KDMS Cover

ไหล่ติด ปวดไหล่ตอนกลางคืน สัญญาณของโรคเอ็นข้อไหล่อักเสบ

KDMS Cover
KDMS Cover

อยู่ดีๆ ก็ยกแขนไม่ขึ้น ไหล่ติด ปวดไหล่ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และอาจเป็นสัญญาณของโรคเอ็นข้อไหล่อักเสบที่ไม่ควรมองข้าม

แพรว มีโอกาสได้คุยกับ รศ.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา  โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (kdms hospital) ที่ทำให้เข้าใจอาการของของโรคนี้ยิ่งขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่ทำให้การผ่าตัดไม่น่ากลัวอีกต่อไป

เพราะ ‘แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว’

KDMS 1

รศ.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา

อาการปวดไหล่ตอนกลางคืน ไหล่ติด เป็นสัญญาณของโรคเอ็นข้อไหล่อักเสบหรือเปล่าคะ

 อาจจะไม่ใช่โรคเอ็นข้อไหล่อักเสบอย่างเดียว แต่อาจรวมถึง โรคเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด กระดูกทับเส้นเอ็น แคลเซียมเกาะกระดูกข้อไหล่เสื่อมคือเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาการปวดไหล่ตอนกลางคืน มักเป็นสัญญาณเตือนที่มักเป็นร่วมกัน

ทำไมต้องมารักษาที่ ร.พ.กระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (kdms hospital)

“ที่โรงพยาบาลของเรา เริ่มต้นเกิดจากการพูดคุยกันของแพทย์เฉพาะทาง ในการรักษากระดูกและข้อแต่ละด้าน ตั้งแต่กระดูกสันหลัง ข้อเข่า ข้อสะโพก โรคบาดเจ็บทางกีฬา ข้อไหล่ ข้อมือ ข้อเท้า กายภาพบำบัด เกิดเป็นโรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ที่มีแพทย์เฉพาะทางครบทุกด้าน เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

KDMS 2

โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ตั้งอยู่ที่ถนนเลียบทางด่วนเอกมัย รามอินทรา

“นี่จึงถือเป็นจุดเด่นของเรา ทำให้เวลาคนไข้สามารถรักษาหายได้ในโรงพยาบาลเดียว อีกทั้งเราได้ทำงานร่วมกับทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะหมอกระดูกกับหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟูต้องทำงานไปด้วยกัน

KDMS 3

เพราะแม้ว่าจะผ่าตัดสำเร็จ แต่ไม่ทำกายภาพบำบัดต่อ บางเคสก็ไม่หาย ทั้ง 2 ส่วนส่งผลต่อกัน ซึ่งเราเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ จึงพูดคุยกันในกลุ่มแพทย์ และรวมผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านที่มีความสามารถระดับประเทศมารวมตัวกันในโรงพยาบาลแห่งนี้”

คุณหมอ (รศ.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์) เชี่ยวชาญทางด้านใดคะ

“ด้านข้อไหล่ และเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งคำว่าเวชศาสตร์การกีฬาบางคนเข้าใจว่าเกี่ยวกับโรคทางด้านกีฬา แต่จริง ๆ คำว่า Sport Medicine มีโรคที่เกิดจากกีฬาด้วย เช่น เส้นเอ็นบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ล้มแล้วเส้นเอ็นขาด หรือไปเล่นกีฬาแล้วเกิดการบาดเจ็บ

“ซึ่งโรคข้อไหล่กลุ่มหนึ่ง รวมอยู่ในเวชศาสตร์การกีฬาด้วย แบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มคนไข้อายุน้อย ซึ่งส่วนใหญ่บาดเจ็บจากเล่นกีฬา แบตมินตัน เทนนิส แล้วได้รับบาดเจ็บเส้นเอ็น ข้อไหล่ฉีก ส่วนอีกกลุ่มคือ ภาวะที่เกิดอาการปวดไหล่จากความเสื่อม เมื่ออายุขึ้นเลขมี 3 ปัญหาใหญ่ คือ ปวดหลัง เข่า ไหล่ ซึ่งปวดไหล่ไม่ได้เป็นโรคทางกีฬา แต่เป็นโรคจากกการที่อายุมากขึ้น

“การใช้งานของข้อเกิดความเสื่อม หินปูนเกาะ กระดูกทับเส้น ซึ่งเราต้องชี้แจงชัดเจนว่า โรคเวชศาสตร์ทางการกีฬา เป็นโรคเกี่ยวกับข้อไหล่ และส่วนใหญ่ที่พบไม่เกี่ยวกับการกีฬา แต่ที่ทั่วโลกจำกัดโรคข้อไหล่อยู่ในเวชศาสตร์การกีฬา ก็เพราะมีทิศทางการรักษาที่คล้ายกัน โดยปัจจุบันใช้การผ่าตัดส่องกล้องรักษา จึงแบ่งเป็น เวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่”

ข้อหรือเอ็นที่เสื่อมจนเกิดการอักเสบ เกิดขึ้นจากอะไรคะ

“หลายปัจจัยบางปัจจัยก็เสื่อมเพราะใช้งานหนัก อีกปัจจัยนึงคือตามธรรมชาติ อายุมากขึ้น ข้อต่อเราใช้งานมานาน เส้นเอ็นก็อาจเสื่อม บางรายเกิดจากหินปูนเกาะ กระดูกงอกบ้าง ซึ่งมันค่อย ๆ เกิดขึ้น สัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่เยอะ

KDMS 4

ภาพ x-ray เอ็นข้อไหล่

“ปัจจุบันเจอเรื่องพวกนี้เยอะขึ้น อย่างบางราย เข้ายิม ยกเวท ซึ่งไหล่ของเราไม่ได้ดีไซน์มาสำหรับรับน้ำหนักขนาดนั้นต้องทราบก่อนว่า ไหล่ไม่เหมือนข้อเข่า ข้อสะโพก ที่ธรรมชาติสร้างมารับน้ำหนัก แต่ปัจจุบันเราใช้ไหล่เยอะ ยกเวท เข้ายิม ทำนู่นนี่ เลยเป็นที่มาโรคข้อไหล่ ที่จากเดิมเริ่มเป็นตอนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่เดี๋ยวนี้เจอตั้งแต่อายุ 30 กว่า มีทั้งแคลเซียมเกาะ เอ็นข้อไหล่เสื่อม หินปูนเกาะ

“ซึ่งแคลเซียมเกาะ เกิดจากการที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วร่างกายพยายามซ่อมแซมตัวเองซึ่งทำให้มีหินปูนตามมา เกาะที่เส้นเอ็น ซึ่งอาการพวกนี้เกิดจากการเจ็บสะสม แล้วเมื่อแคลเซียมเกาะมากพอ จึงเกิดการขัดขบกันทำให้รู้สึกเจ็บ”

โรคข้อไหล่ติด แบ่งออกเป็นกี่แบบคะ

โรคข้อไหล่ติด แบ่งออกเป็น ข้อไหล่ติด พบบ่อยในคนที่มีอายุ คือ การยกไหล่ได้ไม่เท่ากัน 2 ข้าง ยกแล้วมือไม่ชิดหู มือเกาหลังไม่ถึง เกิดจากหลายสาเหตุ คือ ข้อเสื่อม หินปูน เอ็นขาด ก็ทำให้ข้อไหล่ติดได้ และเมื่อใดก็ตาม ที่มีปัญหาที่ข้อไหล่ รู้สึกเจ็บปวด ร่างกายจะพยายามสั่งตัวเองให้ทำงานน้อยลงจึงเกิดอาการไหล่อักเสบ ไม่ขยับ ไหล่ติด ฉะนั้นเวลาเจอเคสข้อไหล่ติด จึงต้องมองลึกลงไปว่าสาเหตุจริงๆ เกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ปัญหาตรงจุด

“บางทีร่างกายก็บอกอาการได้ บางครั้งก็ต้อง X-Ray หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุ ข้อไหล่ติดบางรายมีสาเหตุ บางรายไม่มี เราจึงเรียกเป็นข้อไหล่ติดแบบปฐมภูมิ หาก X-Ray และ MRI ไม่เจออะไร อันนี้คือติดเองตามธรรมชาติ อาจจะสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน หรือคนไข้ที่อยู่ท่าเดิมนาน ไม่ได้ขยับ เป็น Stroke , หลอดเลือดสมองแตก และเมื่อไม่ได้รับการกายภาพ ไหล่ก็ติด หรือไขมันในเลือดสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยง อย่างจะเจอกระดูกงอก เอ็นขาด ข้อเสื่อม อันนี้เรียกทุติยภูมิ คือ มีสาเหตุชัดเจนทำให้ข้อติด

แนวทางในรักษามีขั้นตอนอะไรบ้างคะ

“เริ่มตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ถ้ายังไม่ชัดเจนก็ X-Ray และ MRI คือ Ultrasound แล้ว X-Ray Computer มี 2 ส่วนคือ CT Scan เพื่อดูกระดูกและ MRI ดูกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาที่พบเป็นเรื่องเส้นเอ็น เยื่อหุ้มข้อ MRI จึงเป็นที่นิยมในการวินิจฉัยเพิ่มเติม

KDMS 5

เครื่อง MRI ที่โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข

“โดยหลักการรักษาทางการแพทย์ต้องจากเบาไปหนัก เรียกว่าอนุรักษ์นิยม หรือภาษาทางการแพทย์ Conservative Treatment บางอย่างหายด้วยการรักษาอนุรักษ์นิยม ยิ่งโรคข้อไหล่ติดแบบปฐมภูมิ ที่ไม่มีสาเหตุ ประกอบด้วยกายภาพบำบัด ทานยา ถ้าไม่ดีขึ้นอาจฉีดยาเข้าข้อ โดยนิยมฉีดสเตียรอยด์ซึ่งคนไข้ฟังแล้วกลัวมาก รู้สึกว่าอันตราย แต่จริงๆ สเตียรอยด์เป็นยาที่ใช้กันทั่วโลก ไม่ใช่การรักษาผิดวิธี เป็นยาลดอาการอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ต้องฉีดถูกวิธี ความถี่ต้องไม่มากไม่น้อยไป ถูกต้องและเหมาะสมจึงจะได้ผล

“และปัจจุบันมีการฉีดเกล็ดเลือดปั่น PRP กันเยอะ หลักการคือดูดเลือดคนไข้ แล้วปั่นแยกชั้น แบ่งเป็นชั้นที่เป็นเม็ดเลือด ชั้นที่เป็นน้ำเหลืองของเกล็ดเลือด แล้วนำบางส่วนมาใช้เป็นสารลดการอักเสบ แต่ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย จึงเป็นการรักษาทางเลือกอีกแบบ

“แต่ถ้าสุดทางแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องผ่าตัด โดยให้เวลาผู้ป่วยรักษาอย่างน้อย 3-6 เดือน ฉะนั้นผู้ป่วยต้องเข้าใจ Natural History ของโรคนี้ว่าต้องใช้เวลาในการรักษา อย่าใจร้อน มันค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ”

การผ่าข้อไหล่ในปัจจุบัน มีวิธีการอย่างไรบ้าง

“การผ่าตัดในปัจจุบันเน้นผ่าตัดผ่านกล้อง โดยการเจาะรูเพื่อใส่อุปกรณ์กล้องขนาดเล็ก 4 มิลลิเมตร เข้าไปในข้อ โดยจะมีอุปกรณ์อัดน้ำเกลือเข้าไป เนื่องจากข้อต่อแคบ ไม่มีพื้นที่

KDMS 6

การผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยโรคข้อไหล่ที่ kdms โดย รศ.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์

“จากนั้นเมื่อใส่เครื่องมือเสร็จ อัดน้ำเกลือเข้าไปแล้ว ข้อก็จะขยาย ทำให้มีพื้นที่ผ่าตัด แล้วจึงเจาะอีกรู เพื่อใส่เครื่องมือเข้าไป เหมือนกับที่ผ่าตัดช่องท้องใช้ลมอัด ซึ่งข้อจำกัดในการผ่าตัด ปัจจุบันเราไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อด้วยการส่องกล้อง แต่จะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีทำการเย็บซ่อม กรอกระดูก ขูดหินปูน ภาวะข้อไหล่ติด หรือสาเหตุอย่างอื่นๆ อย่าง กระดูกทับเส้น โดยใช้หัวกรอความเร็วสูงเข้าไปเจียจนกระดูกเป็นผง หรือกรณีเส้นเอ็นมีรอยฉีกจากกระดูกก็จะใส่หมุดเข้าไปฝังในกระดูก แล้วมีเชือกดึงเส้นเอ็นเพื่อกลับเข้าที่ โดยวิธีนี้มีรอยแผลเล็กๆ เพียง 3-4 รู เท่านั้น ทำให้คนไข้บาดเจ็บน้อย  แผลเล็ก และฟื้นตัวเร็ว”

การผ่าตัดแบบนี้มีเพียงไม่กี่แห่งใช่ไหมคะ

KDMS 7

“นี่จึงเป็นเหตุผลที่ควรมาที่ ร.พ.กระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข เพราะแพทย์มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการรักษา และทำงานร่วมกันเป็นทีมในแต่ละสาขาจึงทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด สมมุติผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องข้อไหล่ บางคนไม่ได้มีปัญหาเดียว มักมีอาการร่วม เช่น กระดูกคอทับเส้นข้อไหล่ด้วย ที่นี่จะมีทีมแพทย์เฉพาะทางแต่ละด้าน ปรึกษาแนวทาง และทำงานร่วมกัน

“ซึ่งที่อื่นอาจจะต้องส่งไปรักษาต่ออีกโรงพยาบาล ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งผมว่าสำคัญที่สุดคือ แพทย์ต้องทำงานเป็นทีม และที่นี่ co-treatment space สำหรับให้แพทย์ได้ปรึกษาปัญหา ช่วยกันคิดและวางแผนร่วมกัน จึงมั่นใจว่าผลลัพธ์จะออกมาดีที่สุด

KDMS 8

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery)

“อีกทั้ง kdms ยังมีเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกและข้อที่ทันสมัย เช่น การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) ในการเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพกเทียม ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดให้มากขึ้น หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง endoscope ที่กระดูกสันหลัง ทำให้แผลผ่าตัดเล็ก เสียเลือดน้อยลง รวมถึงทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้ไวขึ้น

ใช้เวลาพักฟื้นจากการผ่าตัดนานเท่าไหร่คะ

 “เร็วกว่าสมัยก่อนมาก เพราะสมัยก่อนผ่าข้อต้องเปิดแผล เข้าถึงกระดูกผ่านหลายชั้น กล้ามเนื้อ หลังผ่าก็จะมีอาการบาดเจ็บ ฟกช้ำ เสียเลือด แต่เมื่อเทียบกับผ่าตัดผ่านรูเจาะ อาการบาดเจ็บต่างกันเยอะ รวมถึงการฟื้นฟู ภาวะเกิดพังผืดหลังผ่าตัดก็น้อยกว่า

“ฉะนั้นข้อดีของการส่องกล้อง จึงสามาถเข้าถึงจุดที่ต้องการรักษาได้ตรงจุดกว่ามีความแม่นยำ ให้ผลลัพธ์ดีกว่า”

ชีวิตหลังผ่าตัดเป็นอย่างไรคะ

KDMS 9

“ถ้าผู้ป่วยอาหารไม่หนักมารักษาเร็ว ผลลัพท์จะดีมาก อย่างคนไข้บาดเจ็บเอ็นฉีก แต่คนไข้กลัวไม่หาหมอ เก็บไว้เป็นปี เอ็นจะไม่อยู่ที่เดิมแล้ว มันจะหด ต้องใช้แรงในการดึงเอ็นกลับเข้าที่ทำให้มีโอกาสขาดซ้ำ ฉะนั้นการรักษาควรมารักษาเนิ่น ๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยเร็ว การรักษาได้ผลลัพธ์ดี”

สามารถติดต่อโรงพยาบาล kdms ได้ที่ 02-080-8999 หรือ Line : https://bit.ly/3FYv6Ru

Praew Recommend

keyboard_arrow_up