ชีวิตจริงหลังโรงลิเก ของ พระเอกลิเกเงินล้าน ศรราม น้ำเพชร
ศรราม น้ำเพชร

ชีวิตจริงหลังโรงลิเก ของ พระเอกลิเกเงินล้าน ศรราม น้ำเพชร

Alternative Textaccount_circle
ศรราม น้ำเพชร
ศรราม น้ำเพชร

พระเอกลิเกเงินล้าน ค่าตัวสูงที่สุดในเวลานี้ คงไม่มีใครเกิน “แบงค์ – ศรราม เอนกลาภ” เจ้าของคณะในวัย 27 ปี แต่กว่าจะประสบความสําเร็จ มีแม่ยก พ่อยกทั่วบ้านทั่วเมืองอย่างทุกวันนี้ เส้นทางชีวิตไม่เหมือนบทบาทในวิกลิเก เพราะนับตั้งแต่เริ่มขึ้นแสดงตอน 4 ขวบ จากนั้นเขาก็ต้องใช้ความมานะอดทน มีวินัยและใจสู้เป็นเครื่องนําทางมาตลอด

ลูกหลานลิเก

“แบงค์รู้ตัวเองตั้งแต่เด็กเลยว่าเกิดมาเพื่อเล่นลิเก ทั้งเป็นหน้าที่และเป็น มรดกงานที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจให้รับช่วงต่อ ผมโตมากับบรรยากาศที่เห็นคุณพ่อ เป็นพระเอกลิเก ก่อนหน้าจะรักกับคุณแม่ เดิมท่านอยู่ในคณะมนตรี มนต์รัก ที่จังหวัดอ่างทอง ใช้ชื่อในวงการว่ามนต์รัก เอนกลาภ ส่วนคุณแม่เป็นเจ้าของ คณะจําเนียรน้อยที่พระนครศรีอยุธยา และเป็นนางเอกด้วย ใช้ชื่อว่าดวงแก้วลูกท่าเรือ

“สมัยก่อนนักแสดงลิเกไม่ว่าจะหญิงหรือชายไม่สามารถมีครอบครัวได้ไม่อย่างนั้นแม่ยกพ่อยกหรือแฟนคลับจะไม่ค่อยสนับสนุน ทําให้ตอนที่แบงค์ ยังเล็กคุณพ่อคุณแม่ประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่ค่อยมีงานจ้าง ถึงขั้นว่าคุณพ่อ จะเลิกเล่นลิเกแล้วไปทํางานที่ญี่ปุ่นเพื่อส่งเงินกลับมา ช่วงนั้นครอบครัวเราทุกข์มาก ร้องไห้ทุกวัน กระทั่งพี่เอ – ไชยา มิตรชัย โทร.มาชวนท่านให้ไปเล่นที่คณะประมาณ 3 เดือน ซึ่งช่วงนั้นพี่เอมีงานแสดงทุกวัน จนคณะลิเกจําเนียรน้อยของคุณแม่เริ่ม มีเจ้าภาพติดต่อมา ทําให้มีโอกาสกลับมาตั้งตัวและมีชื่อเสียงอีกครั้ง”

ศรราม น้ำเพชร

ลิเกเด็ก

“เมื่อเริ่มตั้งหลักได้ คุณพ่อนําแรงบันดาลใจที่ได้จากพี่เอมาตั้งคณะลิเกเด็ก “ศรราม น้ําเพชร” โดยกู้เงินเพื่อน ๆ มาเพื่อลงทุน เรียกว่ายอมเสี่ยงเลย เจ๋ง ก็ไม่เป็นไร ผลปรากฏว่าประสบความสําเร็จอย่างมาก

“จ๋าได้ว่าคุณพ่อกําหนดตารางการซ้อมจากที่ท่านเคยเรียนนาฏศิลป์มาก่อนโดยให้แบงค์และหลานมาซ้อมลิเกทุกเย็นวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์จะซ้อม เช้า – เย็น ครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง ทุกคนจะมานอนที่บ้านด้วยกัน ต้องฝึก เหมือนกันหมด เรียกได้ว่ากินข้าวหม้อเดียวกัน ส่วนวันธรรมดาก็ไปเรียนตามปกติ ช่วงตั้งคณะแรกๆ งานแสดงไม่ได้มีทุกวัน ประมาณเดือนละ 6 – 7 งาน

“เวลาได้รางวัลคืนละร้อยสองร้อยก็รู้สึกภูมิใจว่าเราไม่ได้ได้เงินมาฟรี ๆ นะ

มาจากการที่เราลงแรงทํางาน เมื่อเริ่มโตขึ้น มีอิสระในการเก็บเงินมากขึ้น ก็รู้สึก ว่าสิ่งที่ได้กลับมาจากการทํางานคุ้มค่ากับที่เหนื่อย ยิ่งทําให้ทุกวันตื่นเช้ามาแล้ว ต้องรีบทํางาน อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เพราะครอบครัวไม่ได้ร่ํารวย

“แรกๆ แบงค์ไม่รู้หรอกว่าความรับผิดชอบคืออะไร รู้แค่ว่าต้องตั้งใจซ้อม เพื่อให้พ่อเห็นว่าลูกตั้งใจและรําเก่ง สั่งให้รําก็ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย อย่างปกติรา รอบละ 5 นาทีทุกคนล้าแล้ว แต่เรายังขอซ้อมต่ออีก จนพี่ๆ โวยว่าอะไรจะขนาดนั้น คือเรากําลังสนุกไงครับ

“ถามว่าซ้อมโหดไหม ก็มีตีครับ เพราะคุณพ่อต้องคุมเด็กหลายคน ถ้าไม่จริงจังคงเอาไม่อยู่ ถ้าทําผิดกฎท่านจะมาพร้อมไม้หวายที่เราเรียกกันว่า ไม้ประจําตําแหน่ง แม้ลูกจะเด็กสุดในคณะก็ไม่มีอภิสิทธิ์นะครับ ยิ่งต้องเป็น ตัวอย่างที่ดี

“ทุกคนในคณะจะมีพื้นฐานเหมือนกันหมด เพราะคุณพ่อสอนเท่ากัน ไม่มี กว่าลูกต้องได้มากกว่าคนอื่น อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะเก็บไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ แค่ไหน รวมไปถึงบทบาทในการแสดง คุณพ่อจะสอนเสมอว่าบทจะเป็นอย่างไร มากหรือน้อย ถ้าตั้งใจเล่นให้คนจดจํา คุณก็จะมีชื่อเสียงได้ ลิเกเล่นคนเดียว จะเหนื่อยมาก ทุกคนต้องช่วยกันส่งช่วยกันรับ คนดูจึงจะรู้สึกว่าโอ้โฮ คณะนี้ เล่นดี ดูแล้วมีความสุขจังเลย ฉะนั้นทุกคนมีความสําคัญ บางเรื่องแบงค์มีบทน้อย ก็ต้องทําเต็มที่ แต่ส่วนมากคนจ้างจะเลือกเรื่องที่ศรรามออกเยอะ ๆ เหมือนเรา เป็นคนแบกคณะ ยิ่งเราเล่นดี คนยิ่งมองเห็น งานก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

“สมัยก่อนเวลาไปแสดงที่ไหน เราเดินทางด้วยการเหมารถสองแถวเฉพาะ

นักแสดง ส่วนพวกเวทีและวงปี่พาทย์จะมีรถแยกไปต่างหาก ทุกวันก่อนจะไป สถานที่จัดงาน นักแสดงทุกคนต้องมาแต่งหน้าที่บ้านพ่อก่อน

“จากนั้นถือเป็นโชคดีของคณะศรราม น้ําเพชร ที่บริษัท Rose Video ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Rose Media ชวนบันทึกวิดีโอเพื่อจําหน่าย ซึ่งเขามีฐานลูกค้า ดูลิเกอยู่แล้ว เริ่มจากวางขาย 5,000 แผ่น ปรากฏว่าขาดตลาดในเวลารวดเร็ว ทําให้คณะศรราม น้ําเพชร เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น จึงมีงานบันทึกเทปอย่างต่อเนื่อง “ตอนนั้นคณะศรราม น้ําเพชร เป็นลิเกเด็กคณะแรก ๆ ทุกวันนี้ต้องเรียกว่า เป็นลิเกวัยรุ่นขึ้นไป และมีคนรุ่นใหม่สนใจมาเล่นลิเกกันเยอะกว่าหลายปีก่อน”

เกิดมาเพื่อสิ่งนี้

“ตอนนี้ผมอายุ 27 ปีแล้ว พอคิดทบทวนสิ่งที่ผ่านมา ยิ่งรู้สึกว่าเราเกิดมา เพื่อสิ่งนี้จริงๆ ทั้งเรื่องการแสดงที่คุณพ่อสอน บางช่วงที่เราต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า จากที่ไม่คิดว่าจะผ่านได้ ก็ผ่านมาแบบราบรื่น ซึ่งหลายอย่างเป็นความ ท้าทาย การแสดงลิเกไม่ใช่ว่าแค่เล่นลิเก บางเรื่องเราต้องรับบทหนัก ต้องเปลี่ยน

บทบาทตัวเอง เมื่อได้ทํามากขึ้นก็ยิ่งเห็นชัดเจนว่าทําไมเราทําได้ แบงค์เชื่อว่าตัวเอง มีพรสวรรค์ด้านนี้ ด้วยความที่เราเป็นสายเลือดลิเกแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งปู่ย่า ตายายเป็นลิเกหมดเลย บวกกับการมีพรแสวง ทําให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ผม เชื่อว่าพรสวรรค์อาจทําให้เราได้เปรียบคนอื่นนิดหน่อย แต่พรแสวงทําให้เราเก่ง “ปีนี้คณะศรราม น้ําเพชร งานเยอะเลยครับ ช่วงเข้าพรรษางานจะแน่น เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ช่วงหน้าฝนอย่างน้อย 3 เดือน คือกรกฎาคม สิงหาคม และ กันยายน ส่วนใหญ่จะมีวันว่างรวม ๆ กัน 20 – 30 วัน แต่ปีนี้กรกฎาคมก็เต็ม สิงหาคมก็เต็ม ส่วนกันยายนถ้าแบงค์ไม่ได้ขอคุณแม่ล็อกวันหยุดไว้เพื่อไปเที่ยว ก็คงเต็มทั้งเดือน

“งานที่นอกเหนือจากลิเกก็เยอะด้วยครับ อย่างงานแสดง ออกรายการต่าง ๆ ถ้าไม่มีความสุข ไม่มีแพสชั่นในการทํางาน ก็คงแอบเหนื่อยหรือท้อบ้าง แต่แบงค์ ไม่เคยรู้สึกอย่างนั้น จริง ๆ นะครับ ยิ่งงานเยอะกลับยิ่งมีแพสชั่นมากขึ้น ยังเคยถาม ตัวเองว่าทําไมไม่เหนื่อยบ้างเลย (หัวเราะ) แสดงว่าเรามีความสุขกับการทํางานจริงๆ “อาจจะมีบ้างที่มีความคิดแว่บเข้ามาว่าอยากไปดูหนังรอบดึกกับแก๊งเพื่อน

สมัยเรียน ปวช. (ศรรามจบปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ) แต่สุดท้ายก็จบตรงที่ว่าไม่ดูหรอก เดี๋ยวเย็นต้องไปเล่นลิเกแล้ว หน้าที่ต้องมาก่อน ดูหนังเมื่อไรก็ได้ อาจเพราะเราทําเป็นรูทีนทุกวันและต้องทําให้เต็มที่ ละทิ้งไม่ได้ “ตั้งแต่คุณพ่อเสียไป 2 ปีที่แล้ว ผมต้องดูแลและรับช่วงต่อในคณะลิเก จริง ๆ รู้มาตั้งนานแล้ว คิดว่าถ้าคุณพ่อวางมือก็ต้องเป็นผมกับพี่สาว (น้ําเพชร เอนกลาภ) ตอนนั้นผมอายุ 25 ปี รู้สึกว่าโอ้โอ ปัญหาเยอะ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย กับการบริหารองค์กรที่มีคนนับร้อยชีวิต ทํางานกับคน ปัญหาก็ร้อยแปด แต่แบงค์ โชคดีที่ไม่ได้บริหารคนเดียว มีคุณแม่ พี่สาว พี่เขย ช่วยกันดูแล”

ศรราม น้ำเพชร

ชีวิตจริงหลังโรงลิเก

“ชีวิตประจําวันของแบงค์จะวนอยู่ประมาณนี้ คือดูตารางงานก่อนว่ารุ่งขึ้นมี งาน ถ้ามีถ่ายรายการทีวีตอนเช้า แบงค์จะนอนตี 5 หรือตี 5 ครึ่ง ตื่น 8 โมงเช้า เพื่อให้ไปทันนัดแต่งหน้าตอน 9 โมงเช้า ถ่ายเสร็จประมาณบ่าย 3 เดินทางไปแสดง ลิเกต่อ กลับบ้านเข้านอนอีกที่ตี 5 หรือตี 5 ครึ่ง

“ฟังแล้วคงคิดว่าแบงค์ทํางานหนักมากใช่ไหม ก็จริงครับ (หัวเราะ) อย่าง ตอนที่ถ่ายละครต้องไปถึงกองตอน 7 โมงเช้า เสร็จตอน 2 ทุ่ม ไปเล่นลิเก กว่า จะได้นอนอีกทีตี 5 (หัวเราะ) ความจริงก็มีวันว่างที่ได้นอนยาว ๆ บ้าง แต่ผมนอน ได้มากสุด 6 ชั่วโมงก็ตื่นแล้วครับ ไม่อย่างนั้นจะเวียนหัว เหมือนร่างกายไม่ชินกับ

การนอนนาน ๆ

“พอได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกก็คือโอเค ไปทํางาน ลุกจากเตียงทันทีแม้จะนอน ไปแค่ 2 – 3 ชั่วโมงก็ตาม เพราะผมไม่อยากไปงานช้า เหมือนเป็นการฝึกตัวเอง ไปด้วย เราทํางานกับคนหมู่มาก ต้องไม่ทําให้คนที่ร่วมงานกับเราลําบากใจหรือรู้สึก อึดอัดกับการร่วมงานกับเรา นี่แหละคือคําว่าวินัย แบงค์อยากให้คนที่ได้ร่วมงาน ด้วยสนุกและมีความสุข เพราะแบงค์เป็นคนสนุกสนานเฮฮา

แต่ก็ผ่านมานาน

“แต่ก็เคยมีเรื่องที่ทําให้ทุกข์หรือเสียน้ําตานะครับ กับเรื่องความรัก เป็น ประสบการณ์ที่ทําให้แบงค์ทุกข์มากที่สุดจนกระทบการทํางาน มากแล้ว พอดึงตัวเองกลับมาได้ ก็ไม่คิดบั่นทอนตัวเองอีก “ส่วนเรื่องที่ทําให้เครียดสุด ๆ คือช่วงโควิดระบาด เพราะไม่รู้ว่าอนาคต จะเป็นอย่างไร สถานการณ์จะปกติเมื่อไร เนื่องจากรายจ่ายเท่าเดิม แต่รายรับหาย แล้วคุณพ่อป่วยช่วงนั้นด้วย ต้องใช้เงินในการรักษา แต่เมื่อทุกอย่างปลดล็อก เรา โชคดีที่ยังเป็นที่รักและไว้ใจของผู้จ้างงาน จึงมีงานเข้ามาจนผ่านมาถึงทุกวันนี้ ที่ผ่านมาผมไม่เคยแสดงความเครียดให้ใครเห็นนะ เพราะเราเป็นผู้นํา แบงค์ อาจจะคิดมาก แต่ก็ไม่จมอยู่กับสิ่งนั้นนาน ๆ แป๊บเดียวก็มูฟออนแล้ว เคยมี เหตุการณ์ที่แบงค์โดนโกงเงิน เพราะอยากพาคณะลิเกไปจัดแสดงที่ประเทศเยอรมนี กับอเมริกา เพื่อให้คนไทยและชาวต่างชาติได้ชมศิลปวัฒนธรรมไทย ความที่เวลานั้น ไม่มีใครสนับสนุน จึงกรุยทางเอง ทั้งหาเงิน ติดต่อกับคนไทยที่โน่น โดยที่ ไม่ได้เช็กให้ชัวร์ ใครเตือนก็ไม่ฟัง ที่สุดถูกโกงเงินไปหลายล้านบาท พอรู้ว่าเขาโกง ผมตัดเลย ไม่เครียดกับสิ่งที่เสียไปแล้ว คิดว่าอาจจะยังไม่ถึงเวลาของเรา แต่ จําเป็นบทเรียนว่าจะต้องไม่ผิดช้า แล้วตั้งหน้าตั้งตาทํางานเก็บเงินใหม่

“เพราะเหตุการณ์นั้นทําให้แบงค์มีวินัยในการใช้เงินและเก็บเงิน วันข้างหน้า เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรที่ต้องใช้เงิน ตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองโตขึ้น บริหาร จัดการการใช้เงินได้ดีขึ้นกว่าตอนวัยรุ่น คือมาถูกทางแล้ว

“อยากฝากถึงน้อง ๆ คนรุ่นใหม่ เราต้องซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ทํา ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ รู้ว่าตัวเองกําลังทําอะไร แล้วอย่าเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่น เพราะต้นทุนแต่ละคนไม่เหมือนกัน การที่เราเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับคนอื่น อาจจะดูเหมือนเป็นแรงผลักดัน แต่สุดท้ายจะให้ผลเสียมากกว่า ฉะนั้นแข่งกับตัวเองดีกว่า”

ผลักดันลิเกสู่เวทีโลก

“แบงค์ภูมิใจที่ได้เกิดมาทําอาชีพลิเก ถึงใครจะมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรํากิน แต่ทําให้เรามีกินทุกวันนี้ แม้จะไม่ได้ร่ํารวย เลิศหรู แต่เราก็สามารถดํารงชีวิตได้ อย่างมีความสุข ดูแลจุนเจือครอบครัวและทีมงานได้ การที่แบงค์ไปออกรายการ ต่าง ๆ ในนามของพระเอกลิเกคณะศรราม น้ําเพชร เพื่อประชาสัมพันธ์อาชีพลิเก ให้คนไทยได้รู้จักเพิ่มขึ้น จะคนสองคนก็ยังดี

“ฝันของผมยังคงอยากเห็นลิเกโกอินเตอร์ อยากเห็นภาพที่คณะศรราม น้ําเพชร ไปแสดงเต็มทีมที่ต่างประเทศ แต่อาจด้วยค่าจ้างหรือกระแสของลิเก ยังไม่ถึงจุดนั้นเหมือนหมอลํา เพราะลิเกของเราคือโชว์ ไม่ได้เป็นคอนเสิร์ต แบงค์ เชื่อว่าคนไทยที่ต่างประเทศรู้จักลิเกและคณะศรราม น้ําเพชร ถ้าวันหนึ่งมีใครหรือ หน่วยงานไหนสนับสนุน ก็คงมีวันนั้น

“ผมอยากให้คนทั่วโลกได้เห็นและสัมผัสกับการแสดงลิเกมากกว่านี้ ตอนนี้ ผมกับพี่จิมมี่ (ผู้จัดการ) กําลังพยายามหาลู่ทาง เราไม่ได้ไปแค่ตัวเองหรือคณะ ของเรานะครับ แต่นําคําว่าลิเกไทยไปด้วย สิ่งที่จะได้รับกลับมาคือพี่น้องอาชีพ ลิเกด้วยกัน เละประเทศไทย

“เพราะแบงค์เชื่อว่าลิเกเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ก้าวสู่ระดับโลกได้ครับ”

Praew Recommend

keyboard_arrow_up