เปิดเทคนิคการเลี้ยงลูกเข้าสังคมเก่งแบบ น้องแอบิเกล ลูกสาวสุดน่ารักของตัวแม่ตัวมัมของวงการบันเทิง ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต
การเลี้ยงลูกให้เข้าสังคมเก่งเป็นเป้าหมายสำคัญของคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน เพราะทักษะทางสังคมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการเติบโตของลูกน้อย การมีทักษะทางสังคมที่ดีจะช่วยให้ลูกสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีเพื่อน มีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จในชีวิต และนี่คือบทสัมภาษณ์ เทคนิคการเลี้ยงลูก เข้าสังคมเก่งแบบ น้องแอบิเกล ลูกสาวสุดน่ารักของตัวแม่ตัวมัมของวงการบันเทิง ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต

ที่ EYE BANGKOK HOSPITAL (โรงพยาบาลตากรุงเทพ)
การเตรียมตัวออกงานแต่ละครั้ง
“ส่วนมากชมจะไม่ค่อยอะไรมาก ก็จะปล่อยผ่าน ก็เด็กอ่ะ 3 ขวบ แต่ป้าเจี๊ยบเขาจะโหดกว่าชม เขาจะต้องแบบพูดสโลแกนสินค้าได้ อะไรแบบนี้ บรีฟเยอะ อยากเอาความมหัศจรรย์ออกมาให้ได้ แต่เราไม่คาดหวังอะไร แต่ป้าก็จะแบบนางทำได้ๆ”
“หลังจบอีเว้นต์กลับไปส่วนมากชมก็จะชมทุกครั้งว่าวันนี้น้องเก่งมาก ให้กำลังใจเขา เพราะว่ามันยังไม่ 3 ขวบเลย คืออย่างที่บอกคือชมไม่ได้คาดหวัง ขอแค่วันนี้ไปแล้วอารมณ์ดีอย่าไปหยุมใครต้องการแค่นี้พอ เพราะว่าไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเด็ก แต่สุดท้ายถ้าว้ากถ้าหยุมก็เข้าใจแหละว่าเด็กก็มีขีดจำกัด หิว ง่วง ร้อน ก็คือเด็ก”

คุณแม่ไม่หวงเลยเวลามีแฟนคลับเข้าไปเล่นกับน้อง
“คือมันก็อยู่ในสายตาของเราแหละค่ะ เอาเป็นว่าหลังบ้านเราบริหารกันเอง ถ้าช่วงไหนที่เรารู้สึกว่าตอนนี้น้องอาจจะเหนื่อยแล้ว เราก็อาจจะต้องมีระยะมีถอย แต่เรื่องอะไรแบบนี้ก็มีคุยกันทุกวัน”
“อีกอย่างมองว่าถ้าไม่อยากให้เล่นก็เอาไว้ที่บ้าน อย่าเอาออกมา ก็ในเมื่อมาแล้วเราก็รู้อยู่แล้วว่าเราเลี้ยงเขาก็ไม่ได้ปิดหูปิดตาเราก็รู้อ่ะว่าถ้าเราพาเขามาเจอคน เราก็รู้ว่ามันต้องมีรีแอกชั่นแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องยอมรับตรงนี้ ถ้าเขาพร้อมเราก็อยากมีชีวิตที่ปกติ อยากไปไหนก็ไป ร้านนี้ก็คือเป็นฟิตเนสพ่อ ร้านพ่อก็ต้องมาได้ แต่ถ้าช่วงนี้อาจจะเหนื่อยก็อ่ะอยู่บ้าน”

สิ่งต่างๆ ที่น้องทำ หลายครั้งเกินความคาดหมาย
“ก็คือเด็ก ชมไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องเสิร์ฟอะไรแบบนี้ คือถ้าเขามีหงุดหงิด เราเข้าใจได้ว่าคนมันเข้ามาเยอะแล้วคือขนาดผู้ใหญ่รู้สึกเลยเราก็ต้องดูให้มันสมเหตุสมผล ถ้าเขาไม่น่ารักกับคนอื่น โดยที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากมันเหนื่อยมันร้อน เราก็บอกเขาว่าอันนี้ไม่น่ารักนะ แต่ถ้าบางทีเราให้เขาเสิร์ฟมากๆ แล้วจะคิดว่าเขาจะทำได้อีกๆ คือมันก็ไม่ไหวแล้ว หรือบางทีคนที่เข้ามาแล้วเขาไม่ได้เข้าใจธรรมชาติของเด็ก แล้วก็คาดหวังมากเจอหน้าปุ๊ป ต้องเสิร์ฟ คือถ้าเราเห็นว่าเขามีทีท่าไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก เราก็อาจจะต้องพาเขาออกมา ก็ดูเป็นกรณีไป”



