มิสแกรนด์ไทยแลนด์

ดีไซน์เก๋ โลกไม่ลืม เปิดความหมาย 77 ชุดประจำจังหวัดจาก มิสแกรนด์ไทยแลนด์

account_circle
มิสแกรนด์ไทยแลนด์
มิสแกรนด์ไทยแลนด์

ดีไซน์เก๋ โลกไม่ลืม จะกี่ปีก็ว้าวสำหรับ ชุดประจำจังหวัดจากเวทีการประกวด “มิสแกรนด์ไทยแลนด์” ซึ่งปีนี้เหล่าสาวงามจาก 77 จังหวัดจัดเต็ม ประชันไอเดียกันสุดฤทธิ์ แต่ละชุดบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของตัวจังหวัดได้อย่างดีเยี่ยม

สมกับคำว่า We Are GRAND The1 and Only!! เพราะเวทีนี้เวทีเดียวที่ให้โอกาส ดีไซเนอร์ไทย ตัวแทน 77 จังหวัดได้โชว์ศักยภาพในการสร้างสรรค์ชุดประจำจังหวัด เพื่อร่วมชิงชัยได้เป็นที่สุดแห่ง “ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม (Best National Costume)” บนเวทีการประกวด มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2022 : 10th year Anniversary ซึ่งปีนี้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี แน่นอนว่าไม่มีหรอกคำว่า “ธรรมดา” มีแต่คำว่า “อลังการ สะบัดเลอ!!”

โดยการประกวดรอบชุดประจำจังหวัดได้จัดขึ้นเมื่อค่ำคืนวันที่ 24 เมษายน ชั้น 6 โชว์ดีซี ฮอลล์ พระราม 9 งานนี้รวมแฟนคลับมิสแกรนด์ไว้แน่นขนัด รวมถึง PD หรือ ผู้อำนวยการกองประกวดประจำจังหวัด เพราะนี่คือศักดิ์ศรีและหน้าตา หลังเวทีผู้เข้าประกวดเตรียมแต่งองค์ทรงเครื่อง ชุดประจำจังหวัด ที่สร้างสรรค์จากแนวคิดและแรงบันดาลใจจากของดีประจำจังหวัด

ดีไซน์เก๋ โลกไม่ลืม เปิดความหมาย 77 ชุดประจำจังหวัดจาก มิสแกรนด์ไทยแลนด์

กรุงเทพมหานคร (ชุด Tour Bangkok Thailand)

Tour Bangkok on the iconic Tuk Tuk discover ourstanding architecture เสาชิงช้า แลนด์มาร์ค ย่านเมืองเก่า สถานที่สุดชิคที่ผสมผสมกลิ่นอายความคลาสสิก ที่จารึกไว้ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นของโครงสร้างทางสถานปัตยกรรม และความปราณีตของงานแกะสลักบนแผ่นไม้ จึงถูกนำมารังสรรค์ผ่านชุดประจำชาติอันทรงคุณค่า ตัวชุดใช้เทคนิคการตอกลายผ้า ตกแต่งด้วยเพชรสีแดงทับทิม ผสมผสานความเป็นร่วมสมัยได้อย่างงดงาม

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

กระบี่ (ชุด Warrior of Andaman)

จาก commentของ คุณณวัฒน์ อิสรไกรศีล ว่า “กระบี่ก็ต้องมีกระบี่ครับ” จึงเกิดเป็นนักรบแห่งท้องทะเลอันดามันเมืองกระบี่ ที่คอยปกป้องดูแลท้องทะเลแห่งนี้ ให้ยังคงสมบูรณ์และงดงามภายใต้หนึ่งในคำขวัญที่ว่า “ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน”  ผ่านความงดงามของธรรมชาติ ที่รังสรรค์บนผืนผ้าบาติกอารยธรรมจากอินโดนีเซีย สู่งานหัตถศิลป์ล้ำค่าของไทย

ออกแบบโดย ร้านสมายเวย์ สุราษฎร์ธานี ตัดเย็บโดย ร้านห้องทำชุด By FRONG

กาญจนบุรี (ชุด กัญชาจนบุรี)


กาญจนบุรีได้เป็นพื้นที่นำร่อง สนับสนุน  บุกเบิก ในการปลูกและส่งเสริมกัญชาเป็นเศรษฐกิจใหม่  ซึ่งทำรายได้ให้กับกลุ่มชุมชน และ ได้ถูกปลดล๊อคออกจากกลุ่มพืชยาเสพติดในขณะนี้แล้วนั้น จึงหยิบยกเอากัญชา มาสื่อผ่านในรูปแบบของชุดประจำจังหวัดและชุดก็ทำจากผ้าใยกันชา ที่เอาเส้นใยของต้นกัญชามาทักทอเป็นผ้าผืน  แล้วบอกกล่าวเรื่องราวเล่าถึงประโยชน์ของกัญชา ที่นำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคทางการแพทย์

ออกแบบและตัดเย็บโดย  คัมภีร์  อลังการ

กาฬสินธ์ุ (ชุด มะม่วงมหาชนก)

มะม่วงมหาชนกเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์โดยบังเอิญตั้งชื่อว่า “มหาชนก” หรือ “ราชาทรงโปรด”เพื่อเฉลิมฉลองแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แหล่งเพาะปลูกมะม่วงมหาชนกอยู่ที่ อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธ์ุ  ผลมีขนาดใหญ่ รูปทรงยาว เปลือกหนา รสชาติอร่อย ผลสุกผิวสีเหลืองทองจนถึงสีแดง  ตัวชุดใช้ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ผสมผสานแฟชั่นในยุคปัจจุบันเพิ่มความระยิบระยับวิบวับแวววาวนำเสนอผ่านชุดข้าวเหนียวมะม่วงไทยแลนด์

ออกแบบโดย นายสถาพร เฉียบแหลม  ตัดเย็บโดย star bung Boutique (สตาร์บังบูทิค)

กำแพงเพชร (ชุด มัสยาชากังราว วารีชาติรังสรรค์)


แรงบันดาลใจมาจาก ปลาตะพาก ที่ถูกจัดให้เป็นปลาประจำจังหวัดกำแพงเพชร เพราะมีเผ่าพันธุ์อยู่ในท้องถิ่นเป็นเวลาช้านาน เป็นปลาเศรษฐกิจของจังหวัดกำแพงเพชร จึงเหมาะแก่การอนุรักษ์ จึงนำเสนอในรูปแบบชุดประจำจังหวัด ในสไตล์ไทยแฟนซีอาร์ต ร่วมสมัยแต่ยังคง กลิ่นอายความเป็นไทยที่ล้ำสมัยด้านดีไซน์ ให้รู้ว่าเมืองไทยมีดีไม่แพ้ชาติใดในโลก

ออกแบบโดย AK design by อลงกรณ์

ขอนแก่น (ชุด : ราชพฤกษ์ภูษา มหาสงกรานต์แก่นนคร)


ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูณ 1ใน3 สัญลักษณ์ของประเทศไทย และอีกทั้งยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น จะออกดอกชูช่อสง่างามในยามหน้าร้อน ชุดถูกห่อหุ่มด้วยเอกลักษณ์ด้วยดอกราชพฤกษ์ เพิ่มความม่วนซื่นโฮแซวไปกับเสียงแคน แต่งเเต้มสีสันคู่กับประเพณีอันน่าหลงใหล งานประเพณีสงกรานต์ขอนแก่น เทศกาลดอกคูณ เสียงแคน ดั่งคำขวัญที่ว่า “ห่มดอกคูณอาบเสียงแคนสวมตำนาน บุญสงกรานต์งานไหลใจกลางเมือง”

ออกแบบตัดเย็บโดย : อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี

จันทบุรี (ชุด จันทบูร POWER OF WOMAN (จัน-ทะ-บูน-พาว-เวอร์-ออฟ-วู-แมน))


เสื่อจันทบูร เป็นของดีขึ้นชื่อประจำจังหวัด ทำมาจากต้นกกที่มีลักษณะพิเศษที่ขึ้นอยู่บริเวณน้ำกร่อย มีคุณสมบัติพิเศษคือ เส้นใยที่เหนียวแน่น แข็งแรง แต่ยังคงซ่อนไว้ซึ่งความสวยงาม ตัวชุดออกแบบและตัดเย็บด้วยเสื่อกกรูปทรงร่วมสมัย  สื่อถึงความสง่างามเข้มแข็งท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ชุด “จันทบูร POWER OF WOMEN” จึงเป็นการนำเสนอถึงพลัง และคุณค่าจากความงดงาม แข็งแกร่ง ของเพศสตรี ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

ออกแบบโดย คุณวัชรชัย ใจมีพร ห้องเครื่องพัสตราภรณ์มหาสารคาม (พัด-ตรา-พอน-มะ-หา-สา-ระ-คาม)

ฉะเชิงเทรา (ชุด ท้าวเวสสุวรรณ  วัดจุกเฌอ)


เสียงเลื่องลืออย่างหนาหู  ทั้งพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัตถุมงคล รวมไปถึงองค์ท้าวเวสสุวรรณที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้วัดจุกเฌอเป็นวัดที่มีผู้คนนิยมมากราบไหว้ขอพร ซึ่งจุดเด่นของวัดคือ ท้าวเวสสุวรรณ 2 องค์ องค์ทางด้านซ้ายมีนามว่า “ท่านท้าวรุ่งเรือง” มีลักษณะเด่นคือมีกายสีม่วง และองค์ทางด้านขวามีนามว่า “ท่านท้าวร่ำรวย” มีลักษณะเด่นคือมีกายสีแดง สถานที่แห่งนี้จึงเป็นอีกสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ออกแบบโดย   NET Design  โดยคุณกัลย์ปภัทร กุนศิลา (กัน-ปะ-พัด  กุน-สิ-ลา)

ชลบุรี (ชุด: ข้าวหลามพิลาสลักษณ์)


“ข้าวหลาม” ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ช่วยหนุนเสริมเศรษฐกิจชุมชนชาวหนองมน เมื่อหมดฤดูการทำนาก็จะทำข้าวหลามเป็นของหวานทานเล่น จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อของชาวชลบุรีชุดมีความร่วมสมัย โดยใช้สีขาวที่สื่อถึงเมล็ดข้าวเหนียวที่สมบูรณ์ ตกแต่งด้วย คริสตัลหลากสีที่สื่อถึงธัญพืชที่ผสมใส่ในข้าวหลาม เพิ่มเติมด้วยลวดลายสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นเมืองชลบุรีได้อย่างลงตัว

ออกแบบโดย : นายชิษณุพงศ์ กอบัวแก้ว
ตัดเย็บโดย : ห้องเสื้อCatwalkdesign Ayutthaya

ชัยนาท (ชุด จากรังไหมสู่ไทยโมเดิร์น)

อัตลักษณ์การทอผ้าแห่งชาติพันธุ์ลาวเวียง บ้านเนินขาม  จากหัวใจผ่านเส้นใย ด้วยความประณีต จนได้เอกลักษณ์ผ้าทอ ลายช่อใบมะขามเพียงหนึ่งเดียว สืบทอดจนถึงปัจจุบัน ชุดเป็นการนำเสนอรังไหมในลักษณะแฟชั่น ผ่านกระบวนการ ถักทอเป็นเส้นใย จนได้ผ้าไหมผืนงาม ด้านในของชุดเผยให้เห็นถึงงานหัตถศิลป์ทอมือ ลายโบราณผสมผสานความเป็นไทย สไตล์โมเดิร์น งานหัตศิลป์ที่มีคุณค่ามากกว่าความสวยงาม

ออกแบบโดย นิคคิม ฮาร์ฟ
ตัดเย็บโดย นายเกียรติศักดิ์ คงสระ

ชัยภูมิ (ชุด หม่ำชัยภูมิ)

จากตำนานพรานป่าที่ออกล่าสัตว์เป็นระยะเวลานาน จึงนำเนื้อที่ล่าได้มาถนอมอาหารโดยการสับให้ละเอียด คลุกเคล้าให้เข้ากับข้าวเหนียวและเกลือ แล้วนำไปใส่ในกระเพาะสัตว์ เพื่อที่จะนำไปฝากลูกเมียด้วยความคิดถึง พัฒนามาเป็นหม่ำชัยภูมิอันลือลั่น รสชาติเปรี้ยวนิด กลิ่นหอมหวนกินกับข้าวเหนียวพร้อมพริกลูกโดด แซบจี๊ดถูกปากคนทั่วทั้งแผ่นดิน

ชุดออกแบบ อลงกรณ์ กองอิน

ชุมพร (ชุด  เทพธิดาอุทุมพร)


แรงบันดาลใจมาจาก   “เทวดาประทานพร” ตราประจำจังหวัดชุมพร และต้นอุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด รังสรรค์ชุดให้มีกลิ่นอายความเป็นหัวเมืองใต้ด้วยเทริดมโนราห์ ลวดลายของผ้าบาติก เสริมลวดลายด้วยนกนางแอ่น ดอกกาแฟ อย่างลงตัว รวมถึงพัสตราภรณ์สีทองที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดชุมพรผ่านชุด”เทพธิดาอุทุมพร”

ออกแบบตัดเย็บโดย : ห้องเสื้อวาคิวรี่ ดีไซน์ By เกียรติศักดิ์ คงสระ

เชียงราย (ชุด พญากาเผือก)


“พญากาเผือก” หรือ “ท้าวฆติกามหาพรหม” ที่เปรียบเสมือน ต้นโลก ต้นธาตุ ต้นธรรม ก่อเกิดเป็น ตำนานพญากาเผือก มารดาแห่งพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ผู้นำแสงสว่างแห่งอริยธรรมมาโปรดชาวโลก เป็นเรื่องเล่าขานของชาวล้านนาเวียงกาหลง หรือ อำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ที่เป็น”เมืองแห่งธรรม-แดนพุทธภูมิ-ถิ่นกาขาว-ชาวศรีวิไล”

ออกแบบตัดเย็บโดย.. คน สร้าง ศิลป์ by อนุชา แพงมา
ห้องเสื้อบ้านทรายทอง by พงศกร สถิตยารักษ์

เชียงใหม่ (ชุด เหมยขาบอินทนนท์ สูงสุดแดนสยาม)


นำเสนอความความสวยงามบนยอดดอยอินทนนท์ ผ่านผลึกน้ำค้างแข็งที่ส่องประกายแสงในยามเช้า ของฤดูหนาวเรียกว่า”เหมยขาบ”  และความหลากหลายของชนชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ตัดเย็บแบบแฟชั่นชั้นสูงให้เห็นถึงสัดส่วนที่สวยงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของนางงามมิสแกรนด์ สู่เวทีอันดับ1ของประเทศไทย เหมยขาบอินทนนท์

ออกแบบและตัดเย็บ : GL garlatedesign

ตรัง (ชุด กัลยาณีศรีกันตัง)


แรงบันดาลใจมาจากทะเลตรัง ที่มีความสวยงามหาดทรายสีขาวสะดุดตาดุจไข่มุกอันดามัน ตัวชุดประดับด้วยไข่มุกมาเรียงร้อยเป็นลวดลาย สลับกับพลอยสีเขียวที่แสดงถึงความสวยงามของเกาะมุกถ้ำมรกต จุดท่องเที่ยวที่เรียกรายได้ต่อปีให้จังหวัดและประเทศ อีกทั้งเป็นอันซีนไทยแลนด์ และสะท้อนความอ่อนหวานสง่างามผ่านชุดนี้ ซึ่งผู้ออกแบบรังสรรค์หล่อหลอมแนวความคิดจนเกิดชุด กัลยานีศรีกันตัง

ผู้ออกแบบ นายทักษิณ มาลาล้ำ
ผู้ตัดเย็บ เดียว  ออเเกไนท์  โดย สัมฤทธิ์  ตั้นปา

ตราด (ชุด  “KING RUBY ทับทิมแห่งสยาม” (คิง-รู-บี้-ทับ-ทิม-แห่ง-สะ-หยาม)


“พลอยแดงค่าล้ำ”เป็นอัญมณีที่มีความสวยงามล้ำค่า และมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปในนาม ทับทิมสยาม หรือ พลอยแดง ชุดสื่อถึงพลังความแข็งแกร่งและคุณค่าในตัวของสตรี ตัดเย็บและประดับด้วยพลอยแดงหลากหลายขนาด ชายสไบสีแดงตัดเย็บให้มีความร่วมสมัยสื่อถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจและเข้มแข็งแต่ยังคงซ่อนไว้ถึงงดงามและพลิ้วไหว อันเป็นความเพรียบพร้อมและมีคุณค่าภายในตัวของผู้หญิงไทยในยุคสมัยใหม่

ออกแบบโดยคุณวัชรชัย ใจมีพร ห้องเครื่องพัสตราภรณ์มหาสารคาม (พัด-ตรา-พอน-มะ-หา-สา-ระ-คาม)

ตาก (ชุด อิสตรีมิตรภาพ)


จังหวัดตาก คือรอยต่อระหว่างประเทศไทยกับพม่าที่มีแม่น้ำเมยคั้นไว้ ทั้งคู่จึงตกลงกันสร้างสะพานเชื่อมหากันแสดงถึงมิตรภาพ เป็นสะพานมิตรภาพไทย-พม่า จึงนำวัฒธรรมระหว่างไทยกับพม่ามาผสมผสานกัน ในรูปแบบชุดประจำจังหวัดตาก แต่ยังคงกลิ่นไอของความเป็นไทย และเห็นถึงมิตรภาพของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าได้อย่างชัดเจน

ออกแบบโดย อับดุลเลาะห์ ศรีบุญคง
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

นครนายก (ชุด ศิริ นาคินีเทวี นครมณีวงศ์)


แรงบรรดาลใจมาจากวัดมณีวงศ์ ที่ตั้งอยู่ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายก เป็นวัดที่มีความเก่าแก่มากว่า100ปี มีความสวยงามวิจิตรตระการตา จึงนำความสวยงามความโดดเด่นภายในวัดมานำเสนอให้ทุกคนได้เห็น  ด้านหน้าได้จำลองซุ้มประตูทางเข้า ผสมผสานกับความสวยงามของชุดไทยร่วมสมัย คงความโดดเด่นของความเป็นไทยอย่างงดงาม และด้านหลังนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ถ้ำพญานาค ให้ทุกคนได้สัมผัสถึงความงดงามของวัดที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

นครปฐม (ชุด  THE KHAO LAM)


ข้ามหลามหวานมัน ถือเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม มรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ชุดข้าวหลามมีความร่วมสมัยและสากล แต่ยังคงความเป็นไทยประดับด้วยคริสตัลอย่างปราณีต ดุจเมล็ดข้าวที่บรรจุอยู่ภายในกระบอกข้าวหลาม  อัดแน่นไปด้วยความอร่อย หอมหวาน นวลนุ่ม ละมุนลิ้น

ออกแบบโดย นายธีรุตม์ วงษ์โสภณ
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ NewFully Costume และ  NIRA DESIGN
องค์ประกอบด้านหลังโดย AP ประติมากรรม

นครพนม (ชื่อชุดเฮือไฟ)

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ ยึดถือกันมานานแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าการบูชารอบพระพุทธบาท การสักการะท้าวพกาพรหม  การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี และระลึกถึงพระคุณพระแม่คงคา การขอฝนการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า ตัวชุดสีดำหมายถึง ช่วงเวลาค่ำคืน ประดับด้วย คริสตัล เหลืองทองประกายเพชรเป็นตัวแทนดวงไฟ ที่สว่างไสวโดดเด่นเป็นสง่าในยามค่ำคืน

ออกแบบตัดเย็บโดย คุณธีร์ ผาสุก

นครราชสีมา (ชุด ฟีนิกซ์ แห่งแดนอีสาน)


นกกระเรียนไทยได้มีการสูญพันธุ์ไปจากแหล่งธรรมชาติของประเทศ  และในปี พ.ศ.2533 ทางสวนสัตว์นครราชสีมาได้นำมาขยายพันธ์ุแบบธรรมชาติ และผสมเทียมสำเร็จ เพื่อนำปล่อยคืนสู่แหล่งธรรมชาติ จึงคล้ายการกลับมามีชีวิตใหม่ของนกฟีนิกซ์  ตัวชุดนำเสนอในรูปแบบการเชิดหุ่นกระบอก ส่วนเครื่องแต่งกายได้แรงบันดาลใจมาจาก สตรี ผู้นำของโคราช หรือคุณย่าโม ซึ่งไม่มีวันตายหายไปจากชาวโคราช  ซึ่งดั่งเช่นนกฟีนิกซ์แห่งแดนอีสาน

ออกแบบโดย   ธนากร ห้องเสื้อ พันนาดี้ คลอเลคชั่น
ตัดเย็บโดย  ร้านเรือนวิวาห์

นครศรีธรรมราช (ชุดมโนราห์กินรี)


จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลกินรีด้านการท่องเที่ยวและศิลปะวัฒนธรรม จึงได้หยิบยกเอาตัวละครหลักจากเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ผสมผสานกับมรดกภูมิปัญญา ด้านการแสดงของภาคใต้อย่างโนราห์ มาใช้เป็นสื่อแทนการบอกเล่าประชาสัมพันธ์ ชุดสีขาวเงินบริสุทธิ์สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับสมญานามว่า นครสองธรรม เลอค่าล้ำ ธรรมมะ ธรรมชาติ

ออกแบบโดย อับดุลเลาะห์
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกรู

นครสวรรค์ (ชุด นครแห่งสรวงสรรค์)


นครสวรรค์เมืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยจีน ที่สืบทอดความงดงามทางศิลปกรรม ชุดได้แรงบันดาลใจจากวัดศรีอุทุมพร ประดับตกแต่งกระจกอย่างวิจิตรตระการตา กระจกนับ 10,000 ชิ้น และเล่าเรื่องราววัฒนธรรมอันยาวนานผ่านมังกรจีน ซึ่งเป็นสัตว์มงคล ผสมผสานกลมเกรียวกันเหมือน ลูกหลานชาวนครสวรรค์ ที่สืบต่อบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน

ออกแบบและตัดเย็บโดย Sukkho เครื่องประดับไทย สุขโขสตูดิโอเชียงใหม่

นนทบุรี (ชุด สุวรรณหงส์)


จากความงดงามทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถเรือสุพรรณหงส์ภายในวัดชลอ  ถูกนำมาตีความสร้างสรรค์ผ่านชุดประจำจังหวัดนนทบุรี โครงสร้าง รูปร่าง เส้นสาย ตลอดจนรายละเอียดของลวดลายอันอ่อนช้อย มาปรับดัดแปลงจนเป็นชุดสุวรรณหงส์ที่งามสง่า ถ่ายทอดชิ้นงานด้วยรูปแบบชุดที่สร้างความประณีตตามแบบฉบับของงานศิลป์ไทย  จนนำมาซึ่งความงามแบบร่วมสมัย ที่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นไทยแบบดั้งเดิม

ออกแบบโดย อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ STAR IN SIDE

นราธิวาส (ชุด ทักษิณปักษาสกุณาส่งเสียง)


นราธิวาส คือพื้นแผ่นดินที่อุดมด้วยแร่ทองคำ”จึงเป็นที่มาของเส้นลายสายแร่ทองที่ปรากฏอยู่บนชุด เครื่องประดับศรีษะประยุกต์มาจากมงกุฎบานงชุดพื้นเมืองของชาวนรามาลายูและปันจุเหร็จมงกุฎตัดยอดชั้นสูงของไทยเข้าด้วยกันไว้อย่างลงตัว ตัวนกได้แรงบันดาลใจจาก นกกรงหัวจุก เสียงร้องเรียกของมันเป็นการบ่งบอกนัยยะสำคัญว่าถ้าเราสามรถส่งเสียงแสดงออกได้อย่างเสรี  ที่ขับเคลื่อนส่งเสริมเรียกร้องให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นประเทศเสรีในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างสมบูรณ์

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อDEVALOUS  ( เท-วะ-ลุย)

น่าน (ชุด กระซิบรักบันลือโลก)


จากตำนานความรักอันบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว สู่ภาพวาดจิตรพรรมฝาผนังอัทรงคุณค่า ปู่ม่าน ย่าม่าน แห่งวัดภูมินทร์  ชุดนำเสนอถึงความงามของหญิงสาวที่อ่อนหวานแต่งกายแบบไทยลื้อ แสดงท่าทางเชิงกระซิบกระซาบ หยอกเหย้าบอกรักกันจากฝ่ายชาย จึงเป็นผลงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากงานจิตรกรรมเสมือนกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เพิ่มความน่าสนใจและความภาคภูมิใจ ให้คนในจังหวัดน่านได้จดจำตลอดไป  มนต์รักเมืองนาน กระซิบรักบรรลือโลก

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

บึงกาฬ (ชุด บุษบาวัลลี ศิริศรีบึงกาฬ)


ดอกสิริธรวัลลี เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ  นิยมนำมาเป็นเครื่องเรือน เครื่องดนตรี  จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจ โดยหยิบยกความโดดเด่นของสีดอกไม้มาทำเป็นตัวชุด ตัดด้วยสีทองเหลืองอร่ามเพื่อดึงให้โดดเด่นมากขึ้น ทำให้ผู้สวมใส่มีความโดดเด่นและสง่างามบนเวที และยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของดอกไม้ประจำหวัด

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

บุรีรัมย์ (ชุด : “มนต์ตรา อารยธรรมวนัมรุง” (มน-ตรา-อา-ระ-ยะ-ทำ-วะ-นำ-รุง))

ปราสาทหินพนมรุ้ง เทวสถานโบราณ สถาปัตยกรรมหินอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งผงาดโดดเด่นเฉิดฉายกลางขุนเขา  คือร่องรอยแห่งอารยธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา จากอดีตจวบจนปัจจุบัน ชุดสื่อถึงความยิ่งใหญ่งดงามของปราสาทหินพนมรุ้ง และดอกฝ้ายคำหรือดอกสุพรรณิการณ์ ดอกไม้ที่เบ่งบานสะพรั่งยามเมื่อต้องแสงแห่งสุริยทิตย์ ถูกถ่ายทอดและนำเสนอเป็นชุด “มนต์ตรา อารยธรรมวนัมรุ้ง”

ออกแบบโดยคุณวัชรชัย ใจมีพร ห้องเครื่องพัสตราภรณ์มหาสารคาม (พัด-ตรา-พอน-มะ-หา-สา-ระ-คาม)

ปทุมธานี (ชุด thai silkjar ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ)


หยิบหยกเครื่องปันดินเผาเอกลักษณ์ของชาวปทุมธานี  ใช้ชื่อว่า thai silkjar ไว้สำหรับจำหน่ายในต่างประเทศ  ส่วนภายในเรายังนำบึงบัว ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยว และดอกไม้ประจำจังหวัดมาผสมผสาน ให้มีลูกเล่นในส่วนประกอบของชุด นางงามเปรียบเสมือนน้ำ ที่มาพร้อมกับดอกบัว มีความสวยงามอ่อนหวานดึงดูดให้ใครที่เห็นก็ต้องหันมองในความสวยงามตระกาลตา จึงเป็นชุดที่บ่งบอกถึงความเป็นจังหวัดปทุมธานีและยังคงกลิ่นไอของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

ประจวบคีรีขันธ์ (ชุด thai silkjar ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ)

หยิบหยกเครื่องปันดินเผาเอกลักษณ์ของชาวปทุมธานี  ใช้ชื่อว่า thai silkjar ไว้สำหรับจำหน่ายในต่างประเทศ  ส่วนภายในเรายังนำบึงบัว ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยว และดอกไม้ประจำจังหวัดมาผสมผสาน ให้มีลูกเล่นในส่วนประกอบของชุด นางงามเปรียบเสมือนน้ำ ที่มาพร้อมกับดอกบัว มีความสวยงามอ่อนหวานดึงดูดให้ใครที่เห็นก็ต้องหันมองในความสวยงามตระกาลตา จึงเป็นชุดที่บ่งบอกถึงความเป็นจังหวัดปทุมธานีและยังคงกลิ่นไอของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

ปราจีนบุรี (ชุด เทวสถิตย์)


ตามตำนานเล่าขาน ทุกผืนป่าล้วนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ค่อยปกปักรักษา  เทวสถิตย์ เทพยดาที่ค่อยปกปักรักษาป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี  แต่งกายตามวัฒนธรรมทวารวดีเครื่องประดับศิราภรณ์ตกแต่งด้วยข้าวตอก เปรียบเสมือนดอกมณฑารพซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอม เป็นสิ่งมงคลที่ใช้ในการทำพิธีมงคล

ออกแบบ​และตัดเย็บโดย​ KRAMPHON x THICHA_artist (ครามพล เอ็กซ์ ทิชา อาร์ตติส )

ปัตตานี (ชื่อชุด อัฐรถิตานี (อัด-ทะ-ระ-ทิ-ตา-นี))


แรงบันดาลใจจากวัดช้างให้ราษฎร์บูรณารามจังหวัดปัตตานี ภายในวัดมีวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป มณฑป อุโบสถ ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง สถูปองค์กลางมีการบรรจุอัฐิของหลวงปู่ทวด ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพัทธสีมาที่ชาวบ้านเรียกว่า “เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” โดยได้นำรูปแบบของสถูปที่ประดิษฐานอัฐิของหลวงปู่ทวด มาประดิษฐ์เป็นศิราภรย์ส่วมใส่บนศรีษะ อีกทั้งยังหยิบเอาดอกไม้ประจำคือดอกชบา เข้ามาผสมผสานในชุดนี้ด้วย

ออกแบบและตัดเย็บโดย
นายกัลย์ปภัทร กุนศิลา ห้องเสื้อNETDESIGN

พระนครศรีอยุธยา ชุด : อัปสรสุวรรณเทวี ศรีเทพไอยรา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง ดุจสวรรค์วิมานมาตั้งแต่โบราณ ชุดได้แรงบันดาลใจจากนางฟ้านางสวรรต์ที่สถิตอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ ทำหน้าที่เฝ้าทรัพย์สมบัติของชาติ โดยหนึ่งในสมบัติล้ำค่า ที่ขุดค้นได้จากพระปรางค์วัดราชบูรณะ คือช้างหมอบทรงเครื่อง จึง ได้หยิบยกเครื่องทรงช้างมาประยุคต์ ให้มีความทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ตัวชุดสีทองบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง ของดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อครั้งบรรพกาล

ออกแบบโดย : อับดุลเลาะห์  ศรีบุญคง
ตัดเย็บโดย : ร้านไอยรา กรุงเทพ

พะเยา (ชุด สารภีบุษบา นารีศรีภูกามยาว)


แรงบันดาลใจมาจาก ดอกสารภี เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลแด่จังหวัดพะเยา  สารภีจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกในบ้าน เพื่อความสิริมงคล คนไทยโบราญเชื่อกันว่า สามารถป้องกันสิ่งอัปมงคล ไม่ให้เข้ามาในบ้านได้ ทั้งยังสามารถส่งผลให้คนในบ้านมีอายุยืนยาว เหมือนดั่งต้นสารภีอีกด้วย

ออกแบบตัดเย็บโดยคน สร้าง ศิลป์ by อนุชา แพงมา
ห้องเสื้อบ้านทรายทอง by พงศกร สถิตยารักษ์

พังงา (ชุด สารภีบุษบา นารีศรีภูกามยาว)


แรงบันดาลใจมาจาก ดอกสารภี เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลแด่จังหวัดพะเยา  สารภีจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกในบ้าน เพื่อความสิริมงคล คนไทยโบราญเชื่อกันว่า สามารถป้องกันสิ่งอัปมงคล ไม่ให้เข้ามาในบ้านได้ ทั้งยังสามารถส่งผลให้คนในบ้านมีอายุยืนยาว เหมือนดั่งต้นสารภีอีกด้วย

ออกแบบตัดเย็บโดยคน สร้าง ศิลป์ by อนุชา แพงมา
ห้องเสื้อบ้านทรายทอง by พงศกร สถิตยารักษ์

พัทลุง (ชุด ศาสตร์ศิลป์ แดนดินด้ามขวาน)  


หนังลุง โนราห์ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โนราห์ ศิลปะการร่ายรำตามแบบฉบับของชาวปักษ์ใต้ มีการขับร้องประกอบดนตรี อันได้แก่กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตระ ซึ่งเป็นต้นฉบับในการเล่นละครชาตรีมาแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตน์โกสินทร์ ทั้งสองอย่างนี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความศรัทธา ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของคนปักษ์ใต้

ออกแบบโดย อับดุลเลาะห์ ศรีบุญคง ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

พิจิตร (ชุด​ เอกกัลยาชายาชาละวัน)


ตำนานชาละวันจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร  จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง “ไกรทอง” และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า “พญาชาลวัน”  พญาชาลวัน มีนางวิมาลาและนางเลื่อมลายวรรณ เป็นนางจระเข้โฉมงามสองศรีเป็นภรรยา ชุดนี้จึงได้รังสรรค์ขึ้นมาเป็นนางจระเข้แปลงเป็นมนุษย์ที่งดงาม ไกรทองร่ายมนต์เพื่อให้นางขึ้นมาใช้ชีวิตบนบกได้  โดยสไบและผ้าถุงมีลักษณะมีเกล็ดสีทองคล้ายเกล็ดจรเข้ โดยทรงเครื่องไทย อย่างสวยงามลงตัว

ออกแบบตัดเย็บโดย ห้องเสื้อหงษาวดี เชียงใหม่

พิษณุโลก (ชุด The Grand’s Warrior)


จากภาพสัญลักษณ์ประจำเทศบาลนครพิษณุโลก ที่ปรากฏรูปกษัตริย์ทรงช้างศึก มาถ่ายทอดผ่านชุดให้ประดุจราวกับ “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี” ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวร  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ สง่างาม รวมถึงมีการนำเทคนิกของการเชิดหุ่นเข้ามาผสมผสาน  ให้ช้างสามารถเคลื่อนไหวได้ ประดุจปลุกช้างให้มีชีวิต ช้างศึกตัวนี้ พร้อมกลับมาประกาศชัย และอิสระภาพอันยิ่งใหญ่ของจังหวัดพิษณุโลก ถิ่นกำเนิดพระนเรศวรสืบไป

ออกแบบโดย อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ Star in side

เพชรบุรี (ชุด ไหม ซิ่น ลาย ไทยทรงดำ)


ไทดำ หรือ ไทยทรงดำ ถิ่นฐานเดิมอยู่ในดินแดนแคว้นสิบสองจุไท ทางเหนือของเวียดนาม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรี สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ตัวชุดใช้ผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ เสื้อก้อม ตัดเย็บเข้ารูปติดกระดุมเงินเป็นเลขขี่ ยิ่งติดจำนวนมากยิ่งบ่งบอกถึงความร่ำรวย  ซิ่น มีลักษณะการนุ่งชายหน้าสูง ส่วนชายหลังต่ำ ช่วงเอวโอบกระชับ และสวมใส่เครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ผมทำทรงปั้นเกล้าต่วง เป็นทรงผมของสาวช่วงอายุ 20 ปี และจะใช้ทรงนี้ไปตลอดชีวิต

ออกแบบตัดเย็บโดย : ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย จ.เพชรบุรี

เพชรบูรณ์ (ชุด แมงยุ้มวะ)


แรงบันดาลใจมาจากแมงกะพรุนน้ำจืดสายพันธุ์น้ำไหล สายพันธุ์เดียวในประเทศไทย ที่พบเจอได้เฉพาะที่จ.เพชรบูรณ์ เป็นแมงกะพรุนน้ำจืดอันดับที่ 6 ของโลก มีลักษณะการเคลื่อนไหวหุบเข้าและกางออก คล้ายการ “ขยุ้ม”  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นจึงเรียกขานกันว่า “แมงยุ้มวะ“  สามารถพบเห็นได้ที่แก่งบางระจัน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

ออกแบบโดย : สุทธิศร อินสม
ตัดเย็บโดย : ร้าน ห้องทำชุด By FRONG

แพร่ (ชุด หัตถกรรมแกะสลักไม้สักทอง  Queen of Timebers (ควีนส์ – ออฟ -ทิมเบอร์ส))


ไม้สักทอง ราชินีแห่งไม้ เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลก ที่ธรรมชาติมอบให้แก่ประเทศไทย ถูกนำมาสร้างสรรค์ผ่านงานศิลป์ของแผ่นดิน ด้วยงานหัตถกรรมแกะสลักไม้สักทองของช่างชาวล้านนา จังหวัดแพร่ ตัวชุดถุกตัดเย็บด้วยผ้าหม้อห้อม เครื่องประดับแกะสลักด้วยไม้ บอกเล่าเรื่องราวผ่านป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นชุดที่มีมนต์เสน่ห์และแผงไปด้วยความอบอุ่นของศิลปวัฒนธรรมไทย

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

ภูเก็ต (ชุด Fashion Show of The Andaman)


ภูเก็ต  เมืองแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของท้องทะเลไทย  ทั้งแนวประการัง หลากหลายสีสัน งดงามติดอันดับโลก ถูกครีเอทผ่านชุด Fantasy swimming เพื่อโชว์ความงามทางสรีระแก่ผู้สวมใส่ present by  Fashion on  Runway ของโลกใต้ท้องทะเล  ดีเทลชุด เน้นงานปักแบบ gradation ตามเฉดสีของประการัง  เพิ่มความหรูหรา แบบ modern ใส่ความอลังกาลด้วยผ้าตีวงครีบปลาแผ่ขยาย เสมือนกำลังแหวกว่ายในท้องทะเล ตกแต่งด้วยเพชร สลับกับไข่มุกอัญมณีอันมีค่าจากอันดามัน

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัช เนรมิตศิลป์

มหาสารคาม (ชุด นางไหผู้ดี ศรีสารคาม)


การแสดงวงโปงลางของแต่ละวง สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “นางไห” นางไหจะดึงดูดความน่าสนใจในทุกๆครั้งที่เริ่มทำการแสดงของวงโปงลาง ที่เรียกกันว่าโชว์วงหรือเปิดวง  ตัวชุดใช้ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากและ ผ้าขาวม้า ซึ่งเป็นผ้าพื้นเมืองประจำจังหวัดมหาสารคาม ผสมผสานแฟชั่นในยุคปัจจุบัน  ตกแต่งด้วยดอกลีลาวดีซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคามเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้ชุด

ออกแบบโดย  นายสถาพร เฉียบแหลม
ตัดเย็บโดย  star bung บูทิค (สตาร์บังบูทิค)

มุกดาหาร (ชุด Iconic of Mukdahan)


หอแก้วมุกดาหาร เป็นหนึ่งในสัญลักณ์ของจังหวัดมุกดาหาร ด้วยโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบชุดในรูปแบบแฟชั่นสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับความเป็นไทย-อีสานอันอ่อนช้อย สร้างเป็นเสื้อผ้าที่มีความวิจิตรบรรจง และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของความเป็นไทยแบบทันสมัย ตัวชุดมีสีขาวเงินหมอกมัว ตรงกับลักษณะสีของแก้วมุกดาหาร มีการประดับตกแต่งด้วยคริสตัสและกระจกสีขาวใสที่เปล่งประกายวาววับ

ออกแบบโดย  อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี

แม่ฮ่องสอน (ชุด ดอกบัวตองหนึ่งในหล้าบุปผาพนาวัลย์)


ทุ่งดอกบัวตองดอยเเม่อูคอจะบานสะพรั่ง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนด้วยสีเหลืองส้มอร่าม ปกคลุมทั่วท้องทุ่งเต็มเทือกเขาที่มีเเห่งเดียวในประเทศไทย ณ บ้านห้วยสุรินทร์       ต.ยวมน้อย จ.เเม่ฮ่องสอน เต็มเปี่ยมด้วยรอยยิ้มจากสาวน้อยชนเผ่าบนดอยเเม่อูคอที่คอยต้อนรับ ผู้มาเยือนด้วยการเเต่งกายด้วยชุดชนเผ่าที่เป็นเอกลักษณ์อย่างน่าประดับใจ
.
ออกเเบบโดย : อลงกรณ์ กองอิน
ตัดเย็บโดย : ห้องเสื้อ นัมเบอร์วัน by ภรพิฆเณศ กาญจนบุรี

ยะลา (ชุด นาฏลักษณ์ปักษ์ใต้)


“โนรา” ศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวยะลามาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ผู้รำจะสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวที่ทำด้วยโลหะ โนราสามารถปรับเปลี่ยนตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้เป็นอย่างดี จนได้ประกาศรับรอง ขึ้นทะเบียน “เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งมวลมนุษยชาติ” จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

ออกแบบโดย อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี
ตัดเย็บโดยห้องเสื้อ STAR IN SIDE

ยโสธร (ชุด พุทธบูชามณฑารพ)


ชุมชนลุ่มน้ำชีแห่งบ้านฟ้าหยาด จังหวัดยโสธร จะนำ “ข้าวตอก” มาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทนดอกมณฑารพ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในเทศกาลวันมาฆบูชา ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างช้านาน  ในการร้อยมาลัยข้าวตอกของชาวบ้านฟ้าหยาด ถูกนำมาเรียงร้อยถักทอจนกลายเป็นอาภรณ์ที่สง่างาม อาภรณ์ที่แสดงออกถึงความวิจิตรบรรจง และสื่อถึงการหลอมรวมทางจิตวิญญาณของชาวบ้านฟ้าหยาด ที่สืบสานประเพณีวัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้อยู่สืบไป

ออกแบบโดย อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี

ร้อยเอ็ด (ชุด กล้า กสิกรรม)


รวงข้าว  ส่วนหนึ่งในสัญลักษณ์ของตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด  อาชีพหลักของเกษตรกรในจังหวัด นำเสนอผ่านตัวชุดสีเขียว สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของกสิกรรมในถิ่นนี้  สีทองของเครื่องประดับออกแบบให้เป็นลายที่ผสมผสานให้คล้ายรวงข้าว  สื่อถึงผลผลิตที่ทำรายได้หลักของชาวนาในจังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิของประเทศไทย และอีกนัยยะหนึ่ง ยังสื่อถึง พระแม่โพสพ ซึ่งเป็นเทวีแห่งพืชพรรณธัญญาหาร สวมใส่โดยมิสแกรนด์ร้อยเอ็ดซึ่งเธอมาจากครอบครัวเกษตรกรโดยสายเลือด 100%

ออกแบบและตัดเย็บโดย”ห้องแต่งตัว โชคชัยสี่”

ระนอง (ชุด Pearl Goddess of Thailand  มุกแท้เมืองระนอง อัญมณีแห่งท้องทะเลไทย)

ไข่มุก อัญมณีอันล้ำค่าจากท้องทะเลที่กำเนิดจากสิ่งมีชีวิต และเป็นหนึ่งในรัตนชาติ ตามนิยาย เล่าว่าไข่มุกเกิดจากน้ำค้างที่หยดลงมาจากสวรรค์ในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง  และได้นำแสงอันอ่อนละมุนละไมส่องสว่างไปทั่วท้องทะเล  ชุดเหมาะสมกับสตรีผู้สูงศักดิ์ดุจเทพธิดา ร่ายรำตามจังหวะเสียงเกรียวคลื่นทะเล นำนำไข่มุกแท้จากเมืองระนองมาร้อยเรียงอย่างปราณีต   ความงามดุจเทพปั้นจะสะกดทุกสายตาบนเวทีแห่งนี

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

ระยอง (ชุด  มนตรามหาสมุทร)


ผู้ออกแบบได้นำเอาตอน นางผีเสื้อสมุทรแปลงกายเป็นมนุษย์มาออกแบบ โดยผ่านการเชิดหุ่นกระบอกไทย ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ อันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย นำมาประยุกต์ใช้ในชุดประจำชาติมิสแกรนด์จังหวัดระยอง สื่อถึงนางผีเสื้อสมุทรในร่างยักษ์ ที่ใช้มนตราแปลงร่างเป็นหญิงสาวที่สวยงาม เปรียบเสมือนผู้หญิงที่มีทั้งด้านความแข็งแกร่งเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ แต่ยังคงมีความอ่อนหวานงดงาม ตามแบบฉบับของผู้หญิงไทย

ออกแบบและตัดเย็บโดย: นายอัครวัฒน์ อัครเธียรสิน และนายศรัณยู จันทร์บัว

ราชบุรี (ชุด เทพีโภคทรัพย์)

          
ขุนหญิงกวักทองมา หรือแม่นางกวัก ธิดาปู่เจ้าเขาเขียวตำนาน 8,000 ปี แห่ง บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระแม่ผู้บันดาลโชคลาภแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ  มาออกแบบเป็นชุดประจำชาติสุดสร้างสรรค์แต่ยังคงไว้ซึ้งเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี  นุ่งห่มด้วยผ้าที่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี กวักมือเชื้อเชิญผู้คนทั่วโลกให้เข้ามารู้จักของดีของเมืองราชบุรี เชื่อว่าหากใคร ได้บูชาแม่นางกวักจะมีแต่โชค ทรัพย์สมบัติศฤงคาร พูดจามีแต่คนเชื่อถือ นะจังงัง  นะเมตา

ออกแบบและตัดเย็บโดย กัน ดั้ม ห้องเสื้อ อีแก้วอีคำ เชียงใหม่

ลพบุรี (ชุด HANUMAN THAI BOXING)


มวยลพบุรี  เป็นศาสตร์และศิลป์ในการต่อสู้ที่มีมนต์ขลัง และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ด้วยท่วงท่า ลีลาอันสง่างาม แต่แฝงความดุดัน ความฉลาด และ ทรงพลัง ผู้ออกแบบจึงได้เลือกถ่ายทอด ชุดประจำชาติไทย ผ่าน “นาฏมวยไทย” โดยมี “โขน” เป็นสื่อกลาง ในการเผยแพร่การบูรณาการผสมผสานของศาสตร์และศิลป์ ของวัฒนธรรมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน พร้อมทั้งหยิบยก “หนุมาน” ตัวละครที่มีความเกี่ยวโยงกับ“ท่ามวยลพบุรี” มาเป็นกลยุทธ์ ในการนำเสนอชุดประจำชาติอย่างสร้างสรรค์ต่อสายตาชาวโลก

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

ลำปาง (ชุด สลุงหลวงฮลาง (สะ หลุง หลวง ฮะ ลาง ) เมืองเขลางค์นคร)


สลุง เป็นภาษาพื้นเมืองของชาวล้านนา หมายถึงภาชนะที่ใส่น้ำขนาดใหญ่ ทำด้วยโลหะเงินมีลักษณะเช่นเดียวกับขันน้ำ หลวง แปลว่าใหญ่ ด้านบนขอบสลุงหลวง ได้จารึกภาษาล้านนามีความ สลุงแก่นนี้จาวเมืองลำปาง แป๋งตานไว้ในน้ำอบ น้ำหอม ขมิ้น ส้มป่อย สระสรง องค์พระเจ้าแก้วมรกต ดอนเต้าเวียงละกอน ในวันปี๋ใหม่เมืองเพื่อค้ำจุนพระศาสนา ฮอดติงห้าปันวรรษา ประเพณีสลุงหลวง ยังเป็นประเพณีสำคัญของชาวลำปาง

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ NB PHOENIX จ. นครปฐม

เลย (ชุด Amazing Thailand ปฎิมาเทียนชัยแห่งศรัทธา)


ประเพณีแห่เทียนพรรษาสืบเนื่องจากสมัยโบราณ พระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้นถวาย โดยมักจัดขบวนแห่เทียนกันอย่างยิ่งใหญ่และสนุกสนานจนกลายเป็นประเพณีชาวเลยและชาวไทยทั้งประเทศ ชุดประจำชาติจังหวัดเลย จึงจำลองรถแห่เทียนพรรษาที่แกะสลักเทียนเต็มไปด้วยความวิจิตรสวยงามตระการตาขึ้นสู่สายตาคนไทยทั้งประเทศ

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

ศรีษะเกศ (ชุด ศรีสระเกศเกศา)


ตำนานพระนางศรีสระผม ที่กล่าวขานมาตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ว่าเป็นสตรีที่มีรูปงาม ผมมีกลิ่นหอมยาวสวยงาม  เพื่อเเสดงให้เห็นถึงความงามของพระนางให้สมกับที่ผู้คนกล่าวขาน  จึงได้ถ่ายทอดเรื่องราวลงบนตัวชุด ผ่านลวดลายในปราสาทเเละผสมผสานลวดลายในสถาปัตยกรรมไทย ได้อย่างลงตัว

ออกแบบและตัดเย็บโดย  เดียวออเเกไนซ์  by สัมฤทธิ์  ตั้นปา

สกลนคร (ชุด ปราสาทผึ้ง นารีศรีสกลนคร)


ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลออกพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นประเพณีประจำจังหวัด ชุดและเครื่องประดับที่นางงามสวมใส่เปรียบดั่ง การแกะสลักประดิษฐปราสาทผึ้งจำลอง เพื่อให้เห็นถึงประเพณีอันสวยงามและยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดสกลนคร

ออกแบบและตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

สงขลา (ชุด: Golden Mermaid of Songkhla)


แรงบันดาลใจจาก หาดทรายแก้ว และ ประติมากรรม เงือกทอง ที่เป็นสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา อายุกว่า 50 ปี  ตำนานเล่าว่า มีชายหนุ่มชาวประมง เดินอยู่บริเวณชายหาดพบนางเงือกสาว กำลังใช้หวีทองคำ หวีผมในคืนพระจันทร์เต็มดวง ทำให้นางเงือกตกใจจึงรีบหนีลงทะเลไป โดยลืมหวีทองคำไว้ ชาวประมงเก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอมา จากตำนานนี้จึงได้มีการ สร้างประติมากรรมนางเงือกทองในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวจึงทำให้เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของจังหวัดสงขลา

ออกแบบตัดเย็บโดย: ต่อเติมฝันและร้านเริ่มคาเฟ่

สตูล (ชุด สุวรรณวารี ศรีสโตย)


วังสายทอง น้ำตกหินปูนขนาดใหญ่ ที่มีความสวยงามดั่งต้องมนต์ สายน้ำไหลลดหลั่นผ่านชั้นหินสีเหลืองทองอร่ามกระทบกับแสงอาทิตย์ ราวกับม่านแก้วที่ห่อหุ้มทองคำขนาดใหญ่ไว้ เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยูเนสโก้ประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลก ชุดสีขาวทองบอกเล่าถึงความงดงามของน้ำตก โดยได้หยิบยกเอาเรื่องราวความเชื่อเรื่องพระแม่คงคาผู้ปกปักษ์รักษาสายน้ำ มาผสมผสานเพื่อให้ชุดมีความน่าสนใจ และสอดคล้องกับคำขวัญจังหวัดสตูล “สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์”

ออกแบบโดย นายอับดุลเลาะห์ ศรีบุญคง
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

สมุทรปราการ (ชุด Arawan wonder of the world)


จากตำนานความเชื่อ สู่งานประติมากรรมช้างเอราวัณสามเศียร ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ชุด ตัวโครงชุดถูกนำเสนอผ่านรูปทรงของช้างด้วยเทคนิคการเชื่อมโลหะด้วยมือ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ตกแต่งด้วยผ้าลายไทยโบราณสีทองแดง เสมือนโลหะที่ใช้ในการขึ้นรูปองค์ช้างเอราวัณ เครื่องประดับที่อ่อนช้อยแต่แฝงไปด้วยความแข็งแกร่งของช้าง  ถูกนำมาผสมผสานกันอย่างลงตัวช้างเอราวัณราชาแห่งช้างทั้งปวงพลังแห่งความศรัทธาที่มีต่อคนไทยมาช้านาน

ออกแบบและตัดเย็บโดย อาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์

สมุทรสงคราม (ชุด มนตรามวยสยาม)


กีฬามวยไทย เป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันเป็นศิลปะการต่อสู้ดังเดิมที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น โดยปัจจุบันมวยไทยได้รับการนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก  จังหวัดสมุทรสงครามจึงได้จัดงานมหกรรมมวยไทยนานาชาติที่ค่ายบางกุ้ง อำเภอบางคนที  โครงการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทยที่แสดง การต่อสู้ด้วยศิลปะแม่ไม้มวยไทย ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยจิตเมตตาด้วยคุณค่าของการสักยันต์  ให้เกิดแรงบันดาลใจฮึกเหิมในยามผจญภัย

ออกแบบและตัดเย็บโดย ร้านใหม่แฟนตาซี สุขุมวิท77

สมุทรสาคร (ชุด ศรัทธาสมุทร)


องค์นาคานาคิณีผู้ยิ่งใหญ่  ผู้มอบสายน้ำความร่มเย็นอุดมสมบูรณ์เป็นสุข ผู้พิทักษ์ปกปักรักษาโลกมนุษย์ ชาวไทยเชื่อและนับถือพญานาค เห็นปรากฏได้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ รูปปั้นสลัก งานสถาปัตยกรรมวัดวาอาราม ภาพจิตรกรรม แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญในจังหวัดสมุทรสาคร  ผูกโยงร้อยเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงการแสดงที่เชื่อมโยงความเชื่อพญานาคระหว่างพุทธศาสนาประเพณีและวัฒนธรรม

ออกแบบโดย คุณ ทิวากร แก้ววงษา
ตัดเย็บโดย TOUCHJAI (ทัชใจ)

สระแก้ว (ชุด : ติตฺตาริอัปสรา (ติด-ตา-ริ-อับ-สะ-รา))


ผู้ออกแบบหยิบยกเอาความสวยงามของผีเสื้อปางสีดา มนต์เสน่ห์ของผืนป่าตะวันออกแห่งจังหวัดสระแก้ว มาจินตนาการร่วมกับความงดงามอันอ่อนช้อยของนางอัปสรา ที่ร่ายรำอยู่ในปราสาทสด๊กก๊อกธม ร่องรอยแห่งวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ในอดีต เพื่อสอดประสานสะท้อนภาพให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและความสวยงามทางธรรมชาติของจังหวัดสระแก้วไว้ได้อย่างลงตัว

ออกแบบโดย : อณุวัฒน์ จิตจินดา และ เกียรติศักดิ์ กองสำรี
ตัดเย็บโดย : ห้องเสื้อ STAR IN SIDE

สระบุรี (ชุด สสุรดาราม (อ่านว่าสะสุระดาราม))


แรงบันดาลใจจากวัดวังเตาราง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี  ตัวชุดมีความสวยงามและความโดดเด่นของสีขาวล้วน ที่ปกคลุมไปสถาปัตยกรรมภายนอกด้วยศิลปะปูนปั้นลายไทยที่มีความละเอียด พระวิหารสีขาวที่มีฐานเป็นทรงเรือไทยโบราณ ด้านหัวเรือแกะสลักเป็นรูปทรงสุพรรณหงส์มีความละเอียดอ่อนช้อย ส่วนตัวเรือรองรับพระวิหารไว้ทั้งหลังเชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว สีขาวที่สื่อถึงความบริสุทธิ์สงบสุข และได้นำลวดลายไทยมาปรับประยุกต์ใช้ให้ทันสมัยไว้ด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ UNSEEN ของจังหวัดสระบุรี

ออกแบบและตัดเย็บโดย นายกัลย์ปภัทร กุนศิลา ห้องเสื้อNETDESIGN

สุพรรณบุรี (ชุด สุพรรณิการ์นารี)


แรงบันดาลใจมาจากดอกสุพรรณิการ์ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวชุดตัดเย็บด้วยผ้าสีเหลืองทอง มีความเล่นไฟซึ่งเป็นสีของดอกสุพรรณิการ์ยามต้องแสงอาทิตย์ ต้นสุพรรณิการ์มีอีกชื่อว่าต้นปาริชาติหรือต้นฝ้ายคำ เครื่องศิราภรณ์ที่สวมใส่บนศรีษะจำลองมาจากอนุสรณ์ดอนเจดีย์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญของชาวสุพรรณบุรี ผสมผสานตัวงอบ สัญลักษณ์ของอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพที่เก่าแก่และสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ออกแบบโดย นายธนภูมิ ชูสง
ตัดเย็บโดย นายกัลย์ปภัทร กุนศิลา ห้องเสื้อNETDESIGN

สุรินทร์ (ชุด The Marvelous of sivichai)


ตามความเชื่อหนึ่งที่ว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย จึงได้มีแรงบันดาลใจมาจากเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับของประติมากรรมรูปปั้นหล่อสัมฤทธิ์พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรปัทมปาณี ศิลปะสมัยศรีวิชัยที่ถูกค้นพบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดัดแปลงลดทอนบางส่วน ผสมผสานแนวคิดรวมสมัยให้งดงามยิ่งขึ้น พัสตราภรณ์และศิราภรณ์ประดับด้วยคริสตัลลูกปัดและหินสี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรือง และความศิวิไลซ์ของอาณาจักรศรีวิชัย

ออกแบบและตัดเย็บโดยนายอดิเทพ สิงหกาญจน์

หนองคาย (ชุด นาคะเทวี)


ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงส่วนจังหวัดหนองคาย ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนมหานครบาดาล เชื่อว่าใต้พิภพพื้นดินคือเมืองหลวงพญานาค ซึ่งมีองค์ปฐมกษัตริย์นาคราชและองค์นาคาเทวี ปกปักรักษาประธานความอุดมสมบูรณ์ร่มเย็น ให้กับพี่น้องชาวจังหวัดหนองคาย ตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไปโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน  เมื่อกลับสู่โลกมนุษย์  เหล่าบรรดาพญานาคี  นาคเทวี  พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชา และพ่นบั้งไฟถวาย  ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บั้งไฟพญานาค”

ออกแบบตัดเย็บ โดย ห้องเสื้อขวัญ

หนองบัวลำภู (ชุดเทวานารี ราชินีผ้าไทย)


เทวาผ้าไทย เป็นกลุ่มทอผ้าบ้านนาคำไฮในจังหวัดหนองบัวลำภู ตัวชุดเป็นสีขาวและชมพูซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด สีขาวหมายถึง แผ่นดินธรรมและความบริสุทธิ์ของธรรมมชาติ สีชมพู หมายถึงดอกบัวหลวงที่ ทำให้ผู้สวมใสมีความสง่า มีวามสง่าและโดดเด่น เป็นที่น่าจับตามองและมีความเป็นไทยของผ้าไหมในนามจังหวัดหนองบัวลำภู

ออกแบบโดย นายนะดาห์วรพิพัฒน์กุล
ตัดเย็บโดย ห้องเสื้อพลางกูร

อุดรธานี (ชุด มหาบารมีพระแม่โพสพ)


แรงบันดาลใจจากพระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าวพันธ์ุธัญญาหาร กลิ่นกายหอมดั่งข้าว ผิวพรรณดั่งทอง เชื่อกันว่าเป็นร่างอวตาร ของพระลักษมี เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ พระแม่โพสพ ได้ลงมาโลกมนุษย์ ตามคำสั่งของพระอินทร์ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ ของข้าวปลาอาหารให้แก่มนุษย์ ตาประจำจังหวัด ยังเป็นรูปรวงข้าวสีทองอยู่ในอ่างน้ำ ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ที่แสดงให้เห็นว่าจังหวัดอ่างทอง เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย

ออกแบบตัดเย็บโดย ห้องเสื้อ Present couture

อุทัยธานี (ชุด นางอัปสรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์)


จังหวัดอุทัยธานีมีการจัดประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัดรัตนคีรี อย่างยิ่งใหญ่เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอันงดงามไว้ การออกแบบชุดนางอัปสรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เน้นความแวววาวสีทอง เปรียบดั่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มีความวิจิตรงดงาม และมีการจำลองขบวนเหล่าเทวดานางฟ้ามาเป็นองค์ประกอบของชุด และนำเสนอจุดเด่นของจังหวัดอุทัยธานีในวันตักบาตรเทโว

ชุดออกแบบโดย นายสหรัตน์ พัทธเสมา
ตัดเย็บโดย ร้านเท่ส์แฟนตาซี และ ห้องเสื้อบ้านมูฟโอเวอร์

อุตรดิตถ์ (ชุด: อากิร่า สาว)


แรงบันดาลใจมาจากมอเตอร์ไซด์ ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการบรรทุกผลไม้ ที่มีชื่อเสียงของเมืองลับแล  เนื่องจากพื้นที่ในอำเภอลับแล เป็นภูเขาสูงชันล้อมรอบ ต้องใช้มอเตอร์ไซด์ที่มีแรงสูงๆ เป็นยานพาหนะในการขนผลไม้ลงจากเขาได้อย่างน่าหวาดเสียว ไม่ว่าจะเป็น ลางสาด ลองกอง ทุเรียนหลงลับแล และทุเรียนหลินลับแล ผู้ออกแบบได้หยิบใช้ผ้าถุงพื้นเมืองลับแลนำมาประยุกต์เป็นตัวเสื้อและกางเกง เลือกสีและดัดแปลงให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

ออกแบบ โดย: ถิรยุทธ์ แก้วมา
ตัดเย็บ โดย: ร้านเฮย่าแดนซ์ พิษณุโลก

อุบลราชธานี (ชุด อัญญาศรี ราชธานีแห่งเทียน)


ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดอุบลราชธานีมาอย่างยาวนาน การทำเทียนพรรษาเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ต้องอาศัยการร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์ขึ้นมา ผู้ออกแบบจึงได้นำมาเป็นแรงบันดาลใจ ถ่ายทอดผ่าน “อัญญาศรี” สตรีผู้สูงศักดิ์  ถวายเทียนพรรษาพร้อมดอกบัว เพื่อเป็นพุทธบูชา  เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและศิลปะแห่งความงาม อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีของชาวจังหวัดอุบลราชธานี

ออกแบบและตัดเย็บโดย :นายอรรถวิโรจน์ ทองทิพย์ ห้องเสื้อ ATTAWITT (อัด-ทะ-วิด) จังหวัดอุบลราชธานี

อำนาจเจริญ (ชุด : สันหลังของชาติ)

ชาวนา ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เราจึงหยิบยกชาวนามาทำเป็นชุดนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนปัญหา ” ม็อบชาวนา ” และจากใจลูกชาวนาอยากพูดเพียงแค่ว่า “อย่าลืมคำสัญญา ชาวนารออยู่ ”

ข้าคือลูกชาวนา ทั้งวิญญาข้าติดดิน
ปลูกข้าวให้คนกิน  แต่รากเร้ามาเนานาน
ปู่ย่าจนแม่พ่อ  บ่เคยท้อทุกข์ทนทาน
ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน

ออกแบบและตัดเย็บโดย : ห้องเสื้อ NB PHOENIXจังหวัด นครปฐม
และ ห้องเสื้อ บ้านไก่เจี๊ยบ จ. สุรินทร์

Praew Recommend

keyboard_arrow_up