ช้างคู่แผ่นดิน

เปิดตัวชุดจริง เวทีจักรวาล! ช้างคู่แผ่นดิน Chang The Icon Of Siam

Alternative Textaccount_circle
ช้างคู่แผ่นดิน
ช้างคู่แผ่นดิน

ซูมความสวยของชุดจริง ช้างคู่แผ่นดิน Chang The Icon Of Siam ชุดประจำชาติไทย บนเวทีมิสยูนิเวิร์ส ของ “นิ้ง-โศภิดา กาญจนรินทร์” 

Chang The Icon Of Siam

หลังจากนายธีร์ ผาสุก เจ้าของผลงาน ช้างคู่แผ่นดิน Chang The Icon Of Siam ชนะเลิศการออกแบบชุดประจำชาติ ที่จะให้ตัวแทนสาวไทย “นิ้ง-โศภิดา กาญจนรินทร์” สวมใส่สู้ศึกการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 ล่าสุดชุดที่ใช้เวลาทำมานานกว่า 1 เดือน ก็พร้อมให้แฟนๆ ทั่วประเทศได้เห็นชุดจริงกันแล้ว โดยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ที่ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ท่ามกลางแฟนนางามที่มาลุ้นอย่างติดขอบเวที

โดยผลงานชุดช้างคู่แผ่นดิน ผู้ออกแบบได้อธิบายถึงผลงานนี้ไว้ว่า ช้างคือความเป็นไทยวัฒนธรรมอารยธรรม และวิถีของคนไทยช้างผูกพันกับคนไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตช้างได้ร่วมการสร้างชาติกู้บ้านกู้เมือง ไม่ว่ายามสุขหรือยามสงบ จวบจนถึงปัจจุบันช้างยังคงอยู่ในวิถีของชาวไทย อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของคนไทยเมื่อทุกคนนึกถึงสัตว์ประจำชาติไทยก็จะนึก ถึงช้างเป็นอย่างแรกไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือชาวต่างชาติก็ตามที่สำคัญเรายังใช้ช้างเป็นทูตวัฒนธรรมในการเจริญสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศอีกด้วยดังนั้นจึงนำแรงบันดาลใจจากช้างมาสร้างสรรค์ชุดประจำชาติไทยในรูปแบบใหม่ที่มีความร่วมสมัยแต่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ความเป็นไทยเปรียบเสมือนกับผู้หญิงไทยที่มีความแข็งแกร่งสวยงามอ่อนโยนและทันสมัย จึงนำโครงสร้างของช้างมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ ชุดช้างคู่แผ่นดิน โดยผสมผสานความเป็นไทยและความเป็นสากลเข้าด้วยกันโดยใช้โครงเสื้อแบบชุดไทยพระราชนิยมผสมผสานเทคนิคการปักลายไทยแบบสองมิติและเทคนิคทรานส์ฟอร์เมอร์จากชุดหนึ่งเป็นอีกชุดหนึ่ง อีกทั้งนำเทคนิคแสงสีเสียงมาเป็นส่วนประกอบของชุดอีกด้วย

ทั้งนี้ในส่วนของดีเทลชุดประจำชาติ มีองค์ประกอบชุดเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 “ชุดไทยประยุกต์” ออกแบบชุดขึ้นใหม่โดยดัดแปลงจากชุดไทยพระราชนิยมโดยใช้ผ้าไหม เพิ่มความ ทันสมัยด้วยชายผ้า ฟอร์มไหล่ยกสูงมาจากชุดไทยพระราชนิยมมาประยุกต์โดยอิงโครงสร้างมาจากหน้าช้าง ส่วนลายผ้าดัดแปลงจากลายประจำยามและลายกระจัง ซึ่งเป็นลายไทยมาตรฐาน ปักและรีดลายด้วยคริสตัล จากสวารอฟสกี้

ส่วนที่ 2  “ชุดเครื่องประดับ” มี  3 ชิ้นหลัก คือ  “เครื่องหัว” ดัดแปลงมาจากชฎา  ออกแบบใส่ลายเส้น  ลดทอนลายไทยเพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น  ชิ้นที่ 2   “กรองคอ” รูปตัว V ออกแบบการออกแบบเน้นช่วงหัวไหล่ และให้เข้ากับรูปทรงของฟอร์มชุด  เพิ่มความอ่อนหวานด้วยโลหะชุบทองจัดช่อเป็นดอกไม้ไหว และใช้เทคนิค เดียวกันในการจัดทำเครื่องประดับชิ้น 3 คือ “เข็มขัดประดับเอว”  โดยเครื่องประดับทุกชิ้นประดับด้วยคริสตัลจาก สวารอฟสกี้

ส่วนที่ 3 “โครงสร้าง”  ซึ่งเป็นส่วนกลไกเพื่อแปลง (Transform) ชุดไทยประยุกต์เป็นชุดช้าง โดยกลไก และโครงสร้างช้างออกแบบและจัดทำโดย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทค โนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  โครงสร้างช้างผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม และเพลาแสตนเลส  ที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง  สามารถรองรับน้ำหนักในส่วนงวงช้างและชายผ้า   โดยใช้พลังงานแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน  ผ้าที่คลุมโครงสร้าง คือผ้าซีทรูกลิตเตอร์ ประดับสวารอฟสกี้ ปักกรุรีดลายประจำยามและลายกระจัง

สำหรับทีมงานออกแบบและสร้างสรรค์ชุดประกอบด้วย นายธีร์ ผาสุก (ผู้ออกแบบชุด) นายศิริวัฒน์ วรวงษ์ และนายฐิติกร หอมหวล (ผู้ช่วยผู้ออกแบบชุด) นายณัฐกิตติ์ แหยมเจริญ (ผู้ตัดเย็บ) นายพลัฏฐ์ จิรพุฒินันท์และนายพอพันธ์ ทองเฟื่อง (ผู้ออกแบบและจัดทำเครื่องประดับ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ผู้จัดทำโครงสร้างและกลไกส่วนหัวช้าง)

ทั้งนี้ “นิ้ง-โศภิดา กาญจนรินทร์” มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2018 มีกำหนดเข้ารายงานตัวต่อกองประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น.

ช้างคู่แผ่นดิน

ช้างคู่แผ่นดิน

Chang The Icon Of Siam


 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up