แปลกแต่จริง! 7 เรื่อง ชวนฉงน เกี่ยวกับการเดินทางของ ราชวงศ์อังกฤษ

account_circle

ราชวงศ์อังกฤษ มีกฎและธรรมเนียมมากมายที่ครอบคลุมชีวิตทุกๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือกฎในการเดินทาง ที่มีข้อปฎิบัติซึ่งค่อนข้างเคร่งครัด และบางเรื่องก็อาจจะแปลก จนคนธรรมดาอย่างเราอาจคาดไม่ถึง

การเสด็จพระราชดำเนิน หรือเสด็จประพาสไปยังที่ต่างๆ ของสมาชิกราชวงศ์อังกฤษนั้น มีกฎมากมายที่ทุกๆ พระองค์ต้องปฎิบัติถึงแม้บางข้ออาจจะดูประหลาด ชวนให้คนธรรมดาอย่างเราสงสัยว่าต้องทำถึงขนาดนี้เลยหรือ แต่กฎที่เคร่งครัดเหล่านี้ ก็เพื่อความปลอดภัย เพื่อความราบรื่นในการเดินทาง ซึ่งกฎเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้กับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง อาหาร หรือสิ่งของต่างๆ ที่ต้องนำติดตัวไปทุกที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ และดีเทลงานที่จะเกิดขึ้นด้วย

แปลกแต่จริง! 7 เรื่อง ชวนฉงน เกี่ยวกับการเดินทางของ ราชวงศ์อังกฤษ

ทริปสั้นๆ ใช้เวลาเพียงไม่นาน 

คงจะดีไม่น้อยหากเราได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการเดินทางท่องเที่ยว หรือหยุดพักผ่อนในวันลาพักร้อน โดยไม่จำกัดหรือถูกกำหนดเวลาไว้แล้ว แต่สำหรับ ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์นั้น ทั้งสองพระองค์มีตารางทรงงานที่ค่อนข้างแน่น และมีกำหนดการที่ชัดเจน แม้กระทั่งการขึ้นรถ ลงรถ และเพื่อไม่ให้กระทบกับตารางงานของทั้งสองพระองค์ จึงทำให้เจ้าชายวิลเลียม และดัชเชสเคทมักทรงใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 40 นาที ในการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

พกฉลองพระองค์ที่เหมือนกัน 2 ชุดในการเดินทาง

ราชวงศ์อังกฤษ

Angela Kelly ผู้ช่วยส่วนตัวและสไตลิสต์ของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เผยว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด ทุกๆ ครั้งเธอจะต้องเตรียมฉลองพระองค์ที่เหมือนกันไว้สองชุดเสมอ เพราะหากเกิดเหตุขัดข้องกับชุดใดชุดหนึ่งอย่าง การชำรุด หรือ เปรอะเปื้อนจากสิ่งต่างๆ เธอจะสามารถเปลี่ยนฉลองพระองค์ให้กับควีนได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ใครจะสังเกตเห็นสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุดของพระองค์จะต้องไม่มีรอยคราบใดๆ หรือแม้กระทั่งรอยเย็บ เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า เหตุใด สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงสง่างามทุกกระเบียดนิ้วเสมอ

เตรียมฉลองพระองค์สีดำติดกระเป๋าเดินทางไปด้วยเสมอ

ราชวงศ์อังกฤษ

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใด ทุกๆ ครั้งสมาชิกราชวงศ์อังกฤษต้องเตรียมฉลองพระองค์สีดำไปด้วยเสมอ โดยเป็นการเตรียมการ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ในกรณีที่สมาชิกราชวงศ์พระองค์ใด พระองค์หนึ่งเสด็จสวรรคต ทั้งนี้เมื่อหากเสด็จกลับมาแล้วจะได้ใช้ฉลองพระองค์สีดำที่เตรียมไว้ได้อย่างทันท่วงที เข้ากับบรยาการการไว้อาลัยของที่เกิดได้อย่างเหมาะสม

โดยกฎข้อนี้ถูกนำมาใช้ หลังสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชบิดาของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ในปี 1952 ซึ่งขณะนั้นควีนทรงประทับอยู่ที่ ประเทศเคนยา โดยเมื่อพระองค์เสด็จกลับถึงสหราชอาณาจักร ต้องทรงรอฉลองพระองค์สีดำบนเครื่องบินที่มีผู้นำมาทูลถวาย ก่อนจะเสด็จออกจากเครื่องบิน

พกโลหิตไปในการเดินทางด้วยทุกครั้ง

กฎข้อนี้อาจจะดูปะหลาดมากที่สุด แต่มีเหตุผลมากที่สุด อย่างในกรณีของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่จะเสด็จประพาสไปยังที่ใด พระองค์ทรงพกถุงเลือดของพระองค์ไปด้วยเสมอ เพราะหากเกิดกรณีฉุกเฉินใดๆ ขึ้นกับพระองค์ ถุงเลือดนี้จะมีประโยชน์ในกรณีที่ต้องมีการถ่ายเลือด และทุกครั้งในการเดินทางมักจะมีแพทย์ประกอบโรคศิลป์ที่คอยติดตามไปด้วยเสมอ ซึ่งแพทย์กลุ่มนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการทราบที่ตั้งของโรงพยาบาลใกล้เคียงทั้งหมด ที่พระองค์เสด็จประพาส และยังมีกระเป๋าแพทย์ขนาดใหญ่ที่ภายในบรรจุเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบพกพาและยาฉุกเฉิน

เสด็จพร้อมกับ ข้าราชบริพารกลุ่มใหญ่

ราชวงศ์อังกฤษ

อันที่จริงข้อนี้เราว่าไม่แปลกแต่อย่างใด ในการเสด็จไปยังที่ใดของมาชิกราชวงศ์อังกฤษ มักมีเหล่าข้าราชบริพารไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น เลขานุการ, ช่างทำผม, บอดี้การ์ด, สไตลิสต์และพี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งทุกๆ คนที่เดินไปกับทุกพระองค์ล้วนมีหน้าที่สำคัญ และทำประโยชน์ได้ในระหว่างการเดินทาง โดยควีนเอลิซาเบธที่ 2  มีผู้ช่วย 34 คน เจ้าชายวิลเลียม และดัชเชสเคทมีผู้ช่วยประมาณ 10 คน ขณะที่ เจ้าชายแฮร์รี่ และดัชเชสเเมแกน มีเพียงล่ามและสไตลิสต์ส่วนตัวมาด้วยไม่กี่คนเท่านั้น

สมาชิกทุกพระองค์จะต้องรู้จักธรรมเนียม การใช้ทุกภาษาของแต่ละประเทศทั่วโลก

ราชวงศ์อังกฤษ

ในฐานะตัวแทนของสถาบันพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร สมาชิกราชวงศ์อังกฤษทุกพระองค์จะต้องเรียนรู้วิธีทักทายผู้คนในหลากหลายภาษา พวกเขาควรรู้และสามารถแสดงให้เห็นถึงกฎของมารยาทในประเทศที่พวกเขากำลังเยี่ยมชม อย่างไรก็ตาม ทุกๆ พระองค์มักจะมีผู้ช่วยในการเตรียมพร้อมสิ่งต่างๆ สำหรับการเดินทางครั้งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีล่าม ซึ่งเป็นเจ้าของภาษาไม่ว่าจะไปที่ใด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการหยุดสนทนา และเป็นการตอบคำถามใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว

มีเมนูเฉพาะสำหรับสมาชิกทุกๆ พระองค์

ราชวงศ์อังกฤษ

นอกจากอาหารต้องห้ามอย่าง หอย ที่สมาชิกราชวงศ์อังกฤษควรหลีกเลี่ยง เพราะถือว่าสัตว์ประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมีพิษมากกว่าประเภทอื่น หัวหอม หรืออาหารจำพวกเครื่องเทศ ก็เป็นข้อละเว้นเหมือนกัน แต่อาจจะไม่ห้ามรับประทานเลยซะทีเดียว แต่จะไม่มีการเสิร์ฟเมนูที่มีวัตถุดิบเหล่านี้มากจนเกินไป เพราะอาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และเพื่อให้ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารทะเล หรือ อาหารอื่นๆ ที่อาจทานเข้าไปแล้วแพ้ได้

กฎระเบียบอันมากมายที่สมาชิกราชวงศ์อังกฤษ ต้องพึงระวังและปฎิบัติตามนั้น หากนับดูแล้วมีเป็นร้อยๆ ข้อ แม้จะดูแปลก แต่ละข้อก็มีเหตุผลที่ชัดเจน มีความสมเหตุสมผล


ข้อมูล : brightside.me

ภาพ : Getty Image

Praew Recommend

keyboard_arrow_up