แบบนี้ก็มีด้วย! ‘พล สัตย์สงวน’ หนุ่มใหญ่วัย40อัพ เสพติดชีวิตนักศึกษาเรียนจนได้ปริญญา21ใบ!

แบบนี้ก็มีด้วย! ‘พล สัตย์สงวน’ หนุ่มใหญ่วัย40อัพ เสพติดชีวิตนักศึกษาเรียนจนได้ปริญญา21ใบ!

เสพติดชีวิตนักศึกษาเรียนจนได้ปริญญา21ใบ …สุดยอด!

เสพติดชีวิตนักศึกษาเรียนจนได้ปริญญา21ใบ เพราะ ‘พล สัตย์สงวน’ มีดีเอ็นเอทางการศึกษาเต็มตัว คุณตาเปิดโรงเรียน ‘หาดใหญ่อำนวยวิทย์’ ส่วนคุณยายมีโรงเรียน ‘สัตย์สงวนวิทยา’ แต่ทายาทอย่างเขากลับเอ็นทรานซ์ไม่ติด จึงเลือกที่จะจัดระบบการเรียนให้ตัวเองตั้งแต่ม.5 จนถึงวันนี้ในตำแหน่ง หัวหน้าลูกเรือการบินไทยวัย 43 ปี เขามีปริญญาอยู่ในครอบครอง 21 ใบแล้ว จนหลายคนหาว่าบ้า!

 คุณพอลน่าจะเป็นตัวอย่างกับคำพูดที่ว่า ‘ไม่มีใครแก่เกินเรียน’ เพราะไม่ว่าจะเป็นประตูการศึกษาสถาบันไหน เขาพร้อมที่จะตบเท้าเข้าไปเสมอ

 

“เมื่อก่อนเรียนควบคู่กัน 3 ที่เลย ทั้งสาขาภาษาเยอรมัน คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร   และอีกสองสาขาคือภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมันจากคณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง  และที่มสธ. เรียกว่ามีปริญญา 3 ใบอยู่ในมือแล้ว หลังจากนั้นพอเรียนจบก็ลงเรียนสาขาศึกษาศาสตร์ที่มสธ.ต่อ ได้ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการแนะแนว ระหว่างนั้นลงม.รามฯ ด้วย กำลังจบก็ลงเรียนสาขาภาษาไทยอีก เพราะอยากเป็นนักเขียน ต่อด้วยรัฐศาสตร์ เพราะตอนนั้นอยากทำงานกระทรวงการต่างประเทศ มีความรู้สึกว่าการเป็นทูตวัฒนธรรมน่าสนใจ จึงเลือกเรียนนอกจากสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแล้ว ผมลงเรียนต่อทั้งสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการทูต การบริหารรัฐกิจ การปกครอง แล้วสาขาบริหารงานยุติธรรม เพิ่งเปิดหลักสูตรใหม่ก็เรียน เพราะโอนเทียบหน่วยกิตได้ กลายเป็นจบปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ทั้ง 4 สาขาจากม.รามฯเลย!

IMG_1062 rt copy

แม้เวลาผ่านมาเป็นสิบปี จนผมทำงานการบินไทยเข้าปีที่ 23 ก็ยังไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ซึ่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยยุคนี้ต้องสอบ GAT/PAT สอบ O Net และสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ต้องใช้คะแนนจากม.6 กฎใหม่ เกรดต้องไม่ต่ำกว่า 2.00 ซึ่งมศว. ไม่นับเกรดเฉลี่ยของม.ปลาย ผมจึงเรียนได้ แต่หากจะเข้าจุฬาฯ ต้องใช้ แล้วตอนที่ผมจบม.6 ได้เกรดแค่ 1.49 ด้วยความอยากทำฝันให้เป็นจริง ผมยอมเรียนม.6 ใหม่ที่สถาบันการศึกษาทางไกล เวลาเรียนชอบมาก เพราะไปเรียนกับเด็กแว๊นซ์ บางคนมีพ่อแม่มาเรียนด้วย เพราะอยากให้จบ พวกนี้ทำสอบโดยไม่อ่านคำถาม ฝนคำตอบเลย ผมเรียนได้เกรด 3.32 ได้แล้วก็ไปสอบ GAT/PAT และ O Net และวิชาสามัญ ปีนั้นมีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ก็เลื่อนไปมา บางวิชาสอบไม่ได้ ตอนนั้นผมเลือก ธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ พลศึกษา เกษตรและครุศาสตร์ จุฬาฯ ก็คิดว่าอดแล้วละ ผมเปิดดูคู่มือด้วยความอาลัย ต้องสะดุด เพราะอักษรฯ จุฬาฯ ใช้แค่คะแนน PAT ภาษาเยอรมัน ผมมีวิชาสามัญ 3 วิชา สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ซึ่งผมสอบ แต่ก็ไม่คาดหวังว่าจะได้ เด็กต้องเก่งมากๆ ปรากฏมีตัวช่วย ปกติอักษรฯ จุฬาฯ รับปีละ 240 คน ปีที่ผมสอบรับ 270 คน เพราะเปิดวิชาเอกภาษารัสเซียเพิ่มขึ้น ซึ่งผมสอบได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนต่ำสุด 200 คะแนน พอดีมีคนสละสิทธิ์ ผมนี่น้ำตาไหลเลย ไม่คิดว่าจะได้ ตอนนี้เรียนปี 2 แล้วครับ ชอบเข้าชั้นเรียนมาก เพราะได้เจอสังคมที่น่ารักเสมอ คาดว่าเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จบ 3 ปี ซึ่งตามกฎของจุฬาฯ ให้เรียน 3 ปีครึ่ง หรือ 4 ปี ผมจึงตั้งใจว่าอยากจบใน 3 ปีจะได้ใช้เวลาที่เหลือเรียนอย่างอื่นที่ชอบไปด้วย เช่น นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา และวาทศิลป์ เพราะคิดว่าตัวเองยังพูดไม่เก่ง

“สำหรับผม การเรียนเป็นงานอดิเรกที่ทำให้มีความสุข เป้าหมายปริญญาใบต่อไปที่มองไว้คือ พลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์ ครับ

ติดตามอ่านเรื่องราวทั้งของ พล สัตย์สงวน ได้ใน คอลัมน์ Live Stories นิตยสารแพรว ฉบับ 25 กรกฏาคมนี้

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up