HOLA! MADRID TO BARCELONA (ตอนที่ 2)

อย่างที่บอกว่าการเดินทางครั้งนี้ผมรู้สึกตื่นเต้นเพราะว่าทุกอย่างมันดีจนเหนือความคาดหมายของผมมาก และตอนที่ 2 นี้ยังมีอีกหลายที่ ที่ผมอยากแนะนำว่าถ้าคุณมีโอกาสสักครั้งหนึ่งในชีวิต ก็ขอลองมาเที่ยวที่นี่ดู

GAUDI สถาปนิกสุดเพี้ยนแห่งคาตาลัน

หลังจบการแข่งขันฟุตบอลชายหาด ผมมุ่งหน้าสู่สนามที่ใหญ่กว่านั้น นั่นคือ คัมป์นู สนามทีมฟุตบอลทีมบาร์เซโลนา งานนี้ต้องขอบคุณ Qatar Airways ผู้สนับสนุนหลักของยอดทีมแห่งแคว้นคาตาลันที่พาชมแบบเอกซ์คลูซีฟ ตอนเดินในอุโมงค์ที่นักฟุตบอลใช้เดินเข้าสนาม ใจผมเต้นแรงมากเมื่อคิดถึงรายชื่อนักฟุตบอลมากมายที่เคยเดินผ่านเส้นทางเดียวกันนี้ อย่างน้อย ๆ กองหน้าทีมบาร์เซโลนาและนักฟุตบอลหมายเลขหนึ่งในโลกยุคปัจจุบันอย่างลีโอเนล เมสซี่ ก็ต้องผ่านอยู่เป็นประจำเท่านั้นไม่พอ ผมยังได้โอกาสยืนถ่ายรูปบนสนามหญ้า ซึ่งเป็นจุดที่ไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไป พอเงยมองไปยังอัฒจันทร์บรรจุแฟนฟุตบอลได้มากถึง 99,354คน ยิ่งทำให้รู้สึกว่าสนามฟุตบอลแห่งนี้ยิ่งใหญ่สมคำร่ำลือจริง ๆ

คัมป์นู สนามฟุตบอลทีมบาร์เซโลนา
คัมป์นู สนามฟุตบอลทีมบาร์เซโลนา

หลังจากละลายเงินยูโรในร้านขายของที่ระลึกจนกระเป๋าซีด ก็ถึงเวลาเอาใจพุงที่ร้านอาหาร L’Eggs วันนี้ผมโชคดีได้เจอสุดยอดเชฟมิชลินสตาร์อย่างคุณปาโก้ เปเรซ (Paco Perez) เจ้าของร้านที่ลงมือปรุงอาหารและพูดคุยอย่างเป็นกันเอง โดยทีเด็ดของเชฟปาโก้อยู่ที่การใช้ไข่ไก่เป็นวัตถุดิบในการรังสรรค์เมนูต่าง ๆ ต้งั แต่สเต๊ก แฮมเบอร์เกอร์ จนถึงเมนขู องหวาน หากใครวางกำลงั วางแผนมาเทยี่ วบาร์เซโลนา ผมบอกได้แค่ว่าควรใส่ชื่อ L’Eggsไว้ในทริปด้วย

9

เมื่อพลังเต็มถังก็ถึงเวลาของไฮไลท์ประจำทรปิ นั่นคือการตามรอย อันโทนี เกาดี้ สดุ ยอดสถาปนิกชาวคาตาลันผู้แต่งแต้มสีพิเศษให้เมืองบาร์เซโลนา เนื่องจากทุกผลงานการออกแบบที่มาจากมันสมองของเขาล้วนมีความแตกต่างชนิดที่มองด้วยตาก็รู้ว่านี่ละ…เกาดี้

เริ่มกันที่ Parc Gell เดิมสวนสาธารณะแห่งนี้ออกแบบให้เป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง แต่สุดท้ายมีการสร้างบ้านเพียง 2 หลัง หนึ่งในนั้นคือบ้านของเกาดี้ ซึ่งปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่เอกลักษณ์ของที่นี่คือม้านั่งที่ตกแต่งด้วยโมเสกสีสันสดใสเป็นทางยาวเฟื้อย

Casa Milà อีกหนึ่งผลงานสุดแปลกของเกาดี้
Casa Milà อีกหนึ่งผลงานสุดแปลกของเกาดี้

ต่อด้วย La Pedrera หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ Casa Mil ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1906 เดิมอาคารนี้คืออพาร์ตเมนต์ส่วนตัวก่อนจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน โดยความแปลกของที่นี่ต้องเริ่มกันตั้งแต่โครงสร้างภายนอกที่เกาดี้ออกแบบให้เหมือนถ้ำที่ถูกเจาะเป็นห้องหรือรวงผึ้งขนาดใหญ่ เมื่อมองจากไกล ๆ จึงเหมือนประติมากรรมขนาดใหญ่มากกว่าอาคารเสียอีก

วิธีเข้าชมเริ่มจากการขึ้นลิฟต์ไปยังชั้นดาดฟ้าเพ่อื ดูรายละเอียดสุดเพ้ยี นอย่างปล่องไฟรูปเกลียว จากนั้นจึงลงบันไดมายังห้องต่าง ๆที่จัดแสดงแบบแปลนของอาคารหลังนี้ เฟอร์-นิเจอร์ดีไซน์แปลก ๆ ที่เกาดี้ออกแบบ รวมถึงโซนจัดแสดงห้องพักในสมัย 100 ปีก่อน

เมื่อก้าวเท้าออกจาก Casa Mila ผมแวบคิดขึ้นว่าถ้าผู้กำกับหนังติสต์ระดับโลกอย่างทิม เบอร์ตัน เกิดยุคเดียวกับเกาดี้ แล้วได้ทำงาน ร่วมงานกัน โดยเบอร์ตันเขียนบทกำกับ ส่วนเกาดี้ออกแบบฉาก เราคงได้ดูภาพยนตร์ที่แปลกแหวกแนวในระดับคาดไม่ถึงแน่ ๆ

6

เราไปต่อกันที่ La Sagrada Família มหาวิหารของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก แลนด์มาร์คประจำเมืองบาร์เซโลนาที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 เรื่องน่าเหลือเชื่อคือ ขณะที่คุณอ่านบทความนี้โบสถ์แห่งนี้ก็ยังสร้างไม่เสร็จ วันที่ผมไปถึงเครนก่อสร้างขนาดยักษ์ยืนตระหง่านต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูผลงานมาสเตอร์พีซที่เกาดี้ไม่มีโอกาสได้เห็น

มหาวิหาร La Sagrada Família ผลงานระดับมหากาพย์ของเกาดี้
มหาวิหาร La Sagrada Família ผลงานระดับมหากาพย์ของเกาดี้

มองจากภายนอก La Sagrada Famìlia คือสถาปัตยกรรมสไตล์อาร์ตนูโวที่สวยงามไร้ที่ติ แต่เมื่อก้าวเข้าไปข้างใน แม้มีนักท่องเที่ยวเดินขวักไขว่ แต่บรรยากาศสงบอย่างประหลาด ผมยืนอยู่เบื้องล่างกระจกสีขนาดมหึมาแล้วคิดถึงเกาดี้ว่าเขาต้องใช้ความพยายามในการออกแบบขนาดไหน เพราะแม้วิทยาการในปัจจุบันจะทันสมัยกว่าเมื่อ 100 ปีก่อนมาก แต่กว่าที่มหาวิหารแห่งนี้จะสร้างเสร็จ (ตามที่ทางการบาร์เซโลนาคาดการณ์)ก็อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 2027 และเมื่อวันนั้นมาถึงคงไม่มีใครดีใจยิ่งกว่าอันโทนี เกาดี้ ซึ่งร่างของเขาถูกฝังอยู่ใต้มหาวิหารแห่งนี้ด้วย

หนีเที่ยวตอนตี 4

“Hola” ผมขยี้ตา 3 ทีแล้วส่งยิ้มให้พนักงานของโรงแรมตอนตี 4 เช้ามืดนี้ผมมีนัดกับเพื่อน ๆ สื่อมวลชนชาวไทยและอีกหนึ่งสาวชาวฟิลิปปินส์ที่พร้อมใจกันแวบไปเที่ยว เป้าหมายของเราคือ จุดชมวิวภูเขา Tibidaboที่สามารถมองเห็นวิวบาร์เซโลนาได้ทั้งเมือง โดยพวกเรารวม 5 คนนั่งแท็กซี่จากโรงแรมขึ้นไปยังภูเขา สนนราคาค่ามิเตอร์ 30 ยูโร ตอนไปถึงเวลาเพิ่งเลยตี 5 นิด ๆ ท้องฟ้ายังมืด เราจึงทำได้แค่รอ รอ รอ แต่เมื่อแสงอาทิตย์เริ่มฉายภาพที่อยู่ตรงหน้า ความง่วงที่เกาะกุมหนังตาก็ถูกกำจัดไปหมด บาร์เซโลนาที่สวยงามปรากฏอยู่ตรงหน้า นาทีนี้นั้นทุกคนต่างแยกย้ายไปคนละมุมเพื่อบันทึกภาพและเสียงเหล่านั้นเก็บไว้ในกล่องความทรงจำ เป็นการตื่นเช้าที่คุ้มค่าเหลือเกิน

ชายหาดบาร์เซโรนา ใครตาดีเห็นสาวถอดบิกินี่นอนอาบแดดด้วยนะ
ชายหาดบาร์เซโรนา ใครตาดีเห็นสาวถอดบิกินี่นอนอาบแดดด้วยนะ

เมื่อเก็บกล้องลงกระเป๋าก็ถึงเวลากลับโรงแรม แต่เรื่องที่พวกเราลืมคิดคือ แท็กซี่ที่ไหนจะมารับผู้โดยสารบนเขาตอน 7 โมงเช้า…ฮาสิครับพี่น้อง จากขามาที่นั่งรถชิล ๆขากลับพวกเราต้องเดินไปรอรถเมล์ร่วมครึ่งชั่วโมงเพื่อไปยังสถานีรถรางแล้วต่อรถไฟใต้ดินเข้ามาในเมือง ปิดท้ายด้วยเดินเท้าอีกครึ่งชั่วโมงจึงถึงโรงแรม มาถึงตรงนี้ความง่วงทั้งหลายจึงสูญสลายแบบถาวร

ที่สนามบินเมืองบาร์เซโลนา ผมจับมือบอกลาเพื่อน ๆ นักข่าวชาวอาเซียน ทุกคนลงความเห็นตรงกันว่าสเปนคือหนึ่งประเทศที่เราประทับใจมากที่สุด ไม่ว่าจะสถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ อาหารและผู้คน รับรองว่าหากใครได้มาเยือนจะไม่ผิดหวังแน่นอน

15

ก่อนโบกมือลาผู้อ่าน ผมเขียนเรื่องราวตอนสุดท้ายนี้ที่ Business Class Lounge ของสนามบิน Hamad International Airport เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ที่อยากเล่าคือเกิดมาไม่เคยเห็นสนามบินที่ไหนทันสมัยขนาดนี้ โดยเฉพาะในโซน Business Class Loungeมีห้องอาหารให้เลือก 3 จุด คอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้จนนับเครื่องไม่ไหวหรือสัญญาณ Wi-Fi ก็แรงติดเทอร์โบทั้งสนามบิน ถือเป็นจุดแวะพักที่เพอร์เฟ็คท์ จนสามารถเขียนเรื่องท่องเที่ยวสนามบินได้อีกตอน แต่เวลาหมดเสียก่อน ที่สำคัญคืออาหารอร่อย ๆ รอผมอยู่ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะกินเผ่อื ทุกท่านด้วย แล้วเจอกันโอกาสหน้าครับ

11

สิ่งละอันพันละน้อยที่สเปน

ปี 2015 มีนักท่องเที่ยวไปสเปนมากเป็นประวัติการณ์โดยเพียงครึ่งปีแรกมียอดนักเดินทาง 29.2 ล้านคนสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2014 ถึง 4.2 ยูเนสโกประกาศให้การเต้นฟลามิงโกเป็นมรดกด้านวัฒนธรรมของโลกเมื่อปี 2010 สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนามีโปรเจ็คท์ลงทุนกว่า 27,000 ล้านบาท ขยายความจุในสนามคัมป์นูเป็น 105,000 ที่นั่งภายในปี 2021แม้เกาดี้จะเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแต่ก็มีพฤติกรรมแปลกๆ ตามสไตล์อาร์ติสต์ เช่นชอบแต่งตัวโทรมๆ คลุกคลีกับคนยากคนจนและใช้ชีวิตเรียบง่าย

 

ที่มา : คอลัมน์สารคดีท่องเที่ยว นิตยสารแพรว ฉบับ 868 ปักษ์ที่ 25 ตุลาคม 2558

Praew Recommend

keyboard_arrow_up