ําหลุดออกมาอยู่โลกภายนอกเป็นเวลา 7 วัน หากไม่กลับเข้าไปในป่าลับแลจะตาย ผม จับช้างน้ํามาดีไซน์ให้เหมือนนกฮัมมิ่งเบิร์ด ใช้ปีกเป็นหู พี่บอยช่วยตั้งชื่อให้ว่าเอลฟ์ ซึ่งมาจากคําว่า Elephant
ผสมกับค่าว่า Greenie”

ตู่-ณัฐพงศ์

เปิดตลาดต่างประเทศ

“พอตั้งใจว่าจะทํากรีนนี่เป็นของเล่น เพื่อนก็ชวนไปโชว์ผลงานในงานแฟร์ Hong Kong ToySoul ที่ฮ่องกง ช่วงปลายปี 2015 ผมปรับเรื่องดีไซน์เพิ่ม โดยตั้งคําถามว่าคนที่ซื้อจะได้อะไรจากคาแร็คเตอร์ตัวนี้ สิ่งแรก ที่นึกถึงกรีนนี่คือความสบายใจ อยากให้คนมองแล้วรู้สึกเหมือนมีลมพัดเย็น ๆ เห็นแล้วหายเหนื่อย จึงเป็นที่มา ที่กรีนนี่นั่งหลับตา แล้ววานให้รุ่นน้องช่วยปั้นเป็นโมเดลต้นแบบ นอกจากนี้ผมยังดีไซน์แบ็กกราวนด์ประกอบ เป็นรูปป่า พอกรีนนี้ไปนั่งในนั้น คนจะเห็นภาพมากขึ้น เพราะกรีนนี่ไม่เคยมีแอนิเมชั่นของตัวเอง คนไม่รู้จักมาก่อน เขาต้องขายได้ด้วยตัวเอง จึงต้องใช้ทุกศาสตร์ที่เคยทํามา เพื่อให้คนเห็น แล้วเข้าใจว่าของเล่นชิ้นนี้ต้องการสื่ออะไร

“ผมไปโดยไม่ได้หวังอะไรมาก แต่ปรากฏว่าบริษัทผลิตอาร์ตทอยชื่อ Unbox Industries ถูกใจ ขอซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิต เพราะเขามีโรงงานที่จีนอยู่แล้ว โดย จะออกต้นทุนให้ทุกอย่าง ที่ทําอย่างนี้เพราะเขาอยากซัพพอร์ตศิลปิน และอยากรู้ว่า ถ้าผลิตออกมาวางจําหน่าย คาแร็คเตอร์นี้จะไปได้ไกลขนาดไหน ผมก็ยินดีตกลงเลย ซึ่งล็อตแรกผลิตออกมาทั้งหมด 200 ตัว ใช้เวลาผลิตประมาณ 3 – 4 เดือน ผมขายครั้งแรกในเดือนเมษายน 2016 ที่งาน Thailand Comic Con สยามพารากอน ประมาณ 50 ตัว โดยตั้งราคาขายกรีนนี่กับเอลฟี่เป็นเซตคู่กัน เซตละ 2,800 บาท ตอนนั้นตื่นเต้น แอบคิดเหมือนกันว่าจะขายได้ไหม เพราะ ไม่มีใครรู้จักเราเลย ปรากฏว่าขายหมด ผมถามคนที่มาซื้อว่ารู้จักกรีนนี่ได้ยังไง เขาบอกว่าเห็นจากในงานนี่แหละ รู้สึกว่าน่ารักดีจึงซื้อไป พอจบจากงานที่สยาม พารากอนก็มีงาน Thailand Toy Expo ที่เซ็นทรัลเวิลด์ คนก็ตามไปซื้อจน ของไม่พอ ต้องลงชื่อจองไว้ ตอนนั้นรู้สึกดีใจมากครับที่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่คอลเล็คชั่นแรก

“หลังจากนั้นผมวางแผนเลยว่าแต่ละปีมีงานดีไซเนอร์ทอยที่ไหนบ้าง ซึ่ง สมัยก่อนบ้านเรายังไม่ฮิตเท่านี้ ส่วนใหญ่งานจะจัดที่ต่างประเทศ อาทิ ไต้หวัน และฮ่องกง จําได้ว่าตอนนั้นที่ไต้หวันจัดเดือนตุลาคม ผมก็ดีไซน์เป็นธีมฮัลโลวีน ส่วนที่ฮ่องกงจัดเดือนธันวาคม ผมก็ทําธีมคริสต์มาส จะดีไซน์เพื่อไว้ล่วงหน้า 2-3 เดือน แล้วส่งไปให้พาร์ตเนอร์ผลิต

“ทุกวันนี้ผมก็ยังบินไปไต้หวันกับฮ่องกงทุกปี ผมชอบไต้หวันมาก เพราะ ถ้าแฟน ๆ ชอบของเรา เขาจะชอบอยู่อย่างนั้น และมีความสนใจถึงที่มาที่ไปของ คาแร็คเตอร์ ซึ่งทุกวันนี้ไต้หวันก็ยังเป็นตลาดที่เติบโต และอีกประเทศที่อาร์ตทอยกําลังบูมคืออินโดนีเซีย เพราะคนเริ่มหันมาสะสมมากขึ้นและบินมาซื้อที่ไทยบ่อย

“นอกจากไปขายตามงานแฟร์ ผมก็ขายทีหน้าเพจตัวเอง Greenie & Elfie และในเว็บไซต์ของพาร์ตเนอร์ http://store.unboxindustries.info เราผลิต ครั้งละไม่มาก อยู่ที่หลักร้อยและไม่ผลิต ด้วยความที่ดูแลเองทุกอย่าง ไม่ได้มี ลูกทีม ทั้งการออกแบบ โปรโมต ประกาศขาย ไปจนถึงการจัดส่งของ ข้อดีคือ ได้รับฟีดแบ็กเร็ว อะไรดีหรือไม่ดี จึงแก้ปัญหาได้เร็ว”
แน่นอนว่าทุกการทํางานย่อมเจออุปสรรค สําหรับคุณที่มองว่าถ้าปัญหานั้น ไม่ใช่เรื่องซีเรียส ก็ไม่จําเป็นต้องมองให้ใหญ่เกินไป “การทํางานย่อมเจอปัญหาบ้าง เช่น โรงงานผลิตไม่ตรงใจเรา อาจจะเพี้ยนไปเล็กน้อย ก็แจ้งเขาไป ไม่ได้มอง ว่าเป็นเรื่องใหญ่ อาจเพราะอายุเยอะแล้วมั้งครับ (ยิ้ม) จึงรู้สึกปล่อยวางได้มากขึ้น ต่างจากแต่ก่อนที่ทุกอย่างต้องเป๊ะ ทุกวันนี้ซีเรียสเรื่องเดียวคือการปั้นโมเดลสามมิติ ที่ต้องทําออกมาให้เหมือนต้นแบบที่วาดไว้เป๊ะ ถ้าเหมือน 100 เปอร์เซ็นต์ยิ่งดี

“ตอนนี้มีคอลเล็คชั่นออกทุกเดือน มีคนถามเยอะเหมือนกันว่าทํามา คอลเล็คชั่นแล้ว ผมไม่ได้นับเลย แต่ก็น่าจะเยอะเหมือนกันนะ ล่าสุดท่าซีรีส์ของ เอลฟ์ ดีไซน์เป็นไซส์เล็ก ตั้งใจขายในราคาหลักร้อยเพื่อให้ทุกคนเข้าถึง และไม่ได้ ผลิตเป็นรุ่นลิมิเต็ด จะได้ไม่ต้องรีบซื้อ ตั้งใจว่าจะออกทุกเดือน เดือนละสี อย่าง ตอนนี้มีราว ๆ 30 สี สีละ 200 ตัว ปรากฏว่าแฟน ๆ อยากซื้อเก็บสะสมให้ครบทุกสี กลายเป็นออกมากี่ตัวก็หมด ดีใจมาก ๆ เลยครับ

“นอกจากทําคาแร็คเตอร์ของตัวเอง ที่ผ่านมายังมีโอกาสร่วมงานกับศิลปิน ท่านอื่น อย่างล่าสุดผมทําร่วมกับ Astro Boy ซึ่งเพิ่งจัดงาน Go Astro Boy GO! ที่สยามดิสคัฟเวอร์ไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน นอกจากนั้นก็มี Labubu, Hello Kitty, SpongeBob, Ghostbusters และอีกหลาย ๆ แบรนด์
“ผมคิดว่าความน่ารักของโลกดีไซเนอร์ทอยคือศิลปินซัพพอร์ตกันและกันพวกเราเติบโตมาพร้อม ๆ กัน ถ้าย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ยังไม่มีค่ายของเล่น เวลาไปออกงานแฟร์ที่ต่างประเทศ ศิลปินจะทําความรู้จักกัน ช่วยซัพพอร์ตงานของ อีกฝ่าย และถ้าเขาชอบงานผม ผมชอบงานเขา ก็ร่วมงานกันเลย เวลาทํางาน ต่างคนต่างออกแบบแล้วส่งให้กันดู โดยที่ชิ้นงานต้องมีส่วนผสมทั้งของเขาและเรา ในสัดส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งแฟน ๆ ให้การต้อนรับดีมาก ยิ่งถ้าเขาเป็นแฟนคลับทั้งสองฝ่าย จะยิ่งฟัน หรืออย่างคอลเล็คชั่นที่ผมทําร่วมกับตัวการ์ตูน Creamy Mami ซึ่งเป็น คาแร็คเตอร์ที่ดังมากในญี่ปุ่น แฟน ๆ ก็ให้การตอบรับดีเช่นกัน

“เวลามีคนมาขอร่วมงาน ผมจะถามก่อนว่าทําไมถึงสนใจกรีนนี่กับเอลฟ์ ถ้าเขาชอบคาแร็คเตอร์เราและแนวคิดตรงกัน ก็อยากจะทํางานด้วยกัน ซึ่งแบรนด์ ที่ผมอยากร่วมงานด้วยในตอนนี้คือ Moomin และ Osamu Goods เพราะ เป็นแฟนคลับอยู่แล้ว”

ตู่-ณัฐพงศ์

ทําด้วยใจ ยังไงก็ Sold Out

“เวลาทํางานคิดว่าเหมือนทําของขวัญให้เพื่อนหรือให้ตัวเอง เพราะรู้ว่าเขา อยากได้อะไร ด้วยความที่ทําทุกอย่างเอง เวลาไปออกงานจะรู้จักแฟน ๆ เป็นอย่างดี กลุ่มคนที่ชอบกรีนนี่กับเอลฟี่ชอบอ่านหนังสือ นั่งร้านกาแฟ และเวลาที่เขามาคุย กับเรา เขาจะบอกความต้องการ เช่น อยากให้พี่ทําชิ้นเล็ก ๆ ที่พกพาง่าย จะได้ พาไปเที่ยวด้วย ผมจําได้ว่ายุคแรกที่เราทํากรีนนี่ตัวโตมีคนพกน้องไปเที่ยวจริง ๆ ทั้งที่พกยาก เพราะใหญ่มาก (ยิ้ม) เราก็ปรับตามความต้องการของเขา หรือตอนที่ ผมทําคอลเล็คชั่นกรีนนี่เสิร์ฟกาแฟ ก็มาจากเหตุที่ว่าภรรยาชอบดื่มกาแฟมาก ประเด็นหลักคือไม่ว่าคุณจะออกแบบอะไรก็ตาม ต้องทําของที่ตัวเองอยากได้และอยากเก็บไว้เองด้วย

ในฐานะศิลปินทีต้องสร้างสรรค์ผลงานทุกเดือน เคยมีวันที่นึกงานไม่ออกบ้าง ไหม “แน่นอนว่าต้องมีวันที่นึกอะไรไม่ออก ก็ต้องหยุดพักก่อน ไปดูหนัง อ่าน หนังสือ ออกนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ แล้วไอเดียจะมาเอง ที่สําคัญคือการ หาเป้าหมายในการทํางาน เวลาผลิตงานแต่ละชิ้นจะคิดเสมอว่าทําของชิ้นนี้เพื่อใคร เช่น ต้องทําเพื่อลูกค้าคนนี้นะ เขาอยากเอาไปเที่ยว หรือทําปลอบใจในวันที่เขาเครียด ต้องนึกเสมอว่ามีคนกําลังรอเราอยู่ เพราะถ้าออกไปเจอแฟน ๆ แล้วโดนถามกลับ มาว่าพี่จะมีอะไรใหม่ ๆ ออกมาไหม หากมัวแต่ขี้เกียจ ก็จะรู้สึกผิด (หัวเราะ) ผมอยากให้ลูกค้ารู้สึกภูมิใจที่มีชิ้นงานของเรา ต่อให้วันหนึ่งเขาเลิกซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยากให้เขารู้สึกดีกับกรีนนี่และเอลฟ์อยู่

“วันนี้ที่อาร์ตทอยบูมมาก ผมไม่เคยคิดเรื่องคู่แข่ง เพราะคิดว่าของเล่นก็ เหมือนกับเพลงหรือการ์ตูน ถ้ามีคนถามคุณว่าชอบการ์ตูนเรื่องไหน ชอบเพลงอะไร คําตอบมีเยอะมากใช่ไหมครับ เพราะคนเราชอบอะไรได้หลายอย่าง และโลกของอาร์ตทอยมีพื้นที่กว้างพอให้ทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าจะเจอกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กับคุณหรือเปล่า”

อยากเป็นศิลปิน ฟังทางนี้

“เมื่อก่อนผมคิดว่าการจะทําอาชีพนี้ต้องมีแพตเทิร์น เช่น ต้องวาดการ์ตูน ให้ฮิต แล้วค่อยขยับไปทําแอนิเมชั่น จากนั้นทํารายการทีวี ถ้าผลงานออกมาดี มีชื่อเสียง ถึงจะมีสิทธิ์ทําหนังโรง แล้วค่อยออกโปรดักต์ของตัวเอง แต่ยุคนี้เรา สามารถสลับขั้นตอนได้หมด เราทําของเล่นก่อน พอคนรู้จักค่อยไปทําหนังก็ได้ ทุกอย่างง่ายขึ้นเพราะอินเทอร์เน็ต หรือถ้าอยากรู้ว่าดีไซน์ที่ออกแบบมาดูดีหรือเปล่า ก็โพสต์ถามความเห็นเลย หรือถ้าสนใจศิลปินท่านไหน ก็อินบ็อกซ์พูดคุยได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยากทําอะไร ต้องพาตัวเองไปอยู่ในวงการนั้น

“สิ่งสําคัญที่สุดคือต้องมีใจรักและให้คุณค่ากับชิ้นงาน ผมไม่อยากให้คิด ทางลัดว่าแค่ปั้นอะไรสักอย่างออกมาแล้วขายได้ก็เป็นศิลปินแล้ว แต่ต้องรัก คาแร็คเตอร์ของตัวเองด้วย ต้องถามว่าถ้าทําของมาขายในราคานี้ ตัวเราเองจะซื้อ หรือเปล่า และต้องตอบให้ได้ว่าลูกค้าเสียเงินซื้ออะไร จะได้อะไรกลับไป และหาก วางของเล่นชิ้นนี้ที่บ้าน จะสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างไร ทําให้เขาคิดถึงเรื่องอะไร เราต้องตอบสิ่งเหล่านี้ให้ได้ก่อน แต่ถ้าทําเพราะคนอื่น ๆ ทํา สักพักก็จะเบื่อ

“คุณอยากออกแบบอะไร ชอบแนวไหน ทําเถอะครับ เพราะตลาดนี้ไม่ได้ จํากัด ค่อยไปหาคนที่ชอบเหมือนคุณก็ได้ เพราะทุกคนชอบเป็นร้อยเป็นพันอย่าง คิดอย่างนี้แล้วจะสบายใจ ซึ่งเชื่อว่ายังไงก็จะมีคนที่ชอบในสิ่งที่คุณทํา”

อาชีพที่ได้รับค่าขอบคุณ

“เมื่อก่อนบ้านเราอาจไม่ค่อยให้คุณค่ากับคาแร็คเตอร์ แต่ทุกวันนี้วงการเติบโต มาก มีศิลปินออกแบบเก่ง ๆ เกิดขึ้นเยอะ ผมคิดว่าคาแร็คเตอร์จะเกิดประโยชน์ กับหลาย ๆ ภาคส่วน เช่น หน่วยงานรัฐอาจจะนําไปใช้เป็นพรีเซ็นเตอร์ในการ อธิบายงานบางอย่างที่อธิบายเป็นคําพูดออกมายาก แต่ถ้าคนเห็นคาแร็คเตอร์ก็จะ เข้าใจคอนเซ็ปต์งานได้เร็วขึ้น

“ผมคิดว่าคงมีไม่กี่อาชีพในโลกที่เราทํางานได้รายได้ แล้วยังได้รับคําขอบคุณ เพราะทําให้เขารู้สึกดีกลับมาด้วย อาชีพนี้สร้างความสุขให้ผมหลายอย่าง ยังเคยคิด เลยว่าแม่น่าจะมีความสุขมาก ๆ ที่ได้เห็นว่าการวาดรูปก็เป็นอาชีพได้นะ และ รูปวาดก็เป็นตัวแทนของหลานสาวด้วย มันเติมเต็มความรู้สึกมาก ๆ ครับ และยิ่ง ได้ร่วมงานกับคาแร็คเตอร์การ์ตูนที่เราชอบ ก็ยิ่งรู้สึกดีมาก เพราะฉะนั้นหากมีใคร สักคนได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เราทํา ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว ถ้าเห็นว่าผมทําได้ “คุณเองก็ทําได้เหมือนกัน”

Praew Recommend

keyboard_arrow_up