20 ปี 100 คอนเสิร์ต จังหวะชีวิตของคนเบื้องหลัง “ป๊อป – ศักดิ์สกุล”

account_circle

            “20 ปี 100 คอนเสิร์ต

เป็นทั้งตัวเลขบอกจำนวนงาน ประสบการณ์ และการทำงานของ “ป๊อป – ศักดิ์สกุล แก้วมาตย์” ผู้อำนวยการอาวุโส-ผลิตและสร้างสรรค์งาน Showbiz แบรนด์ครีเอทีฟทีม IDEA FACT ภายใต้หน่วยงาน GMM SHOW ในเครือ GMM GRAMMY ผู้ที่ผูกพันกับงานที่สร้างความสุขให้ผู้ชมมามากมาย ทั้งงานดนตรีระดับประเทศ

และคอนเสิร์ตที่รวมความฟินยิ่งใหญ่อย่าง FANTOPIA, GRAMMY X RS : 90’s Versary Concert , เทศกาลดนตรีนั่งเล่นมิวสิคเฟสติวัล, คอนเสิร์ตไมโคร รียูเนียน, นันทิดา 17, ใหม่ เจริญปุระ The Return of Green Concert, Getsunova Atmosphere, Cocktail The Heartless Live และอีกมากมาย

 ทดลอง – เรียนรู้ – พัฒนา

ย้อนกลับไปเขาเริ่มต้นงานในวงการบันเทิงด้วยการฝึกงานในตำแหน่ง AR (Artist Relation) ก่อนจะ ขยับขยายเข้าสู่วงการเพลง เอนเตอร์เทนเมนต์ และก้าวมาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอนเสิร์ตระดับประเทศ

“ตอนเรียนมหาวิทยาลัย (วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง) ผมคิดว่าถ้าเรียนจบจะทำงานที่ราชบุรีหรือเข้าไป ทำงานที่กรุงเทพฯดี ความที่ไม่ได้มีแยกวิชาเอก จึงไม่แน่ใจว่าเราชอบด้านไหนแน่ ระหว่างประชาสัมพันธ์ วิทยุโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์

“ช่วงเรียนปี 1 จึงไปฝึกงานที่เทศบาลเมืองราชบุรี แผนกประชาสัมพันธ์ พอปี 2 ไปฝึกที่นิตยสาร ทีวีพูล มีโอกาสเขียนคอลัมน์สัมภาษณ์ดารา ปี 3 ไปฝึกที่ Smile TV เพื่อเรียนรู้การทำงานรายการโทรทัศน์ ได้ถือไมค์ สัมภาษณ์ดาราสั้น ๆ บ้าง พอถึงปี 4 คิดต่อว่าจะไปทางไหนดี ประชาสัมพันธ์ก็ลองแล้ว นิตยสาร โทรทัศน์ ก็ฝึกแล้ว ซึ่งตอนนั้นค่ายเพลง Bakery Music ดังมาก เพื่อนบอกว่าเขาโทร.ไปที่บริษัทแล้วพี่บอย โกสิยพงษ์ รับสายเองเลย น่ารักมาก (หัวเราะ) จึงส่งจดหมายไปขอฝึกงานที่นั่นครับ

“ตอนนั้นพี่แก้ว (กรอบแก้ว ปันยารชุน) เป็นหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ ผมก็ได้เข้าฝึกงานในส่วนนั้น ทำไปประมาณครึ่งเดือนก็ขอพี่แก้วว่าอยากเรียนรู้งานส่วนอื่น ๆ บ้าง ซึ่งตอนนั้นค่ายกำลังต้องการ AR (Artist Relation) หรือทีมดูแลศิลปินพอดี จึงได้ลองฝึกตำแหน่งนั้น แล้วพอเรียนจบก็ได้ทำงานต่อเลย ซึ่งถือเป็น จุดเริ่มต้นของการทำงานในวงการครับ

“จากงานเออาร์เริ่มขยับมาทำโปรโมเตอร์อัลบั้มให้ศิลปิน ทำอยู่ประมาณ 5 ปี รุ่นพี่ชวนให้ไปทำงานที่ คลื่นวิทยุของ Atime เริ่มจากคิดกิจกรรมให้ผู้ฟังมาร่วมทำกับคลื่น ทำอยู่ประมาณ 1 ปี พี่ฉอด (สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา) แพลนทำกรีนคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตแรกของเอไทม์ที่มีการขายบัตร เพราะพี่ฉอด มองว่าคอนเสิร์ตสามารถสร้างรายได้เป็นธุรกิจได้ จึงโยกผมจากที่ดูแลกิจกรรมคลื่นให้มาดูแลงานตรงนี้ซึ่งเป็น หน่วยงานใหม่ของบริษัทในชื่อว่า Showbiz

“ตรงนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นการทำคอนเสิร์ตแบบจริงจังของผม จำได้ว่างานแรกคือไมโคร Reunion ปี 2546 วิธีการทำงานจะเริ่มจากรวบรวมไอเดียของทุกคน โดยพี่ฉอดจะคิดภาพรวม ทำสคริปต์ ลิสต์ ชื่อเพลง จากนั้นผมก็นำสิ่งที่พี่ฉอดคิดมาทำให้เป็นรูปเป็นร่าง

“สิ่งที่ยากที่สุดตอนนั้น คือเรื่องคน ทั้งทีมงานและศิลปินเพราะเรายังเด็ก จึงมีความเกรงใจเยอะ ประมาณ ว่าถ้าเสนอไอเดียนี้ไป เขาจะทำไหมนะ หรือบางทีเราอยากได้สิ่งนี้ แต่ศิลปินอยากได้อีกแบบ ซึ่งพอทำงานไป สักพักก็เรียนรู้ว่าต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเข้าหากัน หรือบางครั้งเราก็จำเป็นต้องแข็งบ้าง ตอนนั้นสนุกมาก ครับ เพราะทุกงานมีความแปลกใหม่ แต่พอทำไปได้ประมาณ 10 ปีก็รู้สึกว่าอยากออกไปหาความรู้เพิ่ม จึงตัดสินใจไปนิวยอร์กเพื่อเรียนภาษาและเติมประสบการณ์”

 หัวเรือใหญ่

“หลังกลับจากนิวยอร์ก คุณกรณ์ (กรณ์ ณรงค์เดช) ชวนไปทำงานที่ KPN ซึ่งมีการประกวดร้องเพลง ทำอยู่ประมาณ 1 ปีก็รับคำชวนจากพี่ตี่ (กริช ทอมมัส) ให้มาช่วยดูแลรายการประกวด G-JR ที่แกรมมี่ รวมถึงดูแลค่ายเพลงในตอนนั้นด้วย ก่อนที่แกรมมี่จะมีการปรับโครงสร้างภายใน ผมรู้สึกว่าการทำค่ายเพลง ไม่เหมาะกับตัวเอง จึงตัดสินใจกลับมาทำที่แผนก Showbiz อีกครั้ง ในส่วนของทีม IDEA FACT ที่ดูแลการ ทำคอนเสิร์ตกับเทศกาลดนตรีเป็นหลัก และทำต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ (ยิ้ม)

“ซึ่งการกลับมาทำงานตรงนี้ผมต้องคิดและดูแลทุกอย่างมาตั้งแต่ต้น ทำให้สนุกและอินกับงานมาก ๆ (ยิ้ม) ซึ่งต่างจากช่วงแรกที่พี่ฉอดจะคิดไอเดีย แล้วผมนำมาขยายความ ลงดีเทล แต่ครั้งนี้ผมคิดคอนเซ็ปต์ ทุกอย่างตั้งแต่เริ่ม โดยงานที่ได้รับจะมีความหลากหลายตามวาระ ทั้งคอนเสิร์ตเดี่ยว ธีมคอนเสิร์ต (รวม หลายศิลปิน) จนถึงพวกเทศกาลดนตรี เฟสติวัลต่าง ๆ ว่าต้องมีโซโล่คอนเสิร์ตนะ เช่น เป๊ก – ผลิตโชค แต่ถ้าบางปีไม่มีแพลนทำคอนเสิร์ตเดี่ยวของศิลปิน ก็ต้องคิดเป็นธีมคอนเสิร์ตหรือจัดเฟสติวัล ซึ่ง ไอเดียเริ่มต้นมาจากว่าถ้าเราเป็นคนดูจะอยากดูงาน แบบไหน อย่างเฟสติวัลที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุก ปลายปี ‘นั่งเล่นมิวสิคเฟสติวัล’ มาจากที่เรารู้สึกว่า ช่วงปลายปีอยากไปนั่งฟังเพลงบนพื้นหญ้าสบาย ๆ

“ความยากของการทำเฟสติวัลเดิมทุกปีก็คือ ความคาดหวังของคนที่เยอะขึ้น ซึ่งทุกครั้งเราจะมี ฝ่ายรีเสิร์ช สัมภาษณ์ เก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง เพื่อจะได้ แก้ ปั ญหาให้ ตรงจุ ดเช่ นที่จอดรถ ห้ องน้ำรวมถึ งมี คนจำนวนมากที่มาดู ซ้ำฉะนั้นเราก็ต้องรักษา มาตรฐานสิ่งที่ดีอยู่แล้ว แล้วปรับข้อบกพร่อง เพิ่ม กิมมิกและเซอร์ไพรส์ อย่างนั่งเล่นมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 7 ปีนี้ (16 ธันวาคม 2566) เราเพิ่มจุดถ่ายรูป มีตู้สติ๊กเกอร์ มีชิงช้าสวรรค์ มีจุดนั่งรอระหว่างเข้า ห้องน้ำ เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้นแปลกใหม่ สำคัญ ที่สุดคือยังคงเน้นเรื่องความสบายซึ่งเป็นจุดเด่น ของงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ บรรยากาศ และที่นั่ง

“รวมถึงความคุ้มค่าที่ผู้ชมจะได้รับ เพราะเป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าบัตร ทั้งค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร เพราะฉะนั้นเวลา เราไปจัดเฟสติวัล กระบวนการทำงานเหมือนเรากำลัง จะเปิดร้านค้าใหม่ ใช้เวลาเตรียมตัวกันครึ่งปี เพราะต้องหาข้อมู ลเยอะ โดยผมจะไปสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเอง เพื่อดูรายละเอียดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ความจุของพื้นที่ จนถึงโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดต้องใช้ เวลาเดินทางกี่นาที

“รวมถึงต้องคาดการณ์และเตรียมรับมือกับสิ่งที่ อาจจะไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ถ้าจัดงานริมทะเล น้ำขึ้นน้ำลงกี่โมง อย่างปี ที่ผ่านมาพื้นที่บริ เวณชายหาด ยาว 50 เมตร พอถึงกลางคืนน้ำขึ้น พื้นที่จากเดิมที่ รองรับคนได้เป็นหมื่นโดนน้ำซัดขึ้นมา ก็ต้องเตรียม แนวกั้น จัดพื้นที่รองรับคน รวมถึงมีทีมการ์ดเพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้ชมด้วย หรือเรื่องของโชว์กับลิสต์เพลงก็ต้องมีความ แตกต่าง สมมติว่านักร้องร้องเพลงนี้ในร้านอาหารที่กรุงเทพฯกับร้องริมทะเล ความรู้สึกต้องต่างกันทั้งการร้องและดนตรี

“อีกอย่างที่สำคัญคือความนิยมและไลฟ์สไตล์ของผู้ชมที่เปลี่ยนไป เฟสติวัล เพิ่งจะเป็นที่นิยมในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นงานคอนเสิร์ตใหญ่ ในฮอลล์เป็นหลัก แม้จะมีความยากตรงความคาดหวังของผู้ชม แต่เราควบคุม ทุกอย่างได้ ทั้งฟ้าฝน หรือจะใส่เทคนิคตื่นตาตื่นใจใด ๆ ก็ได้หมด แต่อย่าลืม ว่า…ถ้าเราทำได้ คนอื่นก็ทำได้

“แล้วจะทำยังไงให้คนดูประทับใจที่สุด นี่คือโจทย์สำคัญที่ทีมจะคุยกัน ทุกครั้ง เพราะเรื่องโปรดักชั่น วันนี้เราทำได้ใหญ่ขนาดไหนก็จะมีคนทำใหญ่กว่า ขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะที่แม้เราจะจัดงานเล็ก ๆ แต่ถ้าคนดูประทับใจ เขาจะจดจำไป ตลอด และความประทับใจ เงินซื้อไม่ได้ครับ

“การทำงานจึงต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทั้งครีเอทีฟโปรดักชั่นโคโรกราเฟอร์ (ผู้ออกแบบท่าเต้น) เสื้อผ้า หน้า ผม ทุกคนเลย อย่างล่าสุด งาน GRAMMY X RS : 90’s Versary Concert ที่ผ่านมา ผมว่าเราประสบ ความสำเร็จในมุมของความประทับใจจากที่ผู้ชมพูดถึงงานนี้

“ตอนแรกยอมรับว่าค่อนข้างกังวล เพราะการจัดคอนเสิร์ต 6 ชั่วโมงยาก มากที่คนดูจะสนุกตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ด้วยพลังและเอเนอร์จี้ของศิลปินทุกคน สามารถพาคนดูสนุกไปด้วยกันตลอด 6 ชั่วโมงเต็มได้จริง ๆ เรียกว่าถ้าศิลปิน ไม่ร่วมมือ ทีมงานไม่ช่วยกัน ความประทับใจคงเกิดขึ้นไม่ได้”

ที่สุด…

“ถ้าถามถึงคอนเสิร์ตที่ทำแล้วประทับใจที่สุด จริง ๆ ก็ชอบทุกงานที่ทำ แต่ ที่ประทับใจไม่ลืมคือ ใหม่ เจริญปุระ The Return of Green Concert ใช้งบ เยอะที่สุดในช่วงนั้น ประมาณ 30 ล้านบาท ถ้าใครเคยดู ตอนเปิดตัวพี่ใหม่ จะอยู่หลังกระจก แล้วกระจกแตกออก ซึ่งกระจกราคา 2 แสนบาท แล้วใช้แค่ ตอนเปิดตัวครั้งเดียวเท่านั้น รวมถึงเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ ทั้งสะลิง ฝนตก หรือการ หายตัวจากเวทีแล้วไปโผล่ตรงที่นั่งคนดูชั้นบนสุด เรียกว่ามาครบทุกความอลังการ และความประทับใจ (ยิ้ม)

“อีกงานเป็นความประทับใจศิลปิน คือตอนทำคอนเสิร์ตให้ Getsunova หลังจากคุยดีเทลจนลงตัว ก่อนงานคอนเสิร์ตเริ่ม 1 เดือนเขาไม่รับงานเลย เพื่อซ้อม สมมติว่าในคอนเสิร์ตเล่น 30 เพลง เขาก็จะซ้อมตั้งแต่เพลง 1 ถึง 30 เหมือนเป็นการซ้อมใหญ่ทุกวัน สุดยอดมากครับ

“หรือตอนที่ทำงานกับพี่เบิร์ด (ธงไชย แมคอินไตย์) พี่เบิร์ดจะร้องเพลงบนลู่วิ่งตลอด เพื่อจะได้รู้ตัวเองว่าถ้าต้องวิ่งไปร้องไปบนเวทีคอนเสิร์ตแล้ว จะเหนื่อยหรือเปล่า พี่เบิร์ดมีวินัยมาก ๆ ครับ ซึ่งก็มีศิลปินอีกหลายคนที่ทุ่มเท และฝึ กซ้ อมหนั กมาก เป็ นความประทั บใจของผมในการทำงานอี กมุ มหนึ่งครั บ(ยิ้ม)

“ซึ่งจากวันแรกที่ได้ทำงานคอนเสิร์ตจริงจัง จนมาถึงวันนี้ก็กว่า 20 ปีแล้ว ผมไม่เคยเบื่อเลยนะ (ยิ้ม) เพราะเป็นงานที่ผมรักและผูกพันกับตรงนี้มาก ๆ ไม่ว่า จะเป็นบรรยากาศการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ความสุขเวลาที่เห็นผู้ชมสนุกไปกับโชว์ และที่สำคัญโจทย์ของงานจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ มีอะไรใหม่ ๆ ให้ได้คิดตลอด

“ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานตรงนี้ หนึ่ง ต้องมีความสนใจก่อน เพราะถ้าเราไม่อิน ไม่มีแพสชั่น ไม่สนุกกับงาน คนดูก็จะไม่สนุกเช่นกัน ฉะนั้น ต้องเริ่มจากตัวเอง

“สอง ต้องรับฟังเยอะ ๆ ห้ามมีอีโก้ เพราะการทำงานคอนเสิร์ตเป็นการ ทำงานกับหลายฝ่าย ต้องรับฟังความเห็นของคนอื่น และสาม ต้องเข้าใจคนดู ต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นผู้จัด แต่ต้องแทนตัวเองเป็นคนดู ต้องมีจินตนาการว่า ถ้าทำแบบนี้ บล็อกกิ้งแบบนี้ ไฟแบบนี้ คนดูจะชอบจะฟินไหม ซึ่งผมมองว่า เรื่องนี้ไม่เฉพาะกับการทำงานคอนเสิร์ตนะ แต่สามารถปรับใช้ได้กับทุกงาน ถ้ามี ทั้งสามอย่างนี้ ทำงานที่ไหนก็รอดครับ

“ทุกครั้งที่เราเห็นคอนเสิร์ตออกมาด้วยดี มันเป็นความฟินแบบบอกไม่ถูก เพราะเราไม่ได้ทำงานให้จบ ๆ ไป แต่ผมทำเพราะรัก สนุกที่ได้ทำ ดีใจที่เห็น ศิลปินบนเวทีและคนดูสนุกไปด้วยกัน เพราะมวลของความสุขที่เกิดขึ้นเป็น สิ่งที่เราบังคับให้เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าทุกคนไม่ได้เอนจอยไปด้วยกันจริง ๆ เป็นความ ผูกพันทั้งกับงาน ศิลปิน และคนดูที่เราจะต้องเจอกันทุกปี ปีละหลายครั้ง” (ยิ้ม)

หลังจากทำคอนเสิร์ตให้ศิลปินมาเป็น 100 คอนเสิร์ต ถ้าวันหนึ่งมีโอกาส ทำคอนเสิร์ตของตัวเอง ในฐานะ 20 ปีของผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ คิดว่า จะเป็นคอนเสิร์ตแบบไหนคะ

“โอ้…น่าจะเป็นคอนเสิร์ตเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่ต้องตกแต่งเยอะ แต่เน้นการ ใช้ไฟช่วยให้ดูน่าสนใจและสวยงาม (ยิ้ม) เป็นคอนเสิร์ตที่เล่าเรื่องชีวิตตัวเองตั้งแต่ เรียนเป็นพาร์ตแรก ผมอยากเล่าเรื่องราวให้เห็นว่าไม่ว่าจะเรียนจบด้านไหนมา ก็สามารถทำงานที่ตัวเองชอบได้ ถัดมาพาร์ตการทำงาน การปรับตัว ที่ไม่ว่าจะเจอ อุปสรรคหรือปัญหาอะไร ถ้าเราเรียนรู้จุดบกพร่องและมีความตั้งใจ เราทำได้ แน่นอน

“และสุดท้ายพาร์ตที่ 3 พอก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าก็ไม่ใช่ว่าจะสั่งอย่างเดียว ยิ่งอยู่ในจุดสูงสุด เราต้องทำตัวให้เตี้ยที่สุด ต้องรับฟังคนอื่น อยากให้เรื่องราว ของผมเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลาย ๆ คน

“ขอแค่มีความตั้งใจและชอบในงานที่ทำครับ”

อ่านเพิ่มเติม นิตยสารแพรว พ.ย. 66

  • เรื่อง Minim
  • ภาพ วรสันต์

Praew Recommend

keyboard_arrow_up