ราชปะแตน

“ราชแพทเทิร์น” สู่ “ราชปะแตน” อาภรณ์ทรงคุณค่าคู่พระบารมีกษัตริย์จักรีวงศ์

Alternative Textaccount_circle
ราชปะแตน
ราชปะแตน

“ราชแพทเทิร์น” สู่ “ราชปะแตน” อาภรณ์ทรงคุณค่าคู่พระบารมีกษัตริย์จักรีวงศ์… นับว่าได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 – 19 มกราคม 2562 ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดขึ้น เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนที่มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดไทยย้อนยุคสมัยรัชกาลที่ 5 หรือชุดไทยแบบต่างๆ เพื่อสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยผ่านเครื่องแต่งกาย รวมถึงเพื่อเผยแพร่ความงดงามของความเป็นไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยอีกด้วย

ราชปะแตน

โดยหนึ่งในความประทับใจที่ตราตรึงพสกนิกรชาวไทยในวันเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา ก็คือการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ฉลองพระองค์ราชปะแตนสีงาช้างและพระภูษาโจงกระเบนสีแดงเข้ม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน ด้วยเหตุนี้ แพรวดอทคอม จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “ราชปะแตน” อาภรณ์ทรงคุณค่าซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และอยู่เคียงคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยมาอย่างช้านานจนถึงปัจจุบัน

ราชปะแตน

สำหรับ “ราชปะแตน” เป็นเครื่องแต่งกายของผู้ชายไทย มีลักษณะเป็นเสื้อสูทสีขาว คอตั้งสูง และมีกระดุม 5 เม็ด ซึ่งมีต้นกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5  เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศอินเดีย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2415 ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ช่างฝีมือดีในเมืองกัลกัตตา ตัดฉลองพระองค์ใส่เล่นตามพระราชดำริ เป็นเสื้อคอปิด มีกระดุมกลัดตลอดตั้งแต่คอ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัย เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนายราชานัตยานุหาร ผู้ติดตามเสด็จฯ ในฐานะราชเลขานุการ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตคิดชื่อถวายว่า “ราชแพทเทิร์น” (Raj Pattern) โดยนำภาษาบาลีผสมกับภาษาอังกฤษ แปลว่าเสื้อแบบหลวง แต่ด้วยสำเนียงไทยทำให้เพี้ยนกลายเป็น “ราชปะแตน” นั่นเอง

หลังจากนั้นราชปะแตนเป็นเสมือนเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน โดยส่วนมากสวมกับผ้านุ่งโจงสีกรมท่า ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่าผ้าม่วง และต่อมามีการสวมกับกางเกงแพรด้วย ราชปะแตนเป็นที่นิยมอยู่นาน จนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่มีการประกาศกฎหมายวัฒนธรรม ซึ่งห้ามนุ่งผ้าม่วงและกางเกงแพร ทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาราชปะแตนจึงหายไปด้วย

แต่ราชปะแตนก็ไม่ได้หายจากศิลปวัฒนธรรมไทยไปเสียทีเดียว ดังจะเห็นได้จากพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ฉลองพระองค์ราชปะแตนในพระราชพิธีหรือวโรกาสสำคัญต่างๆ ซึ่ง แพรวดอทคอม ได้รวบรวมพระฉายาลักษณ์ทรงคุณค่าเหล่านั้นมาให้ชมกันดังต่อไปนี้

ราชปะแตน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ราชปะแตน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พร้อมด้วยข้าราชบริพาร

ราชปะแตน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ขณะทรงพระเยาว์

ราชปะแตน

ราชปะแตน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ราชปะแตน

ราชปะแตน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10


 

ภาพ : th.wikipedia.org, pinterest.com, Royal World Thailand – รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย, sanamluang2008


 

ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่

โรแมนติกมาก! การ์ดอวยพรคริสต์มาส 2018 จาก “ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกส์”

สมเด็จพระเทพฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดตาก

“สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9” เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ

พระองค์หญิงฯ ประทานพระวโรกาสให้ “มิสยูนิเวิร์ส 2018” เฝ้าเป็นการส่วนพระองค์

พระองค์หญิงฯ ประทานพระวโรกาสให้ “ปุ๋ย-ภรณ์ทิพย์” เฝ้ารับประทานเลี้ยงเป็นการส่วนพระองค์

ครั้งหนึ่งในชีวิตของ น้องฉัตร แต่งหน้าให้ คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน งดงามแบบไทยย้อนยุค

พระองค์หญิงฯ ประทานพระวโรกาสให้ “ปุ๋ย-ภรณ์ทิพย์” เฝ้ารับประทานเลี้ยงเป็นการส่วนพระองค์

สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 19

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ​ ทรงร่วมบันทึกเทปรายการ ทูบี นัมเบอร์ วัน วาไรตี้

Praew Recommend

keyboard_arrow_up