เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

Alternative Textaccount_circle
เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน
เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังสมบัติของ ม.ล.ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา เจ้าของพิพิธภัณฑ์ ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน และผู้สร้างสรรค์หนังสือ ศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

นับเป็นแหล่งความรู้ทรงคุณค่า สำหรับคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน ผลงานจากความหลงใหลสู่การแบ่งปันอันยิ่งใหญ่ของ ม.ล.ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน (Chateau de la Porcelaine Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องใช้และเครื่องกระเบื้องยุโรปโบราณจำนวนมากมาย ซึ่งสะสมเอาไว้จากความชื่นชอบในศิลปะยุโรป โดยเฉพาะเครื่องกระเบื้องพอร์ซเลน

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน
ม.ล.ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา

ไม่เพียงเท่านั้น ในโอกาสอายุครบ 5 รอบ ปี 2562 ม.ล.ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ยังสร้างกุศลครั้งใหญ่ ด้วยการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน ในรูปแบบหนังสือ เพื่อเป็นที่ระลึก และหวังว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการจัดงานเลี้ยงฉลอง โดยมุ่งหวังสร้างประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

หนังสือ ศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน (Antique Collectibles @ The Chateau de la Porcelaine) ป็นการรวบรวมงานศิลปะต่างๆ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยคัดเลือกชิ้นสำคัญ จำนวน 90 ชิ้น มาถ่ายภาพด้วยเทคนิคการถ่ายภาพเชิงศิลปกรรม ( Fine Art Photography) จัดพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ตสี่สี กระดาษอาร์ตด้านชั้นดี ความหนา 250 หน้า จำนวน 3,000 เล่ม โดยบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งบางส่วนมอบให้แก่ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดของหน่วยราชการสำคัญ และบางส่วนจัดจำหน่าย เพื่อนำเงินรายได้มอบให้แก่สถาบันการศึกษาที่ประสงค์จะขอทุนในการดูงานพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อร่วมปลูกฝังนิสัยใฝ่การเรียนรู้นอกชั้นเรียนให้กับเยาวชน โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นตัวกระตุ้นสู่การเปิดโลกทัศน์

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

ทั้งนี้ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการเผยแพร่ประโยชน์สู่สาธารณะของ ม.ล.ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ในโอกาสนี้ แพรวดอทคอม จึงขอหยิบยกเรื่องราวส่วนหนึ่งที่น่าสนใจจากหนังสือ ศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน มาเล่าให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ

ยุคของศิลปะเครื่องประดับแห่งยุโรป

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ตามประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ว่าด้วยเรื่องเครื่องประดับ มีการแบ่งเป็น 6 ยุคเด่น ตามสมัยการปกครองของราชวงศ์อังกฤษ ได้แก่ ยุคจอร์เจียน ยุควิกตอเรียน และยุคเอดเวอร์เดียน และตามกระแสความเคลื่อนไหวทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ยุคอาร์ตนูโว ยุคอาร์ตเดโค และยุคเรโทร

ยุดจอร์เจียน (Georgian Era) .. 1714-1837

เครื่องประดับอัญมณียุคจอร์เจียนในช่วงต้นจะเป็นสไตล์โรโกโก จากนั้นในช่วงกลางๆ จะเป็นสไตล์กอทิก ส่วนช่วงท้ายจะกลายเป็นสไตล์นีโอคลาสสิก แม้จะใช้ชื่อยุคตามการปกครองของราชวงศ์อังกฤษ แต่แรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับนั้นมีความเป็นสากลที่รับมาจากภาคพื้นทวีป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลีเช่นกัน

เครื่องประดับอัญมณียุคจอร์เจียน มีลวดลายประดับประดาละเอียดและซับซ้อนมาก นิยมประดับด้วยเพชร รูปแบบที่มีชื่อเสียงคือต่างหูทรงระย้าแบบ Chandelier และสร้อยคอประดับเพชรที่เรียกว่า “riviere” (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า แม่น้ำ)

ยุควิกตอเรียน (Victorian Era) .. 1837-1901

ยุควิกตอเรียนซึ่งเป็นยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

Romantic period .ศ. 1837-1860 ที่มาของชื่อสมัยโรแมนติกเนื่องจากครั้งเมื่อสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ชีวิตรักและช่วงเวลาอภิเษกสมรสของพระองค์กับเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามี เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข การแต่งกายของพระองค์มีผลต่อชนชั้นสูง ยุคนี้เป็นการผสมผสานระหว่างนีโอคลาสสิก กอกิก และเรอเนสซองซ์ โดยอ้างอิงตำนานโบราณจากกรีกและโรมันโบราณพื่อใช้ออกแบบ จะเห็นได้จากแหวนหมั้นงูที่เจ้าชายอัลเบิร์ตมอบให้แด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งช่างทองชาวอิตาลีเป็นผู้รังสรรค์ผลงานประณีตผ่านลวดลายที่งดงามอ่อนช้อย

นอกจากนี้ ศาสนายังมีความสำคัญในยุควิกตอเรียน ทำให้ผู้คนในสังคมวิกตอเรียนนิยมห้อยจี้กางเขน รวมถึงสาว ที่ทันสมัยให้ความสำคัญในการสวมใส่ล็อกเก็ต ซึ่งนิยมบรรจุภาพถ่ายประภทดาแกร์โรไทป์ (Daguerrotype) ที่เป็นภาพเหมือน (portrait) ของบุคคลอันเป็นที่รัก เครื่องประดับอัญมณีในยุควิกตอเรียน มีรูปแบบและลวดลายที่ได้มาจากธรรมชาติ และสวนอีเดนตามพระคัมภีร์ไบเบิล เช่น พวงองุ่น ดอกไม้ ลายงู ลายนก เป็นต้น

Grand period .. 1861-1880 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ตใน .. 1861 เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการเครื่องประดับ เนื่องจากประเทศตกอยู่ในความเศร้าและอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ ความสนใจในเรื่องเครื่องประดับของอารยธรรมโบราณจึงได้รับความสนใจอีกครั้ง เช่น อีทรัสคาน (Etruscan) เรอเนสซองซ์ (Renaissance) และวัฒนธรรมสกอต (Scottish) มีความนิยมงานประเภทคามิโอ และเครื่องประดับทองคำบริสุทธิ์ รวมถึงเงินและทองหุ้มด้วยเงิน หรือเงินหุ้มด้วยทอง โดยนำสัญลักษณ์แห่งความโชคดี เช่น เกือกม้า มือ งู มาออกแบบเครื่องประดับ

Aesthetic period .. 1880-1901 สุภาพสตรีมีความมั่นใจมากขึ้น ส่งผลให้ใส่เครื่องประดับน้อยชิ้นลง เหลือเพียงความนิยมในการสวมเครื่องประดับช่วงเวลากลางวัน การออกแบบเครื่องประดับเรียบง่ายขึ้น เพชรเป็นเครื่องประดับที่นิยมมากที่สุด ยุคนี้ได้จบลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (.. 1901) อัญมณีสีดำอย่าง Black Onyx ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ และเป็นสัญลักษณ์แห่งความโศกเศร้า

ยุคเอดเวอร์เดียน (Edwardian Era) .. 1901-1915

ยุคเอดเวอร์เดียนมีลักษณะเด่นของความเป็นผู้หญิง ความอ่อนโยนแฝงความน่ารัก ในช่วงแรกเครื่องประดับอัญมณีนิยมใช้อัญมณีหลากหลายสีสัน รวมทั้งเพชรและไข่มุก ต่อมาการแกะสลักลวดลายอ่อนช้อยบนโลหะสีขาวเริ่มเป็นที่นิยมมาก เครื่องประดับจึงมักใช้ตัวเรือนที่ทำจากทองคำขาว ประดับด้วยอัญมณีที่ไม่มีสีอย่างเพชรและไข่มุก กลายเป็นเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์แห่งยุคสมัย ทั้งยังทำให้เกิดครื่องประดับสำหรับผู้ชายที่แพร่หลายมากขึ้นในอีก 20 ปีให้หลัง

ยุคอาร์ตนูโว (Art Nouveau Era) .. 1890-1915

ยุคอาร์ตนูโวเป็นก้าวแรกจากความคลาสสิกเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ (modernity) หรือยุคโมเดิร์น ฝรั่งเศสเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเริ่มมาจากศิลปินที่มีชื่อเสียงหลาย คนในยุคนั้น ลักษณะเด่นของอาร์ตนูโว คือลวดลายที่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ สัตว์ต่าง เช่น นก ผีเสื้อ แมลง เรือนร่างที่มีสัดส่วนโค้งเว้าของสตรีในจินตนาการ เช่น นางฟ้า นางเงือก ความเคลื่อนไหวทางศิลปะ เช่น คิวบิสม์ (Cubism) และโฟวิสต์ (Fauvism) ที่ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง แต่นุ่มนวล เน้นอารมณ์ประสานกัน สีที่นิยมใช้คือ เขียว ม่วง แดงอิฐ ส้ม

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเดียวกันยังเกิดยุคสวยงาม (Belle Epoque) เครื่องประดับของกระแสนี้ นิยมใช้โลหะมีค่าและอัญมณี เช่น ทองคำ เพชร รวมไปถึง อาเกต โกเมน และพลอยสีฟ้า มีการรื้อฟื้นความนิยมของศิลปะการลงยา (Enamel) และใช้วิธีการที่คล้ายการย่อส่วนกระจกสี (stained glass) ลงในเครื่องประดับ แต่มีขั้นตอนที่พิถีพิถันเฉพาะตัว เรียกว่า Pique a’ jour, (ภาษาฝรั่งเศส หมายถึง open to light) วิธีนี้ทำให้เครื่องประดับมีลักษณะกึ่งโปร่งแสง และดูคล้ายว่าไม่มีโลหะที่ด้านหลังของเครื่องประดับ

ยุคอาร์ตเดโค (Art Deco Era) .. 1915-1935

ยุคอาร์ตเดโค เป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโมเดิร์นอย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนออกมาในงานศิลปะทุกรูปแบบ ทั้งงานสถาปัตยกรรม งานกราฟิก และงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แฟชั่น ภาพยนตร์ และแน่นอนรวมทั้งเครื่องประดับอัญมณีด้วย ทำให้เครื่องประดับอัญมณียุคอาร์ตเดโค มีลักษณะคล้ายลายเส้นของสถาปัตยกรรม มีการนำรูปทรงเรขาคณิตมาใช้ในการออกแบบ เช่น การตัด การเจียระไนมรกตเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รวมทั้งมีการใช้โทนสีขาวดำด้วยกัน ผสมผสานเพชรหรืออัญมณีสีอ่อนกับอัญมณีสีดำ เช่น Black Onyx และมีการใช้ทองคำขาวเป็นตัวเรือน

ยุคเรโทร (Retro Era) .. 1939-1950

ออเดรย์ เฮปเบิร์น

ออเดรย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) นักแสดงฮอลลีวู้ดถือเป็นตัวแทนความสดใสในยุคเรโทร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 และภายหลังสงครามสิ้นสุด โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสงครามและชัยชนะที่ตามมา การออกแบบเน้นการใช้อัญมณีสีสันสดใส และใช้ลายเส้นเพิ่มความอลังการให้ชิ้นงาน ดังนั้น งานรูปทรงเรขาคณิตในยุคอาร์ตเดโคจึงเสื่อมความนิยมในยุคนี้

เครื่องประดับอัญมณีสไตล์ยุโรปชิ้นสำคัญ จากพิพิธภัณฑ์ ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

มงกุฎ Countess Costanza Pasolini Zanelli Magnaguti แห่งอิตาลี .. 1880 ซึ่ง Countess Costanza Pasolini Zanelli Magnaguti ผู้เคยเป็นเจ้าของเทียร่าเพชรศิลปะยุคอาร์ตนูโวนี้ เป็นภริยาของท่าน Conte Luigi Magnaguli แห่งเมืองมันโตว่า ประเทศอิตาลี ตามประวัติไม่ได้กล่าวว่าเทียร่านี้ทำขึ้นในวาระพิเศษอะไร กล่าวเพียงว่าเรือนทำด้วยทองพาลาเดียม มีการออกแบบลวดลายเป็นรูปเครือเถาดอกไม้ 3 ช่อ ประดับด้วยเพชรทรงหมอน (cushion shaped) เพชรกลม (circular cut) และเพชรโรสคัท (rose cut) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22.6 เชนติเมตร และยังสามารถถอดช่อดอกไม้ทำเป็นเข็มกลัดได้

ภายหลังใน .. 2013 เทียร่าได้ถูกบริษัท Sotheby’s นำออกมาประมูล และนำไปยังร้านแอนทีคจิวเวลรี่ใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองลาสเวกัส ก่อนจะได้เดินทางข้ามทวีปมายังประเทศไทย โดยเทียร่าเคาน์เตสนี้จะนำออกแสดงเฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น พิพิธภัณฑ์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

มงกุฎขวดน้ำหอม ฝีพระหัตถ์ทรงออกแบบของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้สิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งทรงออกแบบเพื่อการแสดงแฟขั้นโชว์ในยุคแรกๆ โดยมีแรงบันดาลพระทัยจากน้ำหอมทรงโปรด Dior รุ่น J’a dore และ Miss Dior ประดับด้วยไข่มุกน้ำจืดและคริสตัล ตัวเรือนทองเหลืองปิดทองคำเปลวเป็นลวดลายกระหนกแบบไทย ผสมผสานกับสีเหลืองราวอำพันของน้ำหอมในขวด

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

มงกุฎแอนทีคยุโรป ประดับเพชร Old cut และทับทิม Unheated ยุค Second Empire .. 1852-1870

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

Antique English Tiara ประดับเพชร Old European Cut และไข่มุกธรรมชาติ .. 1910 จากห้าง TESSIERS LTD เลขที่ 20 NEW BOND ST.LONDON

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

ล็อกเก็ตคามิโอแอนทีค ศิลปะยุควิกตอเรียน ตัวเรือนประดับเพชรและไข่มุก ด้านหลังบรรจุภาพบุคคลอันเป็นที่รัก ด้านบนมีหนวดกุ้งใช้แขวนเป็นจี้ได้ และด้านหลังมีเข็มสำหรับกลัดติดเสื้อได้

เปิดกรุเครื่องประดับเก่าแก่ตำรับยุโรป จากคลังศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน

เข็มกลัดนาฬิกาพกแอนทีค เรือนทองประดับเพชรและมรกต ศิลปะอาร์ตเดโค และแว่นขยายแอนทีค ประดับเพชร Old European Cut และมรกต Cabochon


ข้อมูลและภาพ : หนังสือ ศิลปะสไตล์ชาโตว์ เดอ ลา พอร์ซเลน (Antique Collectibles @ The Chateau de la Porcelaine)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เผยเหตุผลที่ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’ ทรงเลือกพระธำมรงค์องค์เรียบง่ายเป็นของหมั้น

ทรงงดงามตามพระสัสสุ ฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรวาใน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ฯ

ย้อนรอยหมางใจ! Vladimir Tiara เทียร่าองค์ที่ ‘เมแกน’ หมายตาใส่วันเสกสมรส

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up