ART TOY ของเล่นที่เริ่มต้นจากยุค 90 สู่คนรุ่นใหม่ นาทีนี้ทำเงินไม่ใช่เล่นๆ
ART TOY

ART TOY ของเล่นที่เริ่มต้นจากยุค 90 สู่คนรุ่นใหม่ นาทีนี้ทำเงินไม่ใช่เล่นๆ

Alternative Textaccount_circle
ART TOY
ART TOY

กระแสอาร์ตทอยเข้ามาในบ้านเราราวปีที่แล้ว ยิ่งการมาถึงของ POP MART ร้านขายอาร์ตทอยที่มีสาขาในเมืองไทยหลายสาขา และยังขึ้นชื่อว่าคิวต่อแถวยาว และคดโค้งถึงขั้นต้องมีการ์ดคุม อะไรสร้างชื่อให้อาร์ตทอย และสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ยังไง

จุดกําเนิดของอาร์ตทอยเริ่มต้นในยุค 90 จากฮ่องกง บุกเบิกโดย Michael Lau ศิลปินผู้สร้างคาแร็คเตอร์ชื่อดังอย่าง Gardener เขาสร้าง ซีรีส์โมเดลเพียง 99 ตัว และก็สร้างชื่อให้เขาตั้งแต่นั้นมา เป็นใบเบิกทางให้
ศิลปินท่านอื่น อาทิ Takashi Murakami และ Eric So ในเวลาต่อมา สิ่งที่ทําให้อาร์ตทอยต่างจากของเล่นชนิดอื่นอยู่ตรงการให้ความสําคัญ

ART TOY
Michael Lau ภาพจาก @michaellau

กับวัสดุ ช่วงแรกศิลปินจะใช้ไม้หรือเรซิน แต่เพราะผลิตได้ในจํานวนจํากัด และต้นทุนสูง จึงหันไปใช้ไวนิล ซึ่งเป็นพลาสติก PVC ที่มีน้ําหนักเบาและ สามารถผลิตได้เป็นจํานวนมากแทน ทําให้ผู้คนจับจองได้ในราคาเอื้อมถึง แต่ ถึงอย่างนั้นด้วยกระแสที่มาแรง บวกกับเทคนิคการค้าที่ผลิตในจํานวนจํากัด เพื่อสร้างมูลค่า บางชิ้นจึงพุ่งถึงหลักแสน และนี่คือข้อแตกต่างระหว่างอาร์ตทอย กับโมเดลการ์ตูนทั่วไป แม้จะไม่มีแบ็กกราวนด์หรือเรื่องเล่าของตัวเอง แต่ เพราะดีไซน์ที่น่ารัก มาในจํานวนจํากัด บวกกับชื่อเสียงของศิลปิน จึงทําให้ ครองตลาดได้ไม่ยาก

และจีนก็เป็นผู้เล็งเห็นสิ่งนี้ก่อนกาล เพราะโรงงานผลิตอาร์ตทอย สําเร็จรูปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่จีน พร้อมกับการเกิดขึ้นของ POP MART บริษัทจัดจําหน่ายอาร์ตทอยอันดับหนึ่งของโลก

เดิม POP MART ขายสินค้าป๊อปคัลเจอร์ให้กับกลุ่มวัยรุ่นทั่วไป ก่อน จะเปลี่ยนกลยุทธ์หันมาขายของเล่นเต็มตัว เพราะ Wang Ning ซีอีโอของ POP MART เห็นรายงานยอดขาย ซึ่งสิ่งที่เขาขายดีที่สุดคือของเล่น แต่จะขาย ยังไงให้ต่าง เขาจึงไปชักชวน Kenny Wong ศิลปินชาวฮ่องกงผู้สร้างสรรค์

คาแร็คเตอร์ Molly มาทําธุรกิจด้วยกัน หลังจากเปิดคอลเล็คชั่นแรก Molly สร้างยอดขายได้ราว 800 ล้านบาท บวกกับกลยุทธ์การขายที่เล่นกับจิตวิทยา ตั้งแต่ผลิตจํานวนจํากัด ขายแบบ Blindbox หรือกล่องสุ่ม (ที่คุณหวังได้ ไอเดียจากการที่เขาไปสุ่มซื้อของเล่นที่ญี่ปุ่น) ไปจนถึงการสร้างตัว “Secret” ตอบแทนแฟน ๆ ที่ซื้อยกแพ็กให้ได้ไปลุ้นกันต่อ

ไม่เพียงเท่านั้น POP MART ยังเล็งการณ์ไกล เมื่อเห็นว่าการมี Molly เพียงตัวเดียวคนอาจเบื่อ เขาจึงเริ่มคอลแล็บกับอีกหลายคาแร็คเตอร์ ไม่ว่า จะเป็น Labubu, Crybaby ไปจนถึงกลยุทธ์ต่อยอดกับบริษัทข้างนอก เช่น ดิสนีย์ ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทําไมแบรนด์จึงขยายตลาดได้เร็วถึง 450 สาขา ใน 30 ประเทศทั่วโลก

และยิ่งถ้าได้ฟังคอนเซ็ปต์จากคุณหวัง จะเข้าใจเลยว่าทําไมเขาถึงทํา การตลาดได้เก่งนัก “การซื้อความสุขไม่สุขเท่าซื้อความตื่นเต้น” อ่านแล้วคง เข้าใจโมเมนต์นี้ มันเกิดขึ้นขณะที่คุณกําลังแกะฝากล่องแล้วลุ้นว่าตัวเองจะได้
ตัวซีเคร็ตหรือเปล่า

เล่นกับใจคนเก่งขนาดนี้ ทําให้ปีที่แล้ว POP MART เติบโตราว 2.81 พันล้านหยวน หรือประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ถ้ามองตลาดอาร์ตทอยใน ภาพรวม ขณะนี้มีมูลค่าอยู่ที่กว่า 3 แสนล้าน และมีการพยากรณ์ว่าในอีก 6 ปีข้างหน้าตลาดอาร์ตทอยจะพุ่งไปที่ 4 แสนล้าน โดยตลาดใหญ่สุดอยู่ที่เอเชีย

มด – นิสา ศรีคาดี เจ้าของผลงาน Crybaby เล่าให้ฟังถึงตอนที่เริ่มผลิต อาร์ตทอยว่า “หนึ่งในแพสชั่นที่มดสนใจมาตลอดก็คือการทําทอยโมเดล ตอนนั้น หยิบดินมาปั้นเป็นตัว Crybaby แล้วโพสต์ในโซเชียลของตัวเอง จนนักสะสม ชาวจีนมาเห็นและขอชื่อ นั่นเป็นจุดที่เราเริ่มปั้นขาย แล้วก็บูมทันที มีคนต่อคิว ซื้อหลักแสน กระทั่งเป็นคนไทยคนแรกที่ได้เซ็นสัญญากับ POP MART

เสน่ห์ของอาร์ตทอยคือคําว่า “อาร์ตและความน่ารัก” แม้หลายกระแสบอกว่า นี่ไม่ใช่งานศิลปะ เป็นเพียงของเล่น ซึ่งมดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “ปกติคนมักมองว่าศิลปะเป็นเรื่องที่เอื้อมไม่ถึง เราจึงทําให้ใกล้ตัวที่สุด ซึ่งเป้าหมายของคนที่สะสมอาร์ตทอยก็เพื่อจะได้เห็นประติมากรรมตัวเล็กด้วย”

ศิลปะที่แท้จริงอาจไม่ต้องสูงค่า แค่ใกล้ใจและจับต้องได้

ภาพจาก : popmartglobal

ข้อมูลจาก นิตยสารแพรว ฉบับ 1013 เดือนธันวาคม 2568

Praew Recommend

keyboard_arrow_up