รู้จัก Joan of Arc ผู้นำกองทัพหญิงฝรั่งเศส คาแร็คเตอร์เชิญธง Olympic Flag

รู้จัก Joan of Arc ผู้นำกองทัพหญิงฝรั่งเศส คาแร็คเตอร์เชิญธง Olympic Flag

Alternative Textaccount_circle

เมื่อคาแร็คเตอร์หุ้มเกราะเชิญธง Olympic Flag ในพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2024 กลายเป็นซีนประทับใจ มารู้จัก Joan of Arc กันดีกว่า

สมกับที่รอคอยมาถึง 4 ปีกับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ขึ้นชื่อเรื่องการให้คุณค่าของศิลปะ อารยะธรรม สถาปัตยกรรม และแฟชั่น ฉะนั้นจึงจัดเต็มพิธีเปิดอย่างอลังการ ขนเรื่องราวสำคัญมาเล่าสู่กันฟังอย่างซีนประดับธง Olympic Flag ที่หลายคนประทับใจกับการควบม้าในน้ำของอัศวินชุดเกราะ อันได้รับแรงบันดาลใจจาก Joan of Arc ผู้นำกองทัพหญิงของฝรั่งเศส ซึ่งชุดในครั้งนี้รังสรรค์โดย JEANNE FRIOT

ใครคือ Joan of Arc ?

โจนออฟอาร์ก เกิดในครอบครัวชาวนา ณ หมู่บ้านโดมเรมี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1412 ซึ่งเธอเติบโตมาในช่วงสงครามระหว่างอังกฤษที่มีชื่อว่า ‘สงครามร้อยปี’ ในอายุ 16 ปี นักบุญโจนออฟอาร์กอ้างว่าเธอได้รับเสียงสวรรค์เพื่อช่วยมกุฎราชกุมารชาลล์ขึ้นครองราชย์ เมื่อเป็นดังนั้นเธอจึงเดินทางจากบ้านเกิดไปยังวูคูเลอร์เพื่อขอเข้าร่วมรบกับฐานทัพที่ภักดีต่อชาลส์ แต่กลับถูกปฏิเสธ

จากนั้นในเดือนมกราคม ปี 1429 เธอเดินทางกลับไปอีกครั้งจนได้รับการยอมรับจากเหล่าทหารให้ร่วมเดินทางไปเข้าเฝ้าชาลส์ที่ชีนง และในที่สุดเธอก็ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกองทัพ ซึ่งสนามแรกที่ออร์เลอองส์เธอนำทัพฝรั่งเศสชนะอย่างต่อเนื่องจนทำให้ชาลส์สามารถประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสตามราชประเพณีได้ที่เมืองแร็งส์

สงครามสุดท้าย

ศึกสุดท้ายของเธอเกิดขึ้นระหว่างเบอร์กันดีในเมืองคองเพียญน์ ที่เธอสามารถขับไล่ได้ 2 ครั้ง แต่สุดท้ายเธอกลับถูกฝ่ายเบอร์กันดีจับไว้ได้ และถูกขายตัวให้กับอังกฤษด้วยค่าหัว 10,000 ฟรังส์ แต่กษัตริย์ชาลส์ที่ 7 ก็ไม่ได้พยายามช่วยเหือเพราะเขากำลังพยายามหาข้อตกลงสงบศึกกับฝ่ายเบอร์กันดีอยู่ สุดท้ายเธอถูกกล่าวหาว่ามีความผิดต่อกษัตริย์แลงคาสเตอร์ จึงถูกนำตัวขึ้นศาลศาสนาและโดนกล่าวหาว่าเธอมีประพฤติคนนอกรีตเพราะความเชื่อของเธอไม่สอดคล้องกับแนวทางของศาสนจักรที่ว่าเธอสามารถสื่อสารผ่านนิมิตได้

จุดจบโจนออฟอาร์ก

การไต่สวนผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จนเธอป่วยหนักจึงขอโอกาสในการรับสารภาพ แต่การรับสารภาพรั้งนั้นเธอไม่ยอมรับข้อหาที่ถูกปรักปรำและประกาศไว้ว่า “ต่อให้ทรมานเธอจนตายก็จะไม่ตอบอย่างอื่น ยังยืนยันคำเดิม และหลังจากนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงคำให้การของเธอ นั่นหมายความว่าเธอถูกบิดเบือนโดยใช้กำลังบังคับเธอ” หลังจากนั้นเธอถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตพร้อมสวมเสื้อผ้าอย่างผู้หญิง แต่เธอกลับมาสวมเสื้อผ้าอย่างผู้ชายอีกเพราะอ้างว่าเซนต์แคเธอรีนและเซนต์มากาเร็ตจะมาพบ สุดท้ายศาลตัดสินให้ ‘เผาทั้งเป็น’ ด้วยข้อหานอกรีต

รอดพ้นจากข้อกล่าวหา

หลังจากนั้น 20 ปี กษัตริย์ชาลส์ที่ 7 สั่งรื้อคดีขึ้นมาใหม่และสืบสวนอีกครั้ง จนในที่สุดสันตะปาปาคาลิกส์ตุสที่ 3 สั่งรื้อการพิจารณาคดีตามฎีกาของครอบครัวโจน คณะไต่สวนซึ่งพิจารณาคดีระหว่างปี 1455-1456 ได้มีคำสั่งยกคำตัดสินเดิมในปี 1431 และเมื่อปี 1920 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ได้ประกาศให้เธอเป็นนักบุญแห่งคริสตจักรคาทอลิก


ข้อมูล: silpa-mag.com และ blockdit.com

ภาพ: JEANNE FRIOT

Praew Recommend

keyboard_arrow_up