อะไรคือ อาวุธเงียบที่สู้กับ ปิตาธิปไตย ในประเทศเกาหลีใต้?
ปิตาธิปไตย

อะไรคือ อาวุธเงียบที่สู้กับ ปิตาธิปไตย ในประเทศเกาหลีใต้?

Alternative Textaccount_circle
ปิตาธิปไตย
ปิตาธิปไตย

4B อาวุธเงียบสู้กับ ปิตาธิปไตย ปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก มันคือการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม การเรียกร้องสิทธิ และการท้าทายอำนาจของสังคมชายเป็นใหญ่

หลายคนอาจคุ้นกับชื่อของ “4B” ที่ย่อมาจากคำว่า B: ในภาษาเกาหลีที่แปลว่า”ไม่” ได้แก่ Bihon ไม่แต่งงาน, Bichulsan ไม่มีลูก, Biyeonae ไม่ออกเดต และ Bisekseu ไม่มีเพศสัมพัมพันธ์ ขบวนการ 4B เริ่มต้นที่เกาหลีใต้ในปี 2016 เมื่อกลุ่มเฟมินิสต์ออกมาแสดงการต่อต้านการเหยียดเพศเลือกปฏิบัติทางเพศ และใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง การเดินขบวนดังกล่าวได้จุดประกายความสนใจทั่วโลกอย่างมาก โดยเฉพาะในออนไลน์ที่กล่าวว่านี่คือการปฏิวัติสิทธิสตรี

ชนวนสำคัญที่ส่งพลังให้ผู้หญิงพร้อมใจออกมาปฏิวัติมีหลายสาเหตุ อาทิ อาชญากรรมทางเพศในออนไลน์ของเกาหลีมากกว่าเดิมหลายเท่า มีการตั้งกล้องแอบถ่ายคลิปผู้หญิงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือตั้งกล้องในห้องน้ำสาธารณะแล้วนำคลิปไปขาย ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่คนใกล้ตัวนำรูปเหยื่อไปตัดต่อเป็นคลิปโป๊ผ่านทางเอไอ Deepfake สร้างภาพอนาจารออกมาแพร่หลาย เหตุการณ์ฆาตกรรมผู้หญิงแถวสถานีคังนัมเพียงเพราะฆาตกรผู้ชายเป็นโรคเกลียดผู้หญิง ไปจนถึงความไม่ยุติธรรมในหน้าที่การงาน อาทิ ค่าจ้างระหว่างหญิงกับชายในเกาหลีมีช่องว่างสูงมากถึง 31 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศพิพัฒนาแล้ว ขณะที่ตำแหน่งผู้บริหารหญิงในองค์กรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ปิตาธิปไตย

การเคลื่อนไหวของ 4B ไม่ได้พูดแค่เรื่องอยุติธรรมเท่านั้น แต่พูดถึงมาตรฐานความงาม มีผู้หญิงหลายคนพร้อมใจโพสต์วิดีโอทำลายเครื่องสำอาง ตัดผมสัน โดยเรียกการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า Escape the Corsetประมาณว่าการหนีออกจากกรอบเดิม ๆ ที่รัดตรึงพวกเธอไว้ไว้ไม่ต่างจากการละทิ้งชุดคอร์เสต

เมื่อสังคมชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตยที่นำคำสอนของขงจื้อมาใช้จัดระเบียบบ้านเมืองตั้งแต่ยุคโชชอนนั่นคือชายเป็นผู้นำ หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ฝังรากลึกในเกาหลืมานาน การจะขจัดความเชื่อหลายร้อยปีจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต้องบอกว่าการเคลื่อนไหวของ 4B สร้างความแตกแยกอย่างชัดเจน ผู้หญิงบางคนรู้สึกว่า “ฉันไม่คิดว่าการหลีกเลียงความสัมพันธ์กับผู้ชายจะแก้ปัญหาให้ผู้หญิง” หรือ “ที่ฉันไม่อยากออกเดตก็เพราะให้ความสำคัญกับกับงานมากกว่าผู้ชาย ไม่ใช่เพราะกระแส 4B” และคำวิจารณ์ที่มาแรงที่สุดคือการแสดงออกเกินเบอร์ลักษณะนี้สื่อถึงการเกลียดชังผู้ชายอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดการต่อต้านกลุ่มสตรีนิยม หรือที่เรียกกันว่าแอนไทเฟมฯ (มาก Anti-feminism)

หลายคนที่ประกาศตนว่าเป็น 4B มักโดนรังแกทางโลกไซเบอร์ หากออกไประท้วงก็จะตกเป็นเป้าของการข่มขู่การปิดกั้นเสรีภาพทำให้หญิงเกาหลีบางคนตัดสินใจเป็นสตรีนิยมแบบเงียบๆ คือยอมรับแนวคิดนี้ แต่ไม่เปิดแผยตัวตนแม้ 4B จะได้รับการยอมรับแบบปิด ๆ แต่อิมแพ็กต์ส่งผลมหาศาล สือระดับนานาชาติหลายแห่งเชื่อมโยง4B เข้ากับอัตราการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันมา 8 ปี และในปี 2023 เกาหลีได้มีอัตราการเกิดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ คืออัตราการคลอดบุตร 0.72 ต่อผู้หญิง 1 คน นักวิชาการท่านหนึ่งบอกว่า “อัตราการเจริญพันธุ์ตำเป็นปัญหาที่ชับช้อน และหนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือการที่ผู้หญิงคว้าตรผู้ชาย”

ปิตาธิปไตย

งานวิจัยเผยว่าผู้หญิงเกาหลีไม่ต้องการมีลูกถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เพราะให้ความสำคัญกับอาชีพการงานมากกว่าการแต่งงานหรือเป็นแม่ กลายเป็นโจทย์หนักของรัฐบาลที่ถึงแม้จะออกนโยบายจงใจให้ลาคลอดได้นานถึง 1 ปี สามารณบ่งลาเป็นช่วงๆ ได้จนด็กอายุ ปี แต่อัตราการกิดก็ยังต่างอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

เรื่อง นิตยสารแพรวฉบับเดือนมีนาคม 2568 โดย Fai

ภาพ GETTY

Praew Recommend

keyboard_arrow_up