เป็นเวลากว่า 24 ปีแล้วที่นักแสดงที่ชื่อ ชาย ชาตโยดม โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงของประเทศไทย จากนักแสดงที่ขายความหล่อปัจจุบันกลายเป็นนักแสดงตัวพ่อกินเรียบทุกบทบาท ไม่ว่าจะร้าย ตัวดี ตัวประกอบ คนพิการฯ,ฯ ก็ทำให้แฟนๆ อินไปกับตัวละครที่เขาแสดงได้เสมอ
โดยเฉพาะบท เกรซ-เกริกผล คุณพ่อชาว LGBTQ ในละครเรื่อง มาตาลดา กลายเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีซ เพราะ ชาย ชาตโยดม ต้องเปลี่ยนตัวเองทั้งหมดรวมถึงทัศนคติและความคิดเพื่อให้แสดงบทบาทนี้ออกมาได้เป็นอย่างดีโดยไม่ดูถูกหรือล้อเลียบนกลุ่มคน LGBTQ+
อะไรคือสิ่งที่พี่ชายประทับใจจนตัดสินใจมารับบทเป็นคุณพ่อ LGBTQ+ ที่ชื่อ เกรซ-เกริกพล?
“ความท้าทายครับ เพราะว่าที่ผ่านมาชายเคยเล่นบทเป็น LGBTQ+ มาก่อน แต่ว่าว่าตัวละครพ่อเกรซนี้จะมี มิติความลึกความเป็นคือตัวตน ความที่มีลูกด้วยคือมันแบบในจังหวะชีวิต ในจังหวะเดียวกันกับชีวิตชายที่ชายก็เพิ่งจะมีลูกแล้วชายก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าความรู้สึกในแบบของการเป็นพ่อหรือว่าเป็นพ่อหรือเป็นแม่ในคนเดียว แต่มันแตกต่างยังไงแล้วมันคอนเน็คกับความรู้สึกในแบบที่เรารักลูกได้มากน้อยแค่ไหน”
ครั้งแรกที่เราอ่านบท มองไว้เลยไหมว่าเราจะเป็นแบบไหนในบทนี้?
“ตอนแรกเห็นภาพก่อนว่าพอพูดถึงการเป็นนางโชว์อ่ะมันเหมือนแบบจะต้องแบบใหญ่โตอลังการภาพแรกนะที่ยังไม่ได้อ่านบทจริงๆอ่ะมันจะมีแบบเห็นอะโอ้โหจะต้องแบบฟู่ฟ่าหวือหวาโน่นนี่อะไรมากเลยแต่พออ่านบทจริงๆแล้วจะแบบตรงข้ามเลยอะ เกรซคือแม่ชีที่เขาบอกว่า เดไม่ได้เดมาหาผัวนะ เดมาเป็นแม่ชีอะคือแบบ เป็นแค่เดบิวต์แล้วคือแบบแค่อยากจะเป็นตัวตนของเขาให้ได้เท่านั้นอยากจะเป็นสิ่งในสิ่งที่เขาเป็นที่เขารู้สึกข้างในออกมาโดยที่ไม่ต้องอายใครโดยที่ไม่ต้องปิดบังใคร แล้วความจุดมุ่งหมายของในชีวิตของเขาคือสร้างความรัก สร้างความสุขคือในงานของเขาคือสร้างความสุขถ้าใครในสถานการณ์เดียวกันมีทุกข์มีความทุกข์ไม่สามารถที่จะปลดปล่อยตัวเองได้ ไม่สามารถที่จะเปิดเผยตัวเองได้มาที่The Cageคุณจะเป็นตัวของตัวเองได้สร้างความสุขให้กับคนที่แบบว่าอาจจะยังไม่มีโอกาสที่จะมีความสุขได้อย่างเขาที่จะเปิดเผยตัวเองได้เต็มที่แต่ถ้าคุณมาที่นี่คุณจะต้องมีความสุขแล้วคนรอบข้างกับลูกกับครอบครัวที่เค้าสร้างขึ้นมาเค้าอยากให้ทุกคนที่อยู่รอบข้างเค้ามีความสุขอยากให้ลูกเป็นเด็กที่มีความสุขที่สุดเป็นคนที่ใจดีที่สุดนั่นคือจุดมุ่งหมายแล้วมันก็เลยกลายเป็นเห็นเป็นภาพที่ชัดเจนขึ้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เลยว่าอ๋อเขาแบบเขาไม่ได้แบบเป็นภาพอย่างที่เห็นตอนแรกที่มันจะแบบหวือหวาฟู่ฟ่าอะไรนั่นเลยเขาจะเป็นอย่างที่เห็นในละครอ่ะเขาจะนิ่งๆด้วยซ้ำ”
เห็นการแสดงลื่นไหลขนาดนี้พี่ชายมีส่วนร่วมในการครีเอตอย่างไรบ้าง?
“คือชายว่าชายโชคดี ด้วยจังหวะชีวิตชายมันลงตัวที่เราได้เป็นพ่อ คือตอนที่รับบทแทบจะลืมไปเลยว่าเขาเป็น LGBTQ+ เพราะว่ามันคือเรื่องของพ่อที่อยากจะสอนอยากจะเลี้ยงลูกให้ออกมาเป็นคนที่ดี อยากจะเลี้ยงลูกเป็นคนที่มีความสุขที่สุด เป็นคนที่ใจดีที่สุดแล้วแบบมันไปทัชตรงนั้นมากกว่าตรงที่กรรมวิธีการสอนลูกของเขาจากเหตุการณ์จากสถานการณ์ของเขาซึ่งมันไม่ควรที่จะ มันไม่เอื้ออํานวย เขาโดนพ่อแม่ทิ้งคือแบบโดนตัดพ่อตัดลูก โดนทําร้ายคือมันมีแต่ความเจ็บปวดมีแต่ความรู้สึกที่จะแบบมันจะทําให้ดิ่งได้ง่ายๆ แต่ว่าเขาเลือกที่จะทำให้ไม่เอาความรู้สึกแย่ๆ พวกนั้นไปลงกับลูก”
“คำว่าตุ๊ดไม่ใช่คำหยาบถ้าใจเราไม่เหยียด” ประโยคที่กลายเป็นทอคออฟ เดอะ ทาวน์
“อย่างที่พี่ชายบอกว่ามันเชื่อมกัน ในฐานะที่พี่ชายมีลูก ทําความเข้าใจยังไงกับเมื่อเราไปสวมบทเป็น LGBT หรือว่ามีคําอธิบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศกับเด็กๆ ยังไงบ้าง และด้วยบทมันอธิบายทุกอย่าง ด้วยพูดที่สวยงามมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก คือแบบการเหยียดมันอยู่ที่ใจมันไม่ใช่จะใช้คำว่าตุ๊ดแล้วจะไปพูดกับใครบางทีมันพูดได้ด้วยความรู้สึกสนิทสนมหรือว่าอะไรก็แล้วแต่มันอาจจะไม่ได้ทําให้คนเขารู้สึกเจ็บปวดหรือว่าแบบเหมือนโดนบูลลี่เท่ากับการที่แบบมองเหยียดๆ ด้วยซ้ำคือมันอยู่ที่ใจ แล้วก็พอตอนอย่างที่เกริกพลเขาสอนลูก โลกมันมีหลายเพศไม่ได้มีแค่ผู้ชายผู้หญิงอย่างเดียวแต่ว่าเพศมันไม่ได้บอกว่าเราจะเป็นคนดีหรือแบบคนไม่ดีอันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือถ้าเขาวัดจากความรู้สึกได้คือถ้าเขาอยู่ด้วยกันแล้วเขารักกันแม้แต่แบบคือลูกรักพ่อ ลูกรักคนที่อยู่รอบข้างรักในแบบที่เขาเป็น เขาจะเป็นอะไรก็แล้วแต่มันไม่ได้สําคัญ ก็คือแบบพอจริงๆ แล้วตั้งแต่อ่านบทแล้วคือชายรู้สึกเลยว่านี่คือวิธีที่ชายอยากจะสอนลูกด้วย”
พี่ชายมาเล่นบทนี้มันทําให้เราเข้าใจความรู้สึกหรือมีมุมมองต่อ LGBTQ+ มากขึ้นบ้างไหม?
“ความรู้สึกแรกเลยคือต้องระวังให้มากที่สุด ชายไม่อยากเป็นคนที่ล้อเลียนหรือว่าทําให้สิ่งที่เขาต่อสู้กันมามันเสียเปล่าหรือว่ามันถูกทําร้ายด้วยสิ่งที่ชายทำ เรามองว่าความเป็นมนุษย์ต้องมาเป็นที่หนึ่ง แล้วค่อยหาตัวตนของเขามากกว่า ไม่ได้ไปโฟกัสว่าต้องทําท่าทางยังไง จะต้องแบบแต่งตัวยังไง เดินท่าไหน มองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องรอง เมนหลักของเรื่องคือหาตัวตนของเขาว่าเขาผ่านอะไรมา”
“นั่นทำให้ชายเข้าใจความรู้สึกมากขึ้นเยอะมากเลย เราไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนแต่เพราะคําว่าตัวตนของเรามันอาจไปทําร้ายความรู้สึกของคนที่เรารักกันนั่นแหละมันเจ็บปวดที่สุด เราเลือกไม่ได้ว่าเราเกิดมาอยากจะเป็นอะไร และการที่ถูกคนรอบข้างหรือว่าสังคมหรือว่าตีกรอบความถูกต้อง แบบที่เขาคิดว่าควรจะเป็นแต่เมื่อไม่ใช่กลายเป็นถูกมองผิด ทั้งที่จริงๆ แล้วความถูกต้องมันไม่ได้ฟิกอยู่ในตรงนั้น”
ตรงข้ามกันบางครั้งในมุมพ่อแม่ที่มีลูกเป็น LGBTQ+ ก็กดดันว่าเป็นพ่อแม่ที่ตกจากมาตรฐาน หลายคนก็มักถูกดูถูกว่าเลี้ยงลูกมายังไงให้เป็นแบบนี้ พี่ชายมีทัศนคติยังไงบ้างอะคะ?
“เข้าใจครับเข้าใจสังคมว่าเรามีเรามีมาตรฐานที่เราสร้างขึ้นมาอย่างหนึ่งคือพ่อแม่มีหน้าที่จะต้องดูแลลูกเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีมีการศึกษาให้การศึกษาเอ่อให้เขาเป็นคนดีของสังคมและคําว่าเป็นคนดีของสังคมเนี่ยในมุมมองของหลากหลายคนส่วนใหญ่ก็คือมันจะต้องมีเฉพาะชัดเจนว่าแบบเป็นอย่างงั้นเป็นอย่างงี้ ซึ่งการเป็น LGBTQ+ ในสังคมอ่ะคือถึงจะเป็นบ้านเราถึงเวลานี้แล้วก็ตามก็ยังมีคนที่คิดอยู่ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีแล้วก็เลยกลายเป็นว่าคนที่มองเข้ามาก็จะมาโทษพ่อแม่ว่าแบบเลี้ยงลูกยังไงถึงออกมาเป็นอย่างงี้ออกมาเป็นอย่างงี้คือแบบออกมาเป็นคือเขามีทัศนคติที่ไม่ดีกับเพศทางเลือกอยู่แล้วก็เลยกลายเป็นว่าการเป็นเพศทางเลือกคือเป็นคนไม่ดีซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่เลยเขามองแค่เปลือกทุกคนที่คิดว่าสามารถที่จะวิจารณ์หรือว่ามีความคิดเห็นอะไรแบบนี้ได้เนี่ยเขามองแค่เปลือกคนอื่นเขาไม่เคยมองเข้าไปถึงจิตใจข้างในหรือว่าตัวตนที่แท้จริงของ ของคนเขาเพราะเขาไม่รู้จักด้วยซ้ำเขามองจากสิ่งที่เขาเห็นภายนอกหรือว่าความเชื่อที่เขามีมาแต่ก่อนการเป็นตุ๊ดไม่ได้หมายความว่าเป็นคนไม่ดีการเป็นเพศทางเลือกเป็น LGBTQ+ หรืออะไรก็ไม่ได้แปลว่าเป็นคนไม่ดีแต่สังคมที่ผ่านมาคือเอาจริงๆ ทั่วโลกเลยด้วยซ้ำคือถ้ามองว่าคนที่เป็นอะไรที่ไม่เหมือนกับเขาคือเป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นคนที่ไม่ดีแล้วมันมีอยู่มานานแล้วเป็นสิ่งที่คนสร้างขึ้นมาเอาจริงๆ นะเมื่อก่อนสมัยอะไรเนี่ยการเป็นแบบเพศเดียวกันแล้วแบบมีความรักกันอะไรมันยังเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำ ชายรักชายหญิงรักหญิงหรืออะไรมันก็เป็นเรื่องที่แบบมันเป็นปกติของสมัยนั้นแต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งคนก็มาสร้างค่านิยมความเชื่อว่าคนประเภทนี้เป็นคนไม่ดีเป็นสิ่งที่ผิดเป็นความไม่ถูกต้องเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจหรืออะไรอย่างนี้ เลยกลายเป็นความเชื่อแบบนั้นมาจนถึงเมื่อทุกวันนี้แล้วแบบแต่คนคนก็คือคนเหมือนกันแล้วจะรักผู้หญิงหรือรักผู้ชายชาย ชายรักชายหญิงรักหญิงหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ก็คือคนแต่ว่าถูกครอบด้วยความเชื่อที่มันปลูกฝังกันมานานซะจนแบบมาถึงตอนนี้เราต้องพยายามที่จะล้างมันออกไปให้ได้คนยุคเก่าอาจจะยากกว่าเพราะเขาโตขึ้นมาแล้วเขาก็เชื่อแบบนั้นมาตลอดทั้งชีวิตแต่ว่าคนรุ่นใหม่ชายเชื่อว่าแบบมันยังมีได้เห็นความแตกต่างที่หลากหลายมากขึ้นแล้วก็แบบรับเข้าใจคือไม่ใช่เรียกว่ารับได้คือแบบเขาไม่ได้เขาไม่ได้มองเพศเขาไม่ได้มองเพศ เขาไม่ได้มองความแตกต่างตรงนั้นเป็นเรื่องผิดปกติอะไรเลยด้วยซ้ำซึ่งมันควรที่จะแบบเดินหน้าไปในทิศทางนั้น”
ฟีดแบ็คที่ออกมาแล้วทุ่มเทไปขนาดนี้พี่ชายรู้สึกยังไงบ้าง มีแต่คนชมเยอะเลย?
“มีความสุขมากครับมันคือ มันคือที่สุดแล้วล่ะในการแสดงคือชายรักอาชีพนี้ชายศรัทธาในอาชีพนี้ เพราะฉะนั้นคือนี่คือสิ่งที่ชายยกเอาไว้สูงที่สุดเพื่อเพราะว่าชายเชื่อว่ามันมีคุณค่ามากกว่าแค่การให้ความบันเทิง ละครถ้าวันไหนเมื่อไหร่ก็ตามที่ให้มากกว่าความบันเทิงนั่นคือนั่นคือศิลปะที่แท้จริงนั่นคือสิ่งที่แบบคนที่ทํางานตรงนี้ คนที่เป็น เป็นนักแสดง คือใฝ่หาอยากจะไปถึงจุดนั้น ซึ่งอาจจะน้อย น้อยครั้งหรือว่าอาจจะเป็นครั้งแรกหรือเปล่าไม่แน่ใจด้วยซ้ำนะที่งานที่เราทํามันไปมีคุณค่ากับชีวิตคนอื่นได้ขนาดนี้ ชายรู้สึกว่าแบบมันเป็นเนี่ยแหละเป็น เป็นโชค โชคดีของชายมากๆ เพราะชายไม่ได้กําหนดเอง ชายก็ถูกเลือกให้มาเหมือนกัน ชายก็ต้องแบบต้องขอบคุณพี่จ๋า ขอบคุณที่แบบเลือกชายมาให้มาทําหน้าที่เนี้ย ชายไม่ได้เลือก ไม่สามารถเป็นคนเลือกเองได้ว่าจะมาจริงๆ นี่ แต่ว่าชายได้รับเลือกให้มาทําหน้าที่ตรงนี้ คือมันเป็นทั้งความเป็นงานของเราในสิ่งที่เราทํามาตลอดทั้งชีวิต มันแบบเนี่ยคือสิ่งที่เรารอคอยนี่คืองานที่เราอยากจะทําแล้วให้มันมีคุณค่า”
จากบทพ่อเกรซพี่ชายคิดว่าการยอมรับจากสังคมภายนอกหรือการยอมรับจากครอบครัวอันไหนยากกว่ากันคะ?
“สังคมภายนอกครับ ชายว่าชายโชคดีที่ครอบครัวเป็นเซฟโซนของชายมาตั้งแต่เด็กละ แล้วเป็นที่พักใจเสมอก็เลยเหมือนมั่นใจได้มาตั้งแต่เล็กและตั้งแต่จําความได้ว่าตรงนี้คือสิ่งที่ปลอดภัยของชายแล้วทุกคนก็ยอมรับคืออย่างบ้านชายคุณพ่อเป็นทหารเนี่ย ตอนแรกที่จะมาเริ่มเข้าวงการเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วยังมีคําว่าเต้นกินรํากินอะไรพวกนี้เลยแต่ยังแบบในในใจชายก็รู้สึกเหมือนกันนะว่าแบบคุณพ่อจะโอเคหรือเปล่าจะรับได้หรือเปล่าเพราะว่าเขาก็อยู่ในสังคมที่แบบเออเหมือนแบบมีสแตนดาร์ดอะไรอย่างหนึ่งอยู่เหมือนกันแต่คุณพ่อไม่เคยไม่เคยว่าไม่เคยไม่เคยห้ามไม่เคยมาบอกว่านี่คือสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรทําหรืออะไร แต่เห็นคือคุณพ่อเป็นคนที่เงียบๆ ไม่ค่อยพูดอะไรแต่ว่าได้สัมผัสได้ว่าคุณพ่อเขาภูมิใจในสิ่งที่ชายทําอันนั้นนั่นคือสิ่งที่มันมีค่าที่สุดแล้วเพราะว่ายังไงความเป็นลูกมันก็ยังโหยหาการยอมรับของพ่อแม่ ในทุกสเต็ปของการเดินดําเนินชีวิตอะ แล้วจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นคนเงียบๆ คนหนึ่งที่ไปคอยนั่งซัพพอร์ตตลอดอย่างไปดูละครเวที คุณพ่อเป็นคนที่นอนสองทุ่มหลับละ แล้วก็แบบไม่สามารถที่จะนั่งอยู่ในที่เสียงดังๆ อะไรได้นานๆ ก็จะแบบเวียนหัวจะแบบง่วงนอนขนาดไหน เล่นละครเวทีคุณพ่อเคยอยู่ดูยันจบห้าทุ่มยืนขึ้นตบมือ”
สิ่งที่คนดูน่าจะได้รับจากการชมละครเรื่องนี้?
“ความฟิวกู๊ดฟิลใจของเขานั่นคือ แต่ว่านั่นคือสิ่งที่คนสัมผัสได้ คือที่ผ่านมาเนี่ย คือคนเข้ามาทักว่าเป็นพ่อเกรซห อันนั้นคือความสุขอย่างหนึ่งเพราะว่าแบบเออเราได้เราได้ไปทัชใจคนดูในระดับหนึ่ง แต่ว่าสิ่งที่ได้ได้รับจากfeedbackก็คือเขาแบบเขาไม่ได้เห็นละครที่มันเป็นแบบฟิลกู๊ดแบบนี้ที่แบบน่าดูอยากดูมานานมากแล้ว แล้วมันฮีลใจจริงๆ อะที่แบบเออคอนเซ็ปต์ของละครอื่น มันคือการฮีลใจกัน ดูแล้วรู้สึกว่าแบบเฮ้ยชีวิตเรามันมีมุมที่สดใส มันมีเรา เราสามารถที่จะ ปรับMindsetของตัวเอง มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราจะจะเทคกับไอ้สิ่งที่มันเกิดขึ้นหรือสิ่งที่เราเจอในชีวิตยังไง เราสามารถที่จะมอง มีมุมมองที่มันสดใสแฮปปี้กับทุกด้านกับทุกสถานการณ์ แล้วมันก็มันจะเป็นพลังใจเล็กๆ ที่มันจะทําให้เราสามารถที่จะดําเนินชีวิตต่อไปได้ แบบมีความสุขไปมากันหน่อย อันนั้นคือ นั่นคือความ ความแบบ ความภูมิใจและความปลื้มที่มันได้จาก จากละครมาตาลดาที่เราสร้างมาแบบคือเหมือนเป็นละครรักกุ๊กกิ๊กโรแมนติกคอมเมดี้อะไรอย่างนี้แต่ว่ามันได้การได้ความรู้สึกที่ดีมันมากกว่านั้นให้กับทุกคนจริงๆ”
ที่ผ่านมาแอบน้อยใจไหม บางครั้งทําไมเราถึงไม่ได้รับรางวัลบ้าง?
“คือเหมือนที่ผ่านมาเคยคาดหวัง แต่ว่าสุดท้ายแล้วพอ พอไปคาดหวังแล้วเราไม่ได้กลายเป็นความแบบทําไมเราไม่ได้ แล้วแบบความรู้สึกนั่นแหละมันทําให้เราคิดได้วว่าอ๋อจริงๆ แล้วเราทําเพื่ออะไรเราไม่ได้ เราไม่ได้ทําเพื่อหวังให้งานมันออกมาดีหรอ เราทําเพื่อเราหวังให้แบบคนชื่นชมได้รับรางวัลอย่างงั้นเหรอ มันก็เลยกลายเป็นว่าต้องมานั่งคิดกับตัวเองคุยกับตัวเองอีกทีว่า ถ้าเรามองว่าเรารักเราศรัทธาในอาชีพนี้จุดมุ่งหมายในชีวิตของในชีวิตการแสดงของเราคืออะไรเเล้วชายถึงได้มาตกตะกอนกับคําตอบตรงนี้ว่า จุดหมายของการเป็นนักแสดงไม่ใช่รางวัล แต่คือการสร้างคุณค่าให้กับงาน ไม่ว่าจะสวมบทบาทไหนก็ตามที่สำคัญผมมองว่างานที่มันมีคุณค่าจริงๆ มันไม่ได้มีโอกาสนั้นง่ายเลย