ซูมประโยชน์ของ “NANA” (นานะ) สารสำคัญในรังนก เคล็ดลับความสตรองของผู้หญิงยุคใหม่

สาวๆ รู้หรือไม่? สารสำคัญในรังนกที่มีชื่อว่า “NANA (นานะ)” มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ถือเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้หญิงใช้ชีวิตสวยสตรองได้อย่างเต็มที่เลยล่ะ  

ขึ้นชื่อว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็ตาม บอกเลยว่าเรื่องความดูดีและความสตรอง ทั้งภายนอกและภายในต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ จึงทำให้เกิดการค้นหาสารพัดวิธีในการดูแลตัวเอง ศาสตร์ไหนที่เขาว่าดีว่าเด็ด เป็นต้องลองให้รู้กันไป ซึ่งหนึ่งในศาสตร์ที่ได้รับความนิยม ก็ต้องยกให้กับการกิน

ผู้หญิงยุคใหม่

โดยหากจะให้แนะนำอาหารสักหนึ่งอย่าง ที่จะมาเป็นตัวช่วยให้ผู้หญิงสตรองได้แบบสวยๆ แพรวดอทคอม ขอยกให้กับ “รังนก” อาหารระดับตำนานที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นเครื่องเสวยขององค์ฮ่องเต้ ซึ่งชาวจีนนิยมรับประทานรังนก เพราะเชื่อว่ารังนกเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้อายุยืน ผิวพรรณดี และชะลอความชรา ซึ่งรังนกนั้นหาได้ยากและมีราคาแพง จึงได้รับฉายาว่า “คาร์เวียร์แห่งโลกตะวันออก” หรือ “ทองคำขาวแห่งท้องทะเล” แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่เคยลิ้มลอง เพราะคิดว่าเป็นอาหารเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว รังนกจัดเป็นอาหารที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้หญิงอย่างเราๆ ที่บอกเลยว่ากินแล้วดีแน่นอน เพราะมีส่วนประกอบของสารสำคัญอย่าง “NANA (นานะ)” ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย และอาจมีผลต่การทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน

รังนก

NANA (นานะ) (N-Acetyl-Neuraminic Acid) หรือ กรดไซอะลิค (Sialic Acid) เป็นองค์ประกอบของไกลโคโปรตีน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณสมบัติพิเศษที่พบในรังนก โดยพบ NANA (นานะ) ในรังนกประมาณ 9% แต่พบ NANA (นานะ) ในเนื้อไก่และเนื้อเป็ดเพียง 0.02% และพบ NANA (นานะ) ในเนื้อปลาแซลมอนเพียง 0.01% 

สำหรับประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของ “NANA (นานะ)” คือช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในรังนกมีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ โปรตีนแบบพิเศษที่มีในรังนกจะไปจับเชื้อไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ อีกทั้ง “NANA (นานะ)” ยังช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ ทำให้สามารถออกไปใช้ชีวิตแบบสวยสตรองได้

ผิวสวย

ส่วนประโยชน์ต่อผิวพรรณของ “NANA (นานะ)” ที่หากสาวๆ รู้แล้วต้องปลื้มสุดๆ แน่นอน คือช่วยจัดการกับความหมองคล้ำของผิว โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีเมลานินของเซลล์ผิวหนัง ดังนั้นนอกจากการกินรังนกแล้ว ก็พบว่าในปัจจุบันมีการใส่สารสกัดรังนกลงในสกินแคร์

พอรู้คุณค่าของ “NANA (นานะ)” ในรังนกแท้ ที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและผิวพรรณขนาดนี้ เชื่อว่าสาวๆ คงอยากหันมากินรังนกเป็นประจำกันตั้งแต่ตอนนี้เลยล่ะ ซึ่งนี่แหละคือเคล็ดลับสวยสตรองของผู้หญิงยุคใหม่ที่ แพรวดอทคอม พราวด์ทูพรีเซ้นต์ เพราะนอกจากจะดีงามมากแล้ว ยังทำได้ง่ายๆ ในทุกวันอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง:

  1. Thorburn C. 2014. The Edible Birds’ Nest Boom in Indonesia and South-east Asia. Food culture society. Vol.17, Issue 4; 535-554.

The Edible Birds’ Nest Boom in Indonesia and South-east Asia_A Nested Political Ecology

  1. Chua L.S. and Zukefl S.N. 2016. A comprehensive review of edible bird nests and swiftlet farming. Journal of Integrative Medicine. Vol. 14, No.6; 415-428.

http://dx.doi.org/10.1016/S2095-4964(16)60282-0 A_comprehensive_review_of_edible_bird_nests_and_2016_Journal_of_Integrative

  1. Tai S.K., Koh R.Y., Ng K.Y. and Chye S. M. 2017. A Mini Review on Medicinal Effects of Edible Bird’s Nest. Lett Health Biol Sci. Vol. 2, Issue 1; 65-67. DOI: 10.15436/2475-6245.17.016.

A_Mini_Review_on_Medicinal_Effects_of_Edible_Bird’s_Nest

  1. Hamzah Z., Ibrahim N.H., J S., Hussin K., Hashim O. and Lee B.B. 2013. Nutritional properties of edible bird nest. Journal of Asian Scientific Research. 3(6); 600-607.

Preliminary_Study_of_the_Nutritional_Content_of_Malaysian_Edible_Bird’s_Nest

  1. Zhao R., Li G., Kong X.J., Huang X.Y., Li W., Zeng Y.Y. and Lai X.P. 2016. The improvement effects of edible bird’s nest on proliferation and activation of B lymphocyte and its antagonistic effects on immunosuppression induced by cyclophosphamide. Drug Design, Development and Therapy. 10; 371-381.

DDDT-88193-in-vitro-and-in-vivo-immune-enhancing-effects-of-edible-bird

  1. Marcone M.F. 2005. Characterization of the Edible Bird’s Nest the “Caviar of the East”. Food Research International. 38, 1125-1134. http://dx.doi.org/10.1016/j.foodres.2005.02.008
  2. Daud N.A., Yusop S.M., Babji A.S., Lim S.J., Sarbini S.R. and Yan T.H. 2019. Edible Bird’s Nest: Physicochemical Properties, Production, and Application of Bioactive Extracts and Glycopeptides. Food Reviews International. 1-19.

https://doi.org/10.1080/87559129.2019.1696359

Bird’s Nest Physicochemical Properties Production and Application of Bioactive Extracts and Glycopeptides

  1. Li H. and Fan X. 2014. Quantitative analysis of sialic acids in Chinese conventional foods by HPLC-FLD. Open Journal of Preventive Medicine. 4(2); 57-63.

https://www.scirp.org/journal/PaperInformation.aspx?PaperID=42604

  1. Fucui M. and Daicheng L. 2012. Sketch of the edible bird’s nest and its important bioactivities. Food Research International. 48(2); 559–567.

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0963996912001895

  1. Chan K., Zheng K.Y., Zhu K.Y., Dong T.T. and Tsim K.W. 2013. Determination of free N-acetylneuraminic acid in edible bird nest: A development of chemical marker for quality control. The Journal of Ethnobiology and Traditional Medicine. 120; 620-628.

Determination of free N-acetylneuraminic acid in edible bird nest A development of chemical marker for quality control

  1. Lun Chan G.K., Fai Wong Z.C., Ching Lam K.Y., Wai Cheng L.K., Zhang L.M., Lin H., et al. 2015_ Edible Bird’s Nest, an Asian Health Food Supplement, Possesses Skin Lightening Activities: Identification of N-Acetylneuraminic Acid as Active Ingredient. Journal of Cosmetics, Dermatological Sciences and Applications. 5; 262-274.

The Edible Birds’ Nest Boom in Indonesia and South-east Asia A Nested Political Ecology

  1. Guo C.T., Takahashi T., Bukawa W., Takahashi N., Yagi H., Kato K. et al. 2006. Edible bird’s nest extract inhibits influenza virus infection. Antiviral Research. 70; 140–146.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16581142

  1. Kong Y.C., , K H Chan K.H. and Ng M.H., et al. 1986. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlet’s (Collocalia) nest. Biochem Intern. 13;521-531. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3790144/
  2. Kong Y.C., Keung W. M., Yip T.T., Ko K.M., Tsao S.W., Nget M.H. 1987. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet’s (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol. 87B(2);221-226. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3497769
  3. Shim, E. K-S; Lee, S-Y.  2018. Nitration of Tyrosine in the Mucin Glycoprotein of Edible Bird’s Nest Change Its color from White to Red. J. Agri. Food Chem. 66; 5654-5662.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29783841

  1. ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้เรื่อง รังนก สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559

Praew Recommend

keyboard_arrow_up