Dior (ดิออร์) แบรนด์แฟชั่นเฮ้าส์ ระดับโลก ออกคอลเล็คชั่นสุดว้าวมาเสิร์ฟกันอีกแล้ว สำหรับการต้อนรับช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึง วันนี้แพรวดอทคอมจึงขอแนะนำไอเท็มที่ต้องมีของดิออร์มานำเสนอกัน ซึ่งจะเน้นกระเป๋า ไอเท็มที่สาวกดิออร์พลาดไม่ได้ เพราะถือเป็นไอเท็มชิ้นสำคัญที่จะทำให้ลุคคอมพลีต
ในช่วงที่มาเรีย กราเซีย คิอูริ (Maria GraziaChiuri) ได้ค้นคว้าข้อมูลเก่าของ ดิออร์ อาร์ตไดเร็กเตอร์ของคอลเล็คชั่นเสื้อผ้าผู้หญิง ท่านนี้ได้เจอกับสิ่งที่กระตุ้นความสนใจของเธอ อย่างเซ็ตผลงานภาพถ่ายของนิกิ เดอ แซ็งต์ ฟาลล์ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นภาพของศิลปินคนนี้นั่งอยู่บนอูฐและผลงานภาพถ่ายอื่นๆ เป็นภาพที่เธอโพสเป็นแบบให้กับดิออร์ ในช่วงที่สหายคนสำคัญ มาร์ค โบอ็อง (Marc Bohan) ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ของแฟชั่นเฮ้าส์แห่งนี้
เธอเผยให้เห็นถึงความงามในยุคสมัยนั้น ซึ่งดูเยาว์วัยเสียมากกว่าลุคทอมบอย เธอมีรูปร่างเล็กและมีความคึกคะนอง บ่งบอกถึงสไตล์การแต่งตัวที่เป็นได้ทั้งไอคอน มีลักษณะเฉพาะตัว เผยให้เห็นถึงสัดส่วนตามความเป็นจริง และมีกลิ่นอายของความเพ้อฝัน ชีวิตของเธอคือเรื่องราวในงานวรรณกรรม ในช่วงที่ผู้หญิงเรียกร้องให้ได้รับสิทธิอันเท่าเทียมนิกิทุ่มเทให้กับศิลปะอย่างใกล้ชิด รวมถึงไปโลกและตัวเธอเอง และเช่นเดียวกับศิลปินคนอื่นๆ เธอได้รับแรงผลักดันจากอารมณ์ของเธอ และมันคือความเฟมินีนในความคิดสร้างสรรค์นี้เองที่สื่อไปถึงมาเรีย กราเซีย คิอูริ
Why have there not been great women artists? นี่คือคำถามที่ปรากฏในงานเขียนในปี 1971 ของลินดา น็อคลิน (Linda Nochlin) ซึ่งทำให้มาเรีย กราเซีย คิอูริ รู้สึกสนใจ มันเป็นเรื่องสำคัญที่เหล่าศิลปินหญิงผู้มีความแตกต่าง และมีเอกลักษณ์เหล่านี้ควรจะได้ในสิ่งที่พวกเขาสมควรจะได้รับ เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ทำลายกรอบแห่งข้อกำหนดของบุรุษในประวัติศาสตร์ศิลป์และโลกแฟชั่น เช่น Nanas ชิ้นงานประติมากรรมผู้หญิงที่น่าทึ่งและมีรูปทรงที่แปลกแตกต่างไปจากที่เราคุ้นเคย รวมถึงหัวใจสีสันต่างๆ มังกร ต้นไม้แห่งความรัก (the tree of love) และผลงานระดับมาสเตอร์ที่ยอดเยี่ยมเกินจริง อย่างสวนไพ่ทาโร่ต์ (Tarot Garden) ที่ทัสคานี (Tuscany) ซึ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นลวดลาย งานเย็บปักถักร้อยที่ให้เอฟเฟ็คราวกระเบื้องโมเสคที่ทำจากกระจกซึ่งปรากฏอยู่ในคอลเล็คชั่นของ มาเรีย กราเซีย คิอูริ และฉากบนเวทีแฟชั่นโชว์ เธอไม่เกรงกลัวที่จะใช้สีสันอันท้าทายในแบบของนิกิ เดอ แซ็งต์ ฟาลล์ เพื่อสร้างบทสนทนากับผ้าลูกไม้ ผ้าไหม หนัง หรือพลาสติก
กระเป๋า ดิออร์ ในคอลเล็คชั่น spring/summer 2018
บรรยากาศของคอลเล็คชั่นนี้และบริบทอ้างอิงต่างๆ ที่ไม่ว่าจะแสดงออกมาอย่างชัดเจน หรือบอกเป็นนัย ก็ล้วนพาเราไปสู่ความตื่นเต้นอย่างไม่เขินอายแห่งยุค 60’s ซึ่งเผยให้เห็นถึงพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกของผู้หญิงที่พวกเธอไม่ได้เปลี่ยนแค่ในโลกของแฟชั่นแต่เป็นโลกแห่งความร่วมสมัยด้วยเช่นกัน