Miss Universe กับชุดประจำชาติยอดเยี่ยมยุค 2K ดูสิไทยมีสิทธิ์ชนะกี่เปอร์เซ็นต์?

Miss Universe หรือนางงามจักรวาล ที่คนไทยเรียกกัน ซึ่งปี 2017 นี้ถือเป็นการประกวดครั้งที่ 66 แล้ว และมีกำหนดการจัดงานในวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่แพลเน็ตฮอลลีวู้ดรีสอร์ทแอนด์คาสิโน ในลาสเวกัส รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐฯ

แน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดของสาวงามผู้ทุกประเทศต้องหวังที่จะได้ครองมงกุฎนางงามจักรวาลอยู่แล้ว แต่อีกหนึ่งรางวัลที่นางงามและกองเชียร์เฝ้าลุ้นสูสีกันมาทุกปีก็คือรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ซึ่งก่อนจะไปร่วมลุ้นกันว่า ชุด CHASING THE LIGHT เมขลาล่อแก้ว ที่มารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017 ใส่ขึ้นเวทีจะสามารถคว้ารางวัล The Best ได้หรือไม่ แพรวขอพาคุณย้อนกลับไปดูชุดประจำชาติยอดเยี่ยมยุค 2000s หรือที่เรียกอย่างย่อว่า ยุค 2K เพื่อวิเคราะห์ว่าสิ่งใดหรืออะไรเป็นตัวยึดโยงความโน้มเอียงในการตัดสินของกรรมการบ้าง

Best National Costume ปี 2000 : Leticia Murray นางงามจากเม็กซิโก

ปี 2000 : Leticia Murray นางงามจากเม็กซิโก

Best National Costume ปี 2001 : Kim Sa-rang นางงามจากเกาหลี

ปี 2001 : Kim Sa-rang นางงามจากเกาหลี

Best National Costume ปี 2002 : Vanessa Mendoza นางงามจากโคลอมเบีย

ปี 2002 : Vanessa Mendoza นางงามจากโคลอมเบีย

Best National Costume ปี 2003 : Amelia Vega Polanco นางงามสาธารณรัฐโดมินิกัน

ปี 2003 : Amelia Vega Polanco นางงามสาธารณรัฐโดมินิกัน DOMINICAN REPUBLIC

Best National Costume ปี 2004 : Jessica Rodriguez นางงามจากปานามา

ปี 2004 : Jessica Rodriguez นางงามจากปานามา

Best National Costume ปี 2005 : ชนันภรณ์ รสจันทร์ นางงามไทย ในชุดที่มีแรงบันดาลใจจาก “ศิราภรณ์” ถักด้วยทองคำของไทย ออกแบบโดย ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าไทย

ปี 2005 : ชนันภรณ์ รสจันทร์ นางงามไทย

Best National Costume ปี 2006 : Kurara Chibana นางงามจากญี่ปุ่น

ปี 2006 : Kurara Chibana นางงามจากญี่ปุ่น

ปี 2007 ไม่มีสาวงามคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม บนเวทีประกวด Miss Universe

Best National Costume ปี 2008 : กวินตา โพธิจักร นางงามไทย ในชุดที่ได้แรงบันดาลใจจาก “ชุดมวยไทยโบราณ”

ปี 2008 : กวินตา โพธิจักร นางงามไทย

Best National Costume ปี 2009 : Diana Broce นางงามจากปานามา

ปี 2009 : Diana Broce นางงามจากปานามา

Best National Costume ปี 2010 : ฝนทิพย์ วัชรตระกูล นางงามไทย ในชุด “สยามไอยรา” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเครื่องทรงผสมผสานกับรูปแบบการตัดเย็บแบบผ้าไทยให้ละม้ายคล้ายสตรีในสมัยรัชกาลที่ 5 ออกแบบโดย ผลิน อภิญญากุล

ปี 2010 : ฝนทิพย์ วัชรตระกูล นางงามไทย

Best National Costume ปี 2011 : Sheldry Saez นางงามจากปานามา

ปี 2011 : Sheldry Saez นางงามจากปานามา

Best National Costume ปี 2012 : Ji Dan Xu นางงามจากจีน

ปี 2012 : Ji Dan Xu นางงามจากจีน

Best National Costume ปี 2013 : Nastassja Bolivar นางงามจากนิการากัว

ปี 2013 : Nastassja Bolivar นางงามจากนิการากัว

Best National Costume ปี 2014 : Elvira Devinamira นางงามจากอินโดนิเซีย

ปี 2014 : Elvira Devinamira นางงามจากอินโดนิเซีย

Best National Costume ปี 2015 : อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ นางงามไทย จากชุด “ตุ๊กตุ๊ก ไทยแลนด์” ผลงานการออกแบบของหิรัญกฤษฏิ์ ภัทรพิบูลย์กุล นักวิชาการวัฒนธรรมชื่อดังของไทย

ปี 2015 : อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ นางงามไทย

Best National Costume ปี 2016 : Htet Htet Htun นางงามจากเมียนมาร์ จากชุดที่มีน้ำหนักกว่า 40 กิโลกรัม ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหุ่นละครเชิด นาฎยกรรมชั้นสูงของประเทศเมียนมาร์

ปี 2016 : Htet Htet Htun นางงามจากเมียนมาร์

เมื่อไล่ดูเฉพาะยุค 2K หรือ 17 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้ว่าเกณฑ์การตัดสินว่าจะมอบรางวัล The Best National Costume นั้น ยังคงมาจากปัจจัยหลักที่ว่าชุดประจำชาตินั้นๆ เมื่อไปอยู่บนเวทีประกวดระดับโลกแล้วสามารถสะท้อนถึง ‘เอกลักษณ์ของประเทศ’ ได้เพียงไหน แต่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาอย่างโดดเด่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่แต่ละประเทศจะกลมกล่อมไอเดียให้เข้าไปอยู่ในชุดแต่งกายประจำชาติอย่างไร แล้วได้ผลเป็นความน่าทึ่ง และเข้าใจในระดับสากล

น่าดีใจว่าภายใน 17 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลนี้มาครองได้ถึง 4 ครั้ง ซึ่งนับว่ามากโขถ้านับตั้งแต่มีการประกวดมิสยูนิเวิร์สครั้งแรก เมื่อปี 1952 โดยก่อนยุค 2K นางงามไทยที่ได้รางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมมีเพียง 2 คนเท่านั้นคือ คุณแสงเดือน แม้นวงศ์ นางสาวไทยปี 1969 และคุณภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก นางสาวไทยปี 1988

นั่นเท่ากับว่ายุคหลังนี้ไทยตีโจทย์ The Best National Costume ได้ตรงใจ ตรงประเด็น และตรงวัตถุประสงค์ของเวทีการประกวดระดับโลกเวทีนี้สุดๆ แม้บางปีจะมีเสียงกระแนะกระแหนถึงความล้ำประหลาดไปบ้าง แต่กาลเวลาก็พิสูจน์แล้วว่า 17 ปี 4 รางวัล เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 2-4 ปีไทยจะได้รางวัลนี้หนึ่งครั้ง

ปี 2017 : มารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017

ดังนั้นชุดเมขลาล่อแก้วที่มารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017 ที่เปี่ยมด้วยหนึ่ง ความคิดสร้างสรรค์ สอง สื่อเอกลักษณ์ไทยครบเครื่อง สาม เวทีประกวดปีนี้อยู่ที่ลาสเวกัส เมืองที่นิยมงานโชว์อลังการ สี่ สถานที่นี้เคยตัดสินให้ชุดประจำชาติคว้าชัยมาแล้ว 2 ครั้ง คือปี 2010 กับชุด “สยามไอยรา” ของปุ๊กลุก-ฝนทิพย์ และปี 2015 ในชุด “ตุ๊กตุ๊ก ไทยแลนด์” ที่แนท-อนิพรณ์ใส่ และห้า ผลสำรวจโพลชุดประจำชาติจาก International_Poll ที่ให้ไทยได้รับคะแนนโหวตมาเป็นอันดับ 1 เมื่อเอาความ 5 ข้อมารวมกัน ชุดของไทยจึงมีสิทธิ์สูงมากถึง 90% ที่จะคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม (จริงๆ อยากให้ 100% เต็มด้วยซ้ำหลังจากตามส่องชุดของสาวชาติต่างๆ แต่เกรงกรรมการจะคิดมากว่าไทยเพิ่งเว้นวรรคจากรางวัลนี้ไปเพียงปีเดียว)

ที่สำคัญเธอยังอาจจะเจริญรอยตามรุ่นพี่  คุณปุ๋ย-ภรณ์ทิพย์ ไซมอน คือคว้าทั้งรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมและมงมิสยูนิเวิร์ส 2017 ก็ได้

เอ้า… เชียร์

 

ที่มาภาพ : gettyimages/ Missosology / Rappler

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up