Foundisan ของดีบ้านเกิดที่ อีฟ-ณัฐธิดา ภูมิใจ และ อยากโชว์ให้โลกรู้ว่ามีดีอย่างไร

account_circle

จากเด็กอีสานสู่ดีไซเนอร์ที่โลดแล่นอยู่ในโลกแฟชั่น ท่ามกลางแสง สี เสียงของเมืองกรุงและต่างประเทศ แต่แล้วเมื่อชีวิตพลิกผันให้กลับบ้านเกิด ตามคำขอร้องของแม่ อีฟ – ณัฐธิดา พละศักดิ์ก็ได้ค้นพบ“ของดี”ที่ทำให้เกิด แรงบันดาลใจในการพัฒนางานฝีมือชาวบ้านให้กลายเป็นงานคราฟต์ที่สดใหม่

ภายใต้โปรเจ็กต์ “Foundisan” (ฟาวนด์อีสาน) ที่เป็นตัวกลางให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ จากหลากหลายวงการได้เข้ามาพัฒนางานฝีมือท้องถิ่น มีตั้งแต่ผ้า เสื่อ ข้าวของ เครื่องใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงอาหารที่ไม่เหมือนใคร ณ ร้าน Zao (ซาว) ที่อีฟตั้งใจให้เป็นสถานที่สนับสนุนงานและผลผลิตของชาวบ้านไปพร้อมๆ กับโชว์ของดีของอีสานให้โลกได้รู้

Foundisan ของดีบ้านเกิดที่ อีฟ-ณัฐธิดา ภูมิใจ และ อยากโชว์ให้โลกรู้ว่ามีดีอย่างไร

จากสาวสายแฟ (ชั่น) สู่การเฟ้นหาของดีเมืองอีสาน

อีฟเกิดที่จังหวัดศรีสะเกษ แต่ก็เหมือนเด็กหลายคนที่ใฝ่ฝันอยากไปตามหา ฝันในเมืองใหญ่ “พอจบม.ปลายจากต่างจังหวัดก็ตามเพื่อนมาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่กรุงเทพฯ จนเรียนจบด้านแฟชั่นจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และได้งาน เป็นดีไซเนอร์ให้แบรนด์Shaka London 

ทำไปสักพักก็ออกมาทำเสื้อผ้าส่งออก เอง เพราะมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทน Young Designer ไปแสดงงานแฟร์ ที่สิงคโปร์แล้วได้ผลตอบรับดี ควบคู่ไปกับเป็นอาจารย์พิเศษสอนด้านแฟชั่น ที่มศว ด้วย ทำแบบนั้นอยู่ 3 ปีก็ไปเรียนต่อด้าน Fashion Promotion ที่ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ชีวิตช่วงนั้นถูกจริตมาก ได้เพื่อนและ คอนเน็กชั่นดีๆ เยอะ  แฮ็ปปี้จนไม่อยากกลับ วางแผนจะอยู่ต่อ แต่ระหว่างรอรับ ปริญญาจู่ๆแม่โทร.มาถามว่ากลับบ้านไปอยู่กับแม่ได้ไหม อีฟเป็นลูกคนเดียว ในพี่น้องสามคนที่แม่ส่งเงินเรียนให้เยอะสุด แต่ไม่เคยกลับไปกินข้าวกับแม่เลย มีแต่ ส่งเงินให้ ซึ่งแม่ไม่อยากได้เงิน  แต่อยากได้อีฟคืน ถ้าไม่ขอให้กลับตอนนี้ แม่กลัว จะเสียอีฟไป ดราม่ามาก จนอีฟต้องกลับบ้านทันที ไม่ได้รอถ่ายรูปรับปริญญา

“พอกลับไปอยู่บ้านจริงๆก็นอนเล่นอยู่ 3 เดือน ไม่รู้จะทำอะไร จนพ่อ บอกให้ลองทำธุรกิจขายรถเกี่ยวข้าว น่าจะได้กำไรเยอะ  จึงลองติดต่อรุ่นน้องที่เรียน ด้วยกันที่อังกฤษ บ้านเขาผลิตรถเกี่ยวข้าวขายอยู่ที่พิษณุโลก และกำลังอยากทำตลาด ที่จังหวัดอุบลฯ  พอดีแม่มีที่ดินอยู่ที่นั่น และพี่ชายกับน้องสาวของเราก็เรียนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อยู่ที่นั่นกันเป็นหลัก

ส่วนอีฟเองก็อยากอยู่อุบลฯ เพราะใกล้สนามบิน จะได้บินกลับกรุงเทพฯง่ายๆ อีฟและครอบครัวจึงตัดสินใจ ย้ายไปอยู่อุบลฯเพื่อปักหลักทำงานที่นั่น ซึ่งธุรกิจก็ไปได้ดีมาก เพราะเราไม่ได้แค่ ขายเหมือนคนอื่น แต่ต้อนรับขับสู้ เลี้ยงข้าวลูกค้าเหมือนคนในครอบครัว  แล้ว ความที่อีฟไม่ได้รู้เรื่องเครื่องจักรมาก จึงเน้นสอนเขาคำนวณเงินว่าผ่อนรถยังไง หาเงินยังไง ให้เขาคืนเงินเราเร็วที่สุด จึงขายดีจนผลิตรถแทบไม่ทัน

“แต่ระหว่างนั้นอีฟกลับไม่มีความสุข รู้สึกแปลกแยก เมืองนี้ไม่เหมาะกับเรา เราแค่มาทำงาน พอเสาร์-อาทิตย์ก็รีบบินกลับบ้านที่กรุงเทพฯ ทำแบบนี้อยู่ 3-4 ปี จนถามตัวเองว่าเอาไงต่อดี ไม่รู้ว่าเกิดมาทำอะไร เรามีความรู้ด้านแฟชั่น แต่ไม่ได้ ใช้ความรู้นั้นเลย รู้สึกค้างคา เหมือนอยู่ไปวันๆ จนถึงช่วงหนึ่งได้ไปเป็นอาจารย์ สอนด้านแฟชั่นอยู่ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์ บ้าง แต่ก็ยังไม่สุด

“กระทั่งทางภาครัฐมีโปรเจ็กต์พัฒนาชุมชน เชิญอาจารย์ด้านแฟชั่นไปเป็น กรรมการคัดเลือกงานฝีมือของอีสานไปแสดงในต่างประเทศ อีฟต้องเดินทางไป คัดเลือกผ้าฝ้ายจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเปิดโลกเรามาก เพราะเขาคัดแต่ผู้ผลิตเก่งๆที่ พร้อมจะทำงานส่งออก จากเดิมที่ไม่เคยให้ค่าของเหล่านี้เลย เห็นแล้วเบื่อ รู้สึกว่า ทำแต่แบบเดิมๆ แต่งานที่เจอครั้งนั้นสวยงามแปลกตา ที่สำคัญเขาพร้อมที่จะรับ อะไรใหม่ๆ ส่วนเราก็พร้อมจะให้ความรู้ ไปสอนเขาพัฒนาลวดลาย คู่สี แพตเทิร์น และดีไซน์ใหม่ๆ ไปจนถึงแพ็คเกจจิ้งเลย ทำยังไงให้ทุกอย่างดูน่าสนใจขึ้นและ เพิ่มมูลค่าได้ อารมณ์เหมือนอาร์ติสต์สองสายมาคอลแลบกัน ต่างคนต่างสนุก ที่จะได้แลกเปลี่ยนกัน

เราเดินทางไปเรื่อย ๆ จนถึงหมู่บ้านสุดท้ายที่จังหวัด อำนาจเจริญ ที่นั่นเน้นทอผ้าเนื้อหนาเหมือนผ้าห่ม เพราะอากาศหนาว เราดูแล้ว ถามว่ามีผ้าแบบอื่นอีกไหม ‘แม่’ (ชาวบ้านที่ทอผ้า) หยิบมาให้อีก 3 ผืน แล้วเล่า ให้ฟังว่านี่เป็นผ้าเก่าที่เขาทอให้แฟนสมัยเด็ก แต่ปัจจุบันต่างคนต่างแต่งงาน มีครอบครัวแล้ว มีผืนหนึ่งเป็นผ้าขิด ทอเป็นลวดลายว่า ‘รอ อยากมีหน้าร้านเป็นป็อปอัพสโตร์ที่กรุงเทพฯ มีข้าวของให้คนเข้ามาเลือกซื้อ กันได้ อย่างตอนนี้ก็กำลังเก็บพวกเสื่อ  กระติ๊บข้าว ผ้าต่างๆ เสื้อผ้านิดหน่อย ทำไปขายไป  ค่อยๆใช้เวลาเก็บสะสม แต่เรามีออฟฟิศที่อุบลฯ สามารถติดต่อ เข้ามาขอดูงานได้นะคะ”

Zao อีสานแซ่บที่ต้องชิม

อีกหนึ่งผลงานที่เจ้าตัวภูมิใจนำเสนอคือ Zao ร้านอาหารอีสานที่กำลัง มาแรงในอุบลฯ “ความจริงร้าน Zao ก็อยู่ใต้Foundisan เหมือนกัน เริ่มจากทำ Foundisan มา 3 ปี แต่เงินจม คุยกับลูกศิษย์จนสุดท้ายเขาเสนอกันว่าทำไมไม่ทำ ของกินล่ะ เพราะคนต้องกินทุกวัน เราเองเวลาใครมาเยี่ยมก็ชอบพาเขาไปกิน ของอร่อยตลอด ประกอบกับอาหารอีสานก็เป็นวัฒนธรรมและเป็นสิ่งที่คนไทย ทุกคนรู้จัก ไม่ว่าจะไปส่วนไหนของประเทศก็ต้องเจออาหารอีสานตลอด

“จึงมีแนวคิดทำร้านอาหาร Zao อีสานขึ้นมา โดยเริ่มจากสูตรอาหารของ ที่บ้าน แกะสูตรของยาย (แม่นมของคุณอีฟที่ทำอาหารอร่อยมาก) แล้วก็มาหาสูตร อาหารอื่นๆที่อีฟชอบ คือความที่เราเดินทางลงพื้นที่มาเยอะ ชิมอาหารมาแล้ว หลายที่ แต่ละหมู่บ้านก็จะมีของดีหรือผลิตผลท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เราติดใจรสชาติ ของบ้านไหนก็มาแกะสูตรกัน บางเมนูใช้วิธีให้พนักงานทำสูตรของแต่ละบ้านมาให้ชิม แล้วโหวตกันว่าชอบรสชาติของบ้านไหนมากที่สุด แล้วยึดสูตรนั้นเป็นหลัก เราเทสต์ ทุกอย่าง ทั้งพริก  ส่วนผสม เครื่องปรุง ปรับกันจนได้สูตรที่ทุกคนโอเค ทดลอง กันอยู่ 3 เดือนจึงเปิดร้าน

“โดยมีทั้งเมนูอีสานทั่วไปที่ทุกคนรู้จักกับเมนูแนะนำจากยาย เป็นเมนูพิเศษ ประจำซีซั่น ขึ้นอยู่กับว่าฤดูกาลนั้นมีผลผลิตอะไร  อาจจะมีปลาชนิดนั้นชนิดนี้ ยายก็จะนำไปหมกบ้าง ป่นบ้าง แล้วแต่เขาจะคิด โดยเขาจะเป็นคนทำเมนูต้นแบบ ขึ้นมาให้ทางร้านนำไปทำขายต่อ

ข้อได้เปรียบคือร้านเราอยู่ใกล้ตลาด ฤดูกาลนั้น มีอะไรเราก็หยิบมาทำ ทำให้มีความพิเศษ แล้วเราก็จะทำอีเว้นต์พิเศษเป็น Chef’s Table ปีละครั้ง หัวละ 3,000 – 4,000 บาท ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดีจนบางครั้ง แขกไปใครมาอุบลฯก็จะติดต่อรีเควสต์เข้ามาว่าให้ทำ Chef’s Table ให้ด้วย พูดง่ายๆว่าร้านเราเป็นการหยิบจับอาหารอีสานมาคิดใหม่ให้มีมูลค่าเพิ่ม  โดยยังคง รสชาติดั้งเดิมไว้เพื่อรักษาวัฒนธรรม และยังหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ต่อ อย่าง เวลาลงพื้นที่ไปหาชาวบ้าน เขาก็จะมีปลาร้า ขิงป่า ข่าป่ามาฝาก หรือเนื้อย่าง ไส้กรอกเจ้าไหนอร่อย เราก็หยิบมาใช้ทำอาหาร ถือเป็นการซัพพอร์ตชาวบ้านไปด้วย นี่กำลังจะพาร้าน Zao เข้ากรุงเทพฯ แถวเอกมัย เดือนกรกฎาคมนี้น่าจะเปิดได้ นอกจากอาหารแล้ว จะมีห้องคราฟต์โชว์ผลงานของ Foundisan ด้วย อยากให้มา เยี่ยมชมกันค่ะ” (ยิ้ม)

ความสุขที่ต่างไปจากเดิม

ปัจจุบันอีฟปักหลักอยู่อุบลฯ เลิกทำทุกธุรกิจในกรุงเทพฯ และไม่ได้กลับ กรุงเทพฯกว่า 5 ปีแล้ว แต่กลับมีเพื่อนๆแวะเวียนมาหาเธอไม่ขาดสาย เธอสนุก กับการตื่นเช้า แต่งตัวแฟชั่นจัดเต็มเข้าไปช็อปปิ้งวัตถุดิบเข้าร้านอาหารท่ามกลาง เสียงแซวจากแม่ค้าในตลาดที่รอชมชุดของเธอทุกวัน 

“เคยใส่ชุดนอนไปแล้ว โดนโห่ไล่ให้กลับบ้านไปเปลี่ยน (หัวเราะ) ที่แต่งตัวเต็มเพราะเราเป็นอาจารย์ ด้านแฟชั่น เราเองก็สนุกกับการแต่งตัวแบบนี้ แล้ววันหนึ่งทำหลายอย่าง ก็ชุดเดียว นี่แหละไปทุกที่ พอเราใส่ชุดสวยๆ แม่ๆในตลาดก็ครึกครื้น แซวว่าวันนี้ใส่ สีเขียวมัจฉาเหรอ บางวันใส่ชุดลายลิงก็แซวว่าเป็นธิดาวานร เราก็สนุก รอฟังว่า วันนี้จะมีคอมเมนต์อะไร เป็นช่วงเวลาคลายเครียด ตื่นมาได้หัวเราะเลย

“อีฟว่าการได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านทำให้อีฟเปิดใจและมองเห็นสิ่งมีค่าใกล้ตัว ที่เรามองข้ามมาโดยตลอด คือรักน่ะรักมาตลอดแหละ แต่เพิ่งรู้ว่ามีค่า อีสาน ทำให้เรารู้ว่าตัวเองคือใคร แล้วก็ทำให้เราอยากเป็นคนที่ดีขึ้น ทำตัวให้มีประโยชน์ ทุกวันนี้แทบไม่ได้คิดเลยว่าต้องหาเงินเท่าไร ธุรกิจรถไถก็เลิกทำไปแล้ว แต่กลับ มีความสุขมากขึ้น คิดแค่ว่าอยู่อย่างไรให้มีประโยชน์และมีค่ากับคนอื่น ซึ่งพอ ใช้เรื่องนี้เป็นตัวนำก็รู้สึกว่าชีวิตเบาขึ้น ทำร้านอาหารก็ได้ซัพพอร์ตเกษตรกร ทำ งานคราฟต์ก็ได้ซัพพอร์ตแม่ๆ วันๆคิดแต่ว่าทำอย่างไรให้วัฒนธรรมอีสานสามารถ ไปต่อได้อย่างมีมูลค่า ได้รับการบอกเล่าอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ ไม่ให้ภาพจำ ของอีสานเป็นแค่ความจน แห้งแล้ง ดินแตก หรือสกปรก เพราะความจริงอีสานมี วัฒนธรรมที่แข็งแรง มีทั้งงานฝีมือ เพลง อาหาร ฯลฯ มีเสน่ห์ที่น่าภาคภูมิใจ

เรากลัวว่าสิ่งเหล่านี้จะหายไป แต่การจะทำให้คนเห็นว่าอีสานมีคุณค่า เราต้องหาวิธี เล่าภาพอีสานใหม่ผ่านประสบการณ์ต่างๆที่เรียนรู้มา เราอยากทำให้ทุกอย่างดีขึ้น และสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งตอนนี้น่าดีใจที่มีคนช่วยกันทำหลายคน ไม่ใช่แค่ Foundisan เราแค่อยากเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองนั้น อยากให้คนอีสาน รักในสิ่งที่มี ช่วยกันทำให้ดีขึ้น ช่วยกันเล่าเรื่องราวของอีสานในแต่ละมุม ปล่อย เสน่ห์ออกมาให้มากที่สุด ให้ผู้คนได้รู้จักอีสานจริงๆ “จะได้หลงรักอีสานแบบที่เรารัก”


ที่มา : นิตยสารแพรว ฉบับ 984

ภาพ : EveNutthidaPalasak

Praew Recommend

keyboard_arrow_up