ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เผยกติกาประกวดผ้าลายพระราชทาน ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เพื่อดึงรายได้สู่ชุมชน

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เผยกติกาการประกวดผ้าลายพระราชทาน ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เพื่อสืบสานอนุรักษ์ผ้าไทยให้ทันสมัยเป็นที่นิยมสู่สากล ดึงรายได้เข้าชุมชน เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง

ผ้าไทยใส่ให้สนุก ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จากการเสด็จไปทอดพระเนตร ผลิตภัณฑ์ด้านผ้าและงานหัตถกรรม 3 ภูมิภาค พระองค์พระราชทานลวดลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับการพัฒนาลวดลายและคุณภาพผ้าในยุคใหม่

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการช่วยเหลือราษฎรให้มีรายได้อย่างยั่งยืนผ่านโครงการศิลปาชีพฯ พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการอนุรักษ์มรดกทางศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และทรงสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย

เผยกติกาประกวดผ้าลายพระราชทาน ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เพื่อดึงรายได้สู่ชุมชน

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดงาน OTOP CITY 2020 เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๒  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยนับเป็นมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้พระราชทานแบบลายมัดหมี่แก่ช่างทอผ้าชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และสื่อความหมาย ถึงการส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานอนุญาตให้  กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดประกวดลายผ้าพระราชทานต่อไป

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประทานลายผ้าเป็นของขวัญปีใหม่ โดยความหมายของ “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ลาย S หมายถึง Sirivannavari สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ลาย S จำนวน ๑๐ แถว หมายถึง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึง ความรักที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวไทยทุกคน = Eternal Love เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดในการพัฒนาลวดลายผ้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย สามารถก้าวสู่ระดับสากลเพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือถึงทุกจังหวัดให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ “ผ้าไทย  ใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และทำพิธีมอบลายผ้าพระราชทานแก่กลุ่มทอผ้าในจังหวัด ได้นำไปเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตามวิถีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตามพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค ตลอดทั้งส่งเสริมกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากลเป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัยและทุกโอกาส

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

โดยในส่วนกลางกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดพิธีลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วันที่ 8 มกราคม 2564 พร้อมทั้งมอบลายผ้าผ่านผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนทุกท่านเพื่อส่งมอบต่อให้กับกลุ่มทอผ้า และในระดับจังหวัดมีการจัดพิธีลงนามถวายพระพรและพิธีมอลลายผ้าพระราชทานให้กับกลุ่มทอผ้าใน 76 จังหวัด

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

มีผู้เข้าร่วมพิธี 3,693 คน จำนวนกลุ่มรับมอบลายผ้า 1,012 กลุ่ม จำนวนสมาชิกกลุ่ม 11,068 คน ปัจจุบันมีกลุ่มที่นำลายผ้ามัดหมี่พระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ไปพัฒนาต่อยอด จำนวน 722 กลุ่ม จำนวนสมาชิกกลุ่ม 5,783 คน มียอดจำหน่ายกว่า 900,000 บาท และยอดสั่งจองกว่า 300,000 บาท และเชื่อว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก

เผยกติกาประกวดผ้าลายพระราชทาน ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เพื่อดึงรายได้สู่ชุมชน

กรอบแนวทางการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

คุณสมบัติของผู้ที่จะส่งผ้าเข้าประกวด

ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP หรือช่างทอผ้าทั่วไป ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่สมัครเข้าประกวด

เงื่อนไขการส่งผ้าเข้าประกวด

2.1 ต้องเป็นผ้าลายพระราชทานที่เป็นผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดที่ส่งเข้าประกวด และต้องเป็นผ้าทอมือ หรือทำจากมือเท่านั้น

2.2 ต้องมีความกว้างของหน้าผ้า 1 – 1.5 เมตร

2.3 ต้องเป็นผ้าที่ตัดจากกี่ โดยไม่ผ่านการซัก อบ รีด หรืออาบน้ำยาเคมีใดๆ ทั้งสิ้น  (Authentic) ยกเว้น ผ้าบาติก/ผ้าพิมพ์ลาย/ผ้ามัดย้อม/กลุ่มผ้าชาติพันธุ์  และห้ามเย็บริมผ้า

2.4 เส้นใยที่ใช้ทอ หรือผลิตผ้าในกรณีเป็นประเภทผ้าบาติก/มัดย้อม/พิมพ์ลาย ต้องเป็นเส้นใยฝ้าย หรือเส้นใยไหมที่เป็นเส้นใยแท้ หรือเส้นใยธรรมชาติอื่นๆ โดยการประกวดจะแยกตามชนิดเส้นใย

2.5 ใช้สีธรรมชาติไม่จำกัดสีในการย้อมเส้นใยทอผ้าหรือปักผ้า ยกเว้นผ้าบาติก/พิมพ์ลาย/มัดย้อม

2.6 ต้องมี Packaging และการนำเสนอเรื่องราวผลิตภัณฑ์

ประเภทผ้าลายพระราชทานที่ส่งเข้าประกวด แบ่งเป็น 15 ประเภท ตามเทคนิค/เอกลักษณ์ของผ้าประจำถิ่นของจังหวัดนั้นๆ โดยต้องมีองค์ประกอบหลักของลายพระราชทานครบถ้วน ดังนี้

3.1 ผ้ามัดหมี่ ๒ ตะกอ คือ ผ้าที่มีลวดลายโดยใช้เทคนิคการมัดเส้นด้ายให้เกิดลวดลายตามที่กำหนดแล้วนำไปย้อมสีก่อน แล้วจึงนำไปทอผ้า

3.2 ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอขึ้นไป

3.3 ผ้าขิด

3.4 ผ้ายกดอก เป็นชื่อผ้าที่ได้จากกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายจากการยกเส้นยืนด้วยตะกอ

3.5 ผ้ายกใหญ่ ชนิดมีสังเวียน

3.6 ผ้ายกเล็ก เป็นผ้าที่มีกระบวนการทอโดยใช้เส้นด้าย ๒ กลุ่มๆ หนึ่งใช้สำหรับเป็นเส้นด้ายทอพื้น อีกกลุ่มหนึ่งใช้สำหรับทอลวดลาย ให้เกิดเป็นลวดลายนูนได้อย่างอ่อนช้อยและประณีตบนเนื้อผ้า

3.7 ผ้าจกทั้งผืน เทคนิค “จก” คือเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้าด้วยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปในขณะทอ โดยเสริมเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า

3.8 ผ้าตีนจก (ตีนซิ่น)

3.9 ผ้าแพรวา

3.10 ผ้าลายน้ำไหล (เทคนิคเกาะ/ล้วง)

3.11 ผ้าเทคนิคผสม เป็นผ้าทอที่ใช้หลายเทคนิคผสมในผ้าผืนเดียวกัน

3.12 ผ้าบาติก/ผ้ามัดย้อม ที่เป็นผ้าทำมือ

3.13 ผ้าพิมพ์ลาย ที่เป็นผ้าทำมือ ไม่ใช้เครื่องจักร

3.14 ผ้าปักมือ (กลุ่มชาติพันธุ์)

3.15 ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ บนพื้นฐานเอกลักษณ์ของจังหวัด

วิธีการประกวด

ในการจัดประกวดผ้าลายพระราชทาน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

โดยกรมการพัฒนาชุมชน จะดำเนินการจัดงานแถลงข่าวการประกวดผ้าลายพระราชทานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจได้เตรียมตัวสำหรับการส่งผ้าลายพระราชทานเข้าประกวด


ภาพ : FB HRH Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya  , นิตยสารแพรว วรสันต์ ทวีวรรธนะ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up