เปิดประวัติรองเท้าวิ่งในตำนาน Zoom Structure กับเรื่องราวความเป็นมากว่า 2 ทศวรรษ

สิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเทรนด์การรักสุขภาพมีมาอย่างยาวนาน ก็คือประวัติความเป็นมาของรองเท้าวิ่งตระกูล Zoom Structure นี่แหละ โดยช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 เป็นช่วงแรกๆ ที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้เริ่มหันมาออกกำลังกายด้วยการวิ่ง จึงส่งผลให้ผู้ผลิตรองเท้าวิ่งอย่างไนกี้ได้ออกแบบรองเท้าให้ทันสมัยมากขึ้น

ไนกี้จึงได้ทำการพัฒนารองเท้ารุ่นแอร์ สตรักเจอร์ ให้เป็นรองเท้าที่ช่วยรักษาความสมดุลให้กับผู้สวมใส่ ซึ่งรองเท้ารุ่นนี้มีแฟนๆ ชื่นชอบเป็นอย่างมากนับนับตั้งแต่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 1991 โดยที่แฟนๆ ของรองเท้าตระกูลนี้มีตั้งแต่คนทั่วไปที่ชื่นชอบสีสันของรองเท้าไปจนถึงนักกีฬาอาชีพอย่างกาเลน รัปป์ นักวิ่งระยะไกลชื่อดังที่สวมใส่รองเท้าจากตระกูลสตรักเจอร์มาตลอด 16 ปี  ปัจจุบันรองเท้าวิ่งไนกี้ แอร์ซูมสตรักเจอร์ มีมากแล้วถึง 20 รุ่น ซึ่งไนกี้ได้นำนวัตกรรมมาผสานกับข้อคิดเห็นตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อสรรสร้างหนึ่งในรองเท้าวิ่งที่เปี่ยมไปด้วยนวัตกรรมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

1

ไนกี้แอร์สตรักเจอร์ (1991) วิ่งได้ไกลไม่ต้องกลัวล้ม: ไนกี้แอร์สตรักเจอร์เป็นรองเท้าวิ่งรุ่นแรกที่ไนกี้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อช่วยปกป้องผู้สวมใส่จากภาวะ over-pronation โครงสร้างของตัวรองเท้าที่เป็นเส้นตรงช่วยเสริมความกระชับและความสมดุล และยังช่วยให้รองเท้าวิ่งรุ่นนี้ดูโดดเด่น หน้ารองเท้าที่ผลิตจากผ้าตาข่ายและหนังนั้นมีการปักลวดลายที่เป็นทรงเรขาคณิตไว้อย่างสวยงาม ชิ้นส่วน Air-Sole แบบเปลือยยังช่วยเสริมสไตล์สตรีทได้อีกด้วย

2

ไนกี้แอร์สตรักเจอร์ไทรแอกซ์ 9 (2006) แตกต่างแต่ลงตัว: รองเท้าวิ่งรุ่นนี้ผสานทั้งจุดเด่นด้านการปกป้องเท้าของนักวิ่งกับนวัตกรรมชิ้นส่วนรองเท้าที่เคลื่อนไหวได้ไว้อย่างลงตัว รองเท้ารุ่นนี้มีจุดเด่นที่การออกแบบพื้นรองเท้าให้เป็นโครงสร้างแยกจากตัวรองเท้า แผ่นรับแรงกระแทกที่ส้นเท้าและโครงสร้างของรองเท้าตระกูลไนกี้ฟรีที่ส่วนฝ่าเท้าช่วยเสริมทั้งสมดุลขณะวิ่งและช่วยลดแรงกระแทกขณะเท้ากระทบกับพื้น

3

ไนกี้แอร์สตรักเจอร์ไทรแอกซ์ 13 (2009) โครงสร้างส่วนส้นเท้าที่ดีกว่าเดิม: โครงสร้างเหนือส่วนส้นเท้าช่วยควบคุมเท้าให้อยู่นิ่งขึ้น ชิ้นส่วนซูมแอร์ที่แยกเป็นส่วนย่อยๆ ระหว่างส้นเท้ากับฝ่าเท้า รวมไปถึงหน้ารองเท้าที่น้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีกว่าเดิมนั้นช่วยให้รองเท้ากระชับแต่มีความยืดหยุ่นสูงตามจังหวะการวิ่งของผู้สวมใส่แต่ละคน

4

ไนกี้ซูมสตรักเจอร์ 16 (2013) เรียบง่ายแต่เปี่ยมประสิทธิภาพ: ไนกี้ภูมิใจเสนอนวัตกรรม Dynamic Support System ในรองเท้าวิ่งตระกูลนี้เป็นครั้งแรก นวัตกรรมนี้ทดแทนโครงสร้างรับแรงกระแทกตรงกลางและด้านข้าง ของพื้นรองเท้าแบบเดิมที่มีน้ำหนักมากด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นกว่าเดิม ช่วยลดแรงกระแทกขณะเท้ากระทบกับพื้นได้ดียิ่งขึ้น

5

ไนกี้แอร์ซูมสตรักเจอร์ 20 (2016) ความสมดุลคือจุดเด่นที่ยังคงอยู่เสมอ: รองเท้าที่ออกแบบอย่างลงตัวนี้ผสานทั้งการปกป้องเท้า คุณสมบัติที่ช่วยให้วิ่งได้ดีขึ้น และความสมดุลขณะสวมใส่ไว้ได้อย่างลงตัว หน้ารองเท้าที่ผลิตจากวัสดุใหม่คือชั้นโฟมแบบ 2 ชั้นช่วยให้รองเท้าพอดีกับเท้าของผู้สวมใส่มากขึ้น เสริมความรู้สึกกระชับให้กับทุกส่วนของเท้าอย่างเท่ากัน ด้านข้างรองเท้านั้นผลิตจากวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม ช่วยปกป้องผู้สวมใส่จากภาวะ over-pronation อีกทั้งยังช่วยลดแรงกระแทกขณะเท้ากระทบกับพื้น เนื่องจากวัสดุนี้ได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกับชิ้นส่วนซูมแอร์ที่ฝ่าเท้า

เรียบเรียงโดย : saipiroon_แพรวดอทคอม

ภาพ : ไนกี้

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up