ไม่เจอกับตัวไม่รู้! เผย5ความเสี่ยงจากภัยบนโลกออนไลน์ น่ากลัวกว่าที่คิด!

เผย5ความเสี่ยงจากภัยบนโลกออนไลน์ รู้ไว้ป้องกันก่อนที่จะเกิดกับตัว!

เผย5ความเสี่ยงจากภัยบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้เด็กไทยโดยเฉพาะวัยรุ่นใช้ชีวิต และเสพสื่อบนโลกออนไลน์กันมาก จนมีประเด็นเรื่องของการโดนกลั่นแกล้ง และการถูกล่อลวง เป็นข่าวให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ด้วยเหตุนี้ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลรายใหญ่ของเมืองไทย ได้จึงจัดทำ dtac Parent Guide คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล เพื่อให้ความรู้และกระตุ้นพ่อแม่ให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
Untitled-21รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีอยู่กับเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานอินเทอร์เน็ต ได้เผยถึงความเสี่ยงของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเด็กอายุไม่เกิน13ปี ซึ่งอยู่ด้วยกันถึง 5ประเด็น

Content Risk
ความเสี่ยงจากเนื้อหาที่ส่อความรุนแรง หรือส่อไปในเรื่องทางเพศ
Contact Risk 
ความเสี่ยงจากการเข้าถึงตัวเด็กเช่น เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าไปคุยกับเด็กในโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดการนัดหมายเด็กออกมาข้างนอกซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ตอนนี้ เพราะเด็กกลุ่มที่ถูกล่อลวงออกไปกระทำทางเพศส่วนใหญ่จะอยู่แค่ชั้นป.6-ม.2ซึ่งยังเด็กมาก รวมไปถึงเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ด้วย
Conduct Risk 
เด็กมีพฤติกรรมไปล่อลวงหรือกระทำกับคนอื่น ซึ่งหลายครั้งเกิดกับเด็กที่ในชีวิตจริงเป็นคนเสียประโยชน์เช่น ตัวเล็กหรือมีปัญหาครอบครัว เกิดการแยกตัวกับสังคม แต่พออยู่ในอินเทอร์เน็ตเป็นสภาวะไร้ตัวตน เขาก็จะกลายเป็นจอมโจรไปทำร้ายผู้อื่น
Commercial Risk 
ความเสี่ยงด้านการค้าคือ ทำให้เด็กต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าบางอย่าง ซึ่งโดยหลักการสินค้าไม่ควรโฆษณากับเด็กโดยตรง ต้องผ่านพ่อแม่แต่ทุกวันนี้เราไม่มีระบบป้องกัน เด็กสามารถเข้าโลกออนไลน์และสั่งซื้อได้ง่ายๆ ผ่านการ์ดเติมเงินหรืออะไรพวกนี้ กลายเป็นข่าวว่าเด็กเล่นเกมออนไลน์จนเสียเงินไปหลายหมื่น
Time Consuming Risk 
น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแล้วเพราะทำให้เด็กเสียโอกาสพัฒนาด้านอื่นไปมาก ไม่เล่นกีฬา
ไม่ทำกิจวัตรประจำวัน ไปจนถึงไม่เรียนหนังสือ กลายเป็นเสพติดออนไลน์ พอโดนห้ามก็โกรธ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดผลเสียระยะยาวแน่นอน ทุกวันนี้ก็เริ่มมีผู้ปกครองพาเด็กเข้ามาพบแพทย์ในหลายๆ เรื่องและนับวันยิ่งมีแต่จะมากขึ้นเรื่อยๆ

dtac Parent Guide ดังนั้นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องสร้างระบบที่สามารถปกป้องให้เด็กต่ำกว่า 13 ปีเข้าไปเล่นแล้วปลอดภัย เช่นเว็บไซต์ไหนที่เนื้อหามีความเสี่ยงก็ตัดออกไม่ให้เด็กใช้ หรือเป็นโซเชียลมีเดียสำหรับเด็กที่จะให้เขาใช้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งโชคดีที่ดีแทคเป็นผู้ให้บริการแล้วเห็นความสำคัญในเรื่องนี้และกำลังวางระบบ Child Safety Package คือมีการคัดกรองคอนเทนต์สำหรับเด็กเลย อีกไม่นานคงมีระบบนำร่องออกมา ที่เหลือจากนั้นพ่อแม่ก็ต้องมีความรู้ด้วย เบื้องต้นดีแทคเลยจัดทำ dtac Parent Guide ออกมาแล้วเป็นคู่มือที่ดีมาก
“พ่อแม่ทุกคนควรอ่าน”

เรื่อง/ภาพ : นิตยสารแพรว

Praew Recommend

keyboard_arrow_up