โรคซึมเศร้า

เช็คด่วน! พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็น “โรคซึมเศร้า” เราอาจไม่รู้ตัว

Alternative Textaccount_circle
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า

จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่าปัจจุบันมีคนไทยกว่า 1.5 ล้านคน ป่วยด้วย โรคซึมเศร้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน โดยผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 1.7 เท่า แต่ที่น่ากังวลที่สุดก็คือ ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งต่างไม่ทราบว่า ตนเองกำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ในที่สุด แล้วเราจะมีวิธีดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้อย่างไร

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็น “โรคซึมเศร้า” เราอาจไม่รู้ตัว

เช็คด่วน! พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า เราอาจไม่รู้ตัว

ก่อนอื่นควรเริ่มสังเกตจากพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป อาทิ ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่อยากพูดคุยกับใคร รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง มีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง ก้าวร้าวผู้อื่น ไม่มีสมาธิในการทำงาน หากคุณมีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่ง นั่นแสดงว่า คุณอาจมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า! แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ แพรวดอทคอม มีคำแนะนำดีๆ เพื่อเตรียมรับมือกับโรคซึมเศร้ามาฝาก

  1. ลองเลือกทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ผ่อนคลายจิตใจ และสร้างความรู้สึกให้ดีขึ้น อาทิ การฝึกโยคะ การเลือกชมภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิง หรือเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมร่วมกับผู้อื่น
  2. ปรับเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆ เพิ่มพลังบวกให้กับตนเอง และฝึกให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี
  3. พยายามแยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลัง และเริ่มลงมือทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  4. อย่าบังคับตนเอง หรือตั้งเป้าหมายในชีวิตจนเกินขีดความสามารถ เพราะอาจนำไปสู่ความล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ และรู้สึกสิ้นหวังได้ในอนาคต
  5. เลือกรับประทานอาหารที่มีสารซึ่งช่วยผ่อนคลายความเครียด อาทิ ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และไทโรซีน (Tyrosine) ที่เราสามารถพบได้ในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไก่, นม, โยเกิร์ต, ชีส และธัญพืช หรืออาจเลือกทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมเหล่านี้ ซึ่งต้องผลิตจากบริษัทที่เชื่อถือได้ และได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทั้งนี้ ฟีนิลอะลานีน จัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องรับประทานจากอาหารเท่านั้น มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบความจำ ลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และทำให้นอนหลับสบาย เพราะเป็นสารสื่อประสาทหรือสารเคมีที่ช่วยส่งผ่านสัญญานระหว่างเซลล์ประสาทและสมอง

ส่วน ไทโรซีน จัดเป็นกรดอะมิโนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสังเคราะห์ได้จากฟีนิลอะลานีน ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทต่างๆ มีส่วนช่วยทำให้อารมณ์ดี ผ่อนคลายจากความกังวล เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า


ข้อมูลและภาพ :  บริษัท มี อินฟินิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
ภาพ : Pexels

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up