3 ความหมายที่ซ่อนไว้ในผืนผ้า ‘ลายอรุโณทัย’ จากละคร พรหมลิขิต

3 ความหมายที่ซ่อนไว้ในผืนผ้า ‘ลายอรุโณทัย’ จากละคร พรหมลิขิต

Alternative Textaccount_circle

ไม่ใช่แค่ลวดลายแต่ความหมายที่แฝงอยู่ในผ้า ‘ลายอรุโณทัย’ ก็งดงามไม่แพ้กัน

หากใครได้ติดตามละครเรื่อง ‘พรหมลิขิต’ คงคุ้นตากับตัวละครนี้อยู่ไม่น้อยในฉากพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งจริงๆ แล้วเธอคือ กรมหลวงราชานุรักษ์ หรือชื่อเดิม เจ้าฟ้าทองสุก ที่ภายหลังขึ้นรับตำแหน่งพระอัครมเหสี

หลังจากรู้ภูมิหลังของตัวละครคร่าวๆ แล้ว และคนที่ได้ดูคงเห็นว่าภายในฉากนี้ไม่มีบทพูดของเธอแม้แต่อย่างใด แต่ละครยังเลือกที่คงตัวละครไว้ ไม่เพียงเท่านั้นรายละเอียดต่างๆ แม้แต่คอสตูมทีมงานก็ยังใส่ใจทุกรายละเอียดดังเดิม ซึ่งผู้รับผิดชอบเครื่องแต่งกายยังเป็น ‘ภูษาผ้าลายอย่าง’

โดยครั้งนี้ได้เลือกผ้าไทยที่มี ‘ลายอรุโณทัย’ มานุ่งให้กับกรมหลวงราชานุรักษ์ ซึ่งผ้าผืนดังกล่าวยังมีกระบวนลายครบตามอย่างผ้าราชสำนัก โดยลวดลายทั้งหมด ภูษาผ้าลายอย่างได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

> ท้องผ้าออกแบบเป็น ‘รูปสตรีถือพัดวิชนี’ โบกปัดให้เย็นใจและยังเป่าปัดความทุกข์โศก ความยากกายร้อนใจทั้งสิ้นทั้งปวงให้มอดดับลง

> สังเวียนรังสรรค์ให้เป็น ‘รูปสตรีเล่นกระจับปี่’ อันเป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่ง ไว้ขับกล่อมให้มีแต่ความสุข

> กรวยเชิงเขียนเป็น ‘รูปสตรีร่ายรำ’ นัยว่าให้สิ้นทุกข์มีแต่สุขสุขารมณ์ ในทุกเมื่อเชื่อวัน

จึงถือได้ว่าผ้าลายนี้ล้วนสื่อให้เห็นว่าสตรีนั้นมีคุณค่า ที่สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้น มีแต่ความปรีเปรม ดังแสงของพระอาทิตย์ยามสาดส่องในเช้าวันใหม่ที่จะนำพาความสุขมาสู่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ จึงได้ชื่อว่า “ลายอรุโณทัย”

เห็นแบบนี้แล้วต้องยอมรับจริงๆ ว่าทีมงาน และผู้รับผิดชอบเครื่องแต่งกายใส่ใจกับรายละเอียดทุกอย่างมากจริงๆ ขอยกนิ้วโป้ง 2 นิ้วให้เลยค่ะ!


ภาพ, ข้อมูล: ภูษาผ้าลายอย่าง

Praew Recommend

keyboard_arrow_up