เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันทรงเกียรติของ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

account_circle

เผยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันทรงเกียรติของ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

การนี้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันทรงเกียตริของไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า “เครื่องราชอิสริยยศ” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนจากคำว่า “เครื่องราชอิสริยยศ” มาเป็นคำว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี

สำหรับ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๕๖ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ประกอบด้วย

  1. แพรแถบ มีลักษณะ ขนาด และสีอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  2. ดวงตรา มีลักษณะและการประดับอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ลักษณะการประดับเหมือนทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๕๙ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน

พ.ศ. ๒๕๕๙ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)แพรแถบ มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร มีสีเดียวกับสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย ดวงตรา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง บุรุษใช้ห้อยแพรแถบสวมคอ สตรีใช้ห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ดารา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

พ.ศ. ๒๕๖๐ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ดวงตรา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ แต่ขนาดย่อมกว่า และที่พระมหามงกุฎไม่มีรัศมี ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง ใช้ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ดารา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย ดาราสำหรับพระราชทานสตรีนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับบุรุษแต่ขนาดย่อมกว่า

พ.ศ. ๒๕๖๒ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุดมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) สายสะพาย เป็นแพรแถบมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีครามแก่ มีริ้วแดงและขาว อยู่ริมทั้งสองข้าง สะพายบ่าซ้ายเฉียง ลงทางขวา ดวงตรา เป็นกลีบบัวทอง แววลงยาสีแดงสี่กลีบ มีพระมหาวชิราวุธเงินแทรกสลับตามระหว่าง กลางดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “ร.ร.” กับเลข 6 ไทย เป็นเพชรสร่ง มีเนื้อเงินล้อมรอบ

พ.ศ. ๒๕๖๒ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุดมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปช้างไอราพตลงยาสีขาวอยู่บนพื้นทองในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีชมพูสลับแดง เกสรเงินรอบนอกมีกระจังทองลงยาสีเขียวสี่ทิศ มีรัศมีเปลวเงินตามระหว่าง ด้านหลังเปลี่ยนรูปช้างเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. ลงยาสีแดง เบื้องบนมีอุณาโลมเงินและพระมหามงกุฎทองมีรัศมี สายสะพาย เป็นแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีแดงริมเขียว มีริ้วเหลืองและน้ำเงินขนาดเล็กควบคั่นทั้ง 2 ข้าง สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา

พ.ศ. ๒๕๖๒ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเมื่อปี พ.ศ. 2416

พ.ศ. ๒๕๖๒ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๑๐ (ว.ป.ร.๑)

เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1) เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2412

พ.ศ. ๒๕๖๒ – เข็มราชวัลลภทองคำลงยา (เป็นเข็มพระราชทานเฉพาะแก่นายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ มีศักดิ์ศรีอันสูงส่ง)


ข้อมูล และ ภาพ : Wikipedia

 

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up