ฌอน บูรณะหิรัญ

คนไม่ดีจะต้องถูกลืม! ฌอน บูรณะหิรัญ รณรงค์ให้สังคมไม่พูดชื่อคนร้าย

Alternative Textaccount_circle
ฌอน บูรณะหิรัญ
ฌอน บูรณะหิรัญ

ฌอน บูรณะหิรัญ นักคิดสร้างแรงบันดาลใจที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ ได้ออกมารณรงค์ให้สังคมไม่พูดชื่อ ภาพ และแชร์พฤติกรรมคนร้าย เพราะคนไม่ดีจะต้องถูกลืม!

ฌอน บูรณะหิรัญ

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักและต้องลงมือป้องกันไม่ให้คนๆ นี้มีชื่อเสียงอย่างที่เขาปรารถนา และเป็นประเด็นที่เราจะต้องหารือกับสื่อด้วย เห็นได้ชัดว่าเขาคนนี้มีเหตุผลหลายอย่างที่ลงมือเหตุก่อการร้ายครั้งหายนะ หนึ่งในนั้นคือทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังขึ้นมา แต่เราจะต้องไม่ยอมให้เขาได้อย่างที่หวัง” นี่คือส่วนหนึงของบทความในนิตยสารไทม์ ที่สัมภาษณ์ ” จาซินดา อาร์เดิร์น” นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศนิวซีแลนด์ ภายหลังจากเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น ซึ่งหลายคนก็เห็นด้วยในสิ่งที่เธอพูด

ล่าสุดคำพูดของเธอถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา เหตุการณ์นี้ให้บทเรียนในหลายเรื่อง รวมถึงการทำงานของสื่อภายหลังเหตุการณ์นี้ ที่ยังมีการเปิดเผยภาพและพฤติกรรมของคนร้าย ซึ่งอาจให้ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้

“ฌอน บูรณะหิรัญ” นักคิดสร้างแรงบันดาลใจที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมีผู้แชร์ต่อๆ เป็นจำนวนมากถึง 10 ล้านคนว่า เราต้องทำให้คนไม่ดีถูกลืม ไม่ใช่สร้างตัวตนให้กับเขา


เรื่องราวที่ฌอนพูดไว้ในคลิปวีดีโอ

“ผมชื่อ ฌอน บูรณะหิรัญ ผมเป็นคนไทยที่โตในประเทศที่มีการกราดยิงก่อการร้ายเกิดขึ้นบ่อยมาก และมันทำให้ผมเจ็บปวดที่เห็นว่ามันเกิดขึ้นที่ไทย ผมขออนุญาตออกมาแบ่งปันข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์ ให้สื่อมวลชนพี่ๆ นักข่าว และเพื่อนๆ ที่ติดตามทางเพจ

มีงานวิจัยจาก United States National Library of Medicine National Institutes of Health มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า contagion Effect หรือ copy  effect พฤติกรรมการเลียนแบบบางสถานการณ์ เช่น ฆ่าตัวตาย สูบบุหรี่ กินเยอะ การกราดยิง  โดยเขาวิจัยออกมาว่า ค่าเฉลี่ยหลังจากเกิดสถานการณ์กราดยิง มันจะเกิดขึ้นอีกภายใน 13 วัน ในประเทศไทยปีนี้เกิดขึ้นวันที่ 9 มกราคม ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ก็ภายในเดือนหนึ่ง สิ่งที่ทำให้คนอาจจะอยากเลียนแบบเขาอาจจะคิดว่าเขาอยากได้ความสนใจอาจจะอยากมีตัวตนแล้วอยากมีชื่อเสียง

มีหลักฐานแล้วว่ามีคนเริ่มคอมเม้นต์ว่าคนนี้เป็นไอดอลอยากทำเหมือนเขา หลังเหตุการณ์กราดยิงที่นิวซีแลนด์ที่มีผู้เสียชีวิต 50 คนนายกออกมากล่าวว่า “หนึ่งในสิ่งที่เขาต้องการในอาชญากรรมนี้คือการมีตัวตนหรือมีชื่อเสียง ดังนั้นคุณจะไม่มีวันได้ยินฉันพูดชื่อเขาฉันขอให้พวกเราเอ่ยชื่อคนที่สูญเสียมากกว่าฆาตกร พวกเราชาวนิวซีแลนด์จะไม่ให้แม้แต่ชื่อ”

“สิ่งที่ผมพูดอาจจะเป็นสิ่งเล็กๆ ที่พี่มองข้ามและผมก็รู้ว่าพี่ๆ ไม่ได้เจตนาทำร้ายอะไร แต่ผมขอร้องให้รับไว้พิจารณา งดใช้ภาพของเขา แล้วก็งดพูดชื่อของเขาออกมาเพื่อจะไม่ให้ความหวังคนที่คิดจะทำอีก ไม่ให้เขาหวังว่าเขาจะได้เป็นสิ่งที่สนใจมีตัวตนแล้วได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศ ผมรู้ว่านี่ไม่ได้เป็นเหตุผลที่คนอยากออกมากราดยิงแต่มันเป็นส่วนหนึ่งของด้านสื่อ อาจจะเป็นแรงจูงใจให้คนออกมาทำมันมีทั้งปัญหาทางอารมณ์ เรื่องหนี้สิน การโดนกลั่นแกล้ง โดนบูลลี่ โดนกดขี่

แต่ในมุมที่ผมพยายามพูดคือมุมของคนที่ทำสื่อ ผมเข้าใจว่าถ้าเราหาฆาตกรไม่เจอเอารูปหน้าเขาขึ้นมาเพื่อที่จะให้ประชาชนระวังตัวช่วยจับเขาได้ แต่เมื่อเขาเสียชีวิตแล้ว มันมีผลเสียมากกว่าผลดี ผมรู้ว่ามันจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำง่ายมันอาจจะต้องใช้เวลาปรับ แต่ว่าผมกับเพื่อนๆ ที่กำลังดูจะช่วยได้ด้วยการไม่ลงรูปเขา ไม่พูดชื่อเขา ไม่สนับสนุนสื่อที่เอาภาพของเขาขึ้นมา ไม่กด Like ไม่คอมเม้นต์ ไม่แชร์ เราก็ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มาสนับสนุนความคิดนี้ทั้งเจ้าของธุรกิจนักแสดง นักร้องผู้นำทางความคิดเราก็ขอบคุณเว็บไซต์ชื่อ ThePeople.com ที่ช่วยกระจายข้อมูลนี้ออกมา”

โดยเขาได้ให้สัมภาษณ์ในรายการโหนกระแสว่า “เดือนที่แล้วตอนที่มีเหตุที่ลพบุรีผมไม่อยากทำคลิปเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยเพราะว่าผมไม่ได้อยากให้เขามีชื่อเสียงมาก ไม่ได้อยากให้คนคิดว่า ถ้าเขาทำ ผมก็จะทำคลิปเดียวกับเขา ผมจึงไม่ทำ แต่ก็เห็นทั้งสื่อหลักและสื่อออนไลน์ทำ ผมก็กลัวมากว่ามันจะเกิดขึ้นอีก แล้วพอมันเกิดขึ้นอีกจริงๆ ผมรู้สึกว่าต้องออกมาพูดเรื่องนี้แล้ว เพราะหลังจากเหตุการณ์ที่โคราชก็ยังเห็น “


และเมื่อไม่นานมานี้ฌอนได้ให้สัมภาษณ์ในรายการโหนกระแสว่า “เดือนที่แล้วตอนที่มีเหตุที่ลพบุรีผมไม่อยากทำคลิปเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยเพราะว่าผมไม่ได้อยากให้เขามีชื่อเสียงมาก ไม่ได้อยากให้คนคิดว่า ถ้าเขาทำ ผมก็จะทำคลิปเดียวกับเขา ผมจึงไม่ทำ แต่ก็เห็นทั้งสื่อหลักและสื่อออนไลน์ทำ ผมก็กลัวมากว่ามันจะเกิดขึ้นอีก แล้วพอมันเกิดขึ้นอีก ผมรู้สึกว่าต้องออกมาพูดเรื่องนี้แล้ว เพราะหลังจากเหตุการณ์ที่โคราชก็ยังเห็นทั้งคนทั่วไปและสื่อแชร์กันอยู่เลย”

ฌอน บูรณะหิรัญ

ฌอนยังบอกอีกว่าการที่สื่อให้ความสนใจไปที่คนร้ายมันจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ “การที่สื่อฉายความสนใจไปที่อะไรสักอย่าง มันก็เหมือนกับการสอนว่าเราจะได้ความสนใจจากสิ่งนี้สูง สมมุติว่าหันความสนใจไปทางนักกีฬาเยอะๆ คนก็อยากเป็นนักกีฬา โชว์ดาราเยอะๆ คนก็อยากเป็นดารา แต่ถ้าเราโชว์ฆาตกรเยอะ บางคนอาจจะอยากเป็นฆาตกร

ฌอน บูรณะหิรัญ

อย่างไรก็ตามทางด้าน ดร.นพ.วรตม์ โชติพิยสุนนท์ โฆษกสุขภาพจิต เป็นอีกคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับความคิดนี้ “อย่างที่เราทราบดีสื่อมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อคนในยุคสังคมปัจจุบันมากๆ อย่างปีที่แล้วเราเจอคนฆ่าตัวตายในรูปแบบใกล้เคียงกันเยอะ เมื่อคนเสพสื่อเยอะก็มีโอกาสที่จะทำตามได้มาก โดยเฉพาะข้อความที่ปล่อยผ่านสื่อออกมามันมีการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี มีความชอบธรรมในการกระทำนั้นๆ หรือมีความดราม่าหรือน่าสงสารอยู่ในนั้น หรือมีการบอกแรงจูงใจที่ชัดเจน สิ่งที่เกิดขึ้น คือคนที่มีแรงจูงใจใกล้เคียงกัน ก็มีโอกาสจะเกิดการเลียนแบบได้ เพราะเขาคิดว่านั่นคือสิ่งที่ชอบธรรมสำหรับเขา โอกาสที่จะทำก็มากขึ้น มันเหมือนกับการโฆษณาสินค้า ถ้าดูอะไรบ่อยๆ เราก็มีโอกาสทำสิ่งนั้นได้


 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up