อลังการงานสร้างผ้าโบราณราชสำนักอายุกว่า 300 ปี (ตอนที่1)

1และถ้าไม่เป็นเพราะคอลัมน์ Unexpected ของ แพรว ละก็ ไม่มีวันที่ครูผ้าผู้เป็นเจ้าของบ้านจันทร์โสมา แหล่งทอผ้าโบราณชั้นสูงของจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้ จะยอมเปิดให้ใครชมง่าย ๆ

อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า “สาระสำคัญอีกอย่างของ ‘ผ้าราชสำนัก’คือ เพื่อการใช้สอยนุ่งห่มอย่างเป็นทางการ ตามแบบแผนของกำหนดกฎหมาย ตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางข้าราชการ บุคคลต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากองค์พระมหากษัตริย์แล้ว ต้องมีหรือได้รับการสถาปนาแต่งตั้ง พระราชทานให้มีพระยศ พระอิสริยยศ

หรือยศศักดิ์ เป็นลำดับชั้น จึงมีสิทธิ์ใช้สอยหรือนุ่งห่มผ้าได้ตามชั้นยศของตน ทำนองเดียวกับเครื่องแบบหรือยูนิฟอร์มคนปัจจุบัน

“ในความหมายที่สอง คือ เครื่องนุ่งห่มตามปกติ ทั้งในชีวิตประจำวัน และโอกาสพิเศษของผู้คนในราชสำนักที่ไม่เป็นทางการ อาจเป็นความนิยมตามยุคสมัยหรือเป็นแฟชั่น และหมายรวมถึงคนกลุ่มใหญ่ในสังคมลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า ‘ชาวสยาม’ ซึ่งอยู่ในวัฒนธรรมการนุ่งห่มแบบ ‘จีบโจง’ เช่นเดียวกับราชสำนักสยาม”

ผ้าพระสุจหนี่กำมะหยี่ปักหักทองขวางใช้เป็นเครื่องปูลาด
ผ้าพระสุจหนี่กำมะหยี่ปักหักทองขวางใช้เป็นเครื่องปูลาด

ย้อนอดีตเพื่อพบจุดเริ่มต้นของการสะสมผ้าโบราณ
ย้อนกลับไปสามสิบปีที่แล้ว เมื่อครั้งครูผ้ายังเป็นนักศึกษาจิตรกรรมไทย คณะศิลปประจำชาติ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเพาะช่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) ทำให้มีโอกาสเข้าชมและศึกษาผ้าโบราณราชสำนัก ในห้องจัดแสดงผ้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เห็นความงดงามของศิลปกรรมบนผืนผ้า ทั้งรูปแบบ สี และลวดลาย ที่มีกระบวนลายมากมายจนรู้สึกประทับใจ และเกิดแรงบันดาลใจอยากเก็บสะสมผ้าโบราณราชสำนกั เพอื่ ใชศ้ กึ ษาเกยี่ วกบั วสั ดุ เทคนคิ และที่สำคัญคือ กระบวน-ลาย หรือการออกแบบลวดลาย (การผูกลาย) และนำความรู้มาผลิตใหม่
“ยุคนั้นนักเรียนศิลปะประจำชาติส่วนใหญ่มักมองข้าม ไม่ได้สนใจศึกษาลวดลายจากผ้าโบราณกันเท่าไหร่ แต่มักสนใจลวดลายที่อยู่ในงานศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง พระบฏ สมุดข่อยงานประติมากรรม ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วผ้าโบราณจำนวนมาก ทั้งที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์และหลงเหลืออยู่ตามที่ต่าง ๆ คือสิ่งที่บันทึกผลงานการออกแบบลวดลายไทยชั้นสูงของช่างหลวงหรือครูช่าง ที่รับส่งสืบทอดวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน จนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ไว้มากมายหลากหลาย ไม่แพ้งานศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ

ฉลองพระองค์ครุยผ้าโปร่งปักดิ้นแล่ง
ฉลองพระองค์ครุยผ้าโปร่งปักดิ้นแล่ง

“แต่ละผืนแต่ละลาย ล้วนมีความงดงามวิจิตร ตามขนบระบบระเบียบกฎเกณฑ์ของศิลปกรรมแบบราชสำนัก เห็นแล้วรู้สึกมหัศจรรย์แค่เรามาคัดลอกเขียนลายเส้นด้วยพู่กัน ด้วยดินสอ ยังยากถึงเพียงนี้ แต่คนโบราณสามารถนำลวดลายเหล่านี้มามัดย้อมปักถักทอ เขียนวาดบนผืนผ้าได้อย่างวิเศษสุด มีทั้งผ้าปูม ผ้ายก ผ้าลาย และงานเย็บปักถักร้อยต่าง ๆ ด้วยลวดลายที่วิจิตรพิสดารปรากฏให้เห็น ทำให้นึกถึงตอนผมเป็นเด็ก บ้านอยู่สุรินทร์ ยามว่างไปวิ่งเล่นบ้านใครมักเห็นเขาฟอกไหม ย้อมเข ย้อมครั่ง หน้าแล้งเห็นเขาทอผ้ากันใต้ถุนบ้าน แต่เราไม่รู้ตัว และไม่เคยคิดว่าจะคุ้นเคยกับเทคนิคการทำผ้า
“จนได้ไปศึกษาศิลปกรรมในวัดพระอารามหลวงแห่งหนึ่ง เจอผ้าห่อพระคัมภีร์จำนวนมาก ส่วนมากเป็นผ้าชั้นดีหรือผ้าชั้นสูงที่เจ้าของเดิมตั้งแต่พระมหากษตั ริย์ พระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ข้าราชการ ตลอดจนบุคคลทั่วไปอุทิศถวายไว้ในพระอาราม มีทั้งผ้าที่เป็นเครื่องยศ ได้รับพระราชทาน และผ้าชั้นดีที่เก็บไว้ในโอกาสพิเศษ เมื่อเจ้าของถึงแก่กรรมทายาทจึงนำมาถวายพระศาสนา พระใช้ทำธงบ้าง ห่มพระพุทธรูปบ้างตลอดจนใช้ห่อพระคัมภีร์ต่าง ๆ ด้วย
“สมัยโบราณ การใช้สอยนุ่งห่มผ้าเหล่านี้ใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น เช่น เข้าเฝ้าฯถวายงานราชการ หรือในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ยิ่งถ้าเป็นขุนนาง ต้องมีทนาย (ผู้ติดตามคนสนิท) ถือพานผ้าและเครื่องยศอื่น ๆ เป็นกระบวน ไปแต่งตัวกันในพระบรมมหาราชวัง เวลากลับก็ผลัดผ้าออกใส่พาน ให้ทนายถือกลับ
“ฉะนั้นผ้าเหล่านี้จึงยังใหม่และอยู่ในสภาพดี เมื่อถวายวัด ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของพระคัมภีร์ มากกว่าผ้าที่ห่อ ตอนที่ผมไปเจอ เขากำลังลอกผ้าเหล่านั้นเตรียมทิ้ง จึงขอไว้ เป็นผ้าผืนแรกที่ผมเก็บรักษา ทำให้เราได้ศึกษาลวดลาย เทคนิคการทำผ้า โดยผ้าผืนนี้เรียกว่า ‘ผ้าลายอย่าง’ ใช้ห่อพระคัมภีร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย”

เสื้อครุยลายดอกลอยปักแล่งสำหรับขุนนางและข้าราชการใช้ในงานพระราชพิธี
เสื้อครุยลายดอกลอยปักแล่งสำหรับขุนนางและข้าราชการใช้ในงานพระราชพิธี

อาจารย์อธิบายผ้าโบราณราชสำนักที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ผ้าปูม ปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ ทำด้วยไหม ผ้ายก มีตั้งแต่ผ้ายกไหมและไหมผสมโลหะ เช่น ผ้ายกทอง ฯลฯ และ ผ้าลายอย่าง ทำด้วยผ้าฝ้าย เขียนลายด้วยมือ โดยให้ช่างหลวงของราชสำนักออกแบบมีลวดลายงดงามวิจิตรแตกต่างกันไปตามยศและตำแหน่ง พระราชทานให้ขุนนาง ข้าราชบริพาร และพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายในทรงในราชการ โดยส่งไปผลิตที่อินเดียด้วยฝ้ายเนื้อละเอียด ถือเป็นสินค้าชั้นสูงในสมัยโบราณ
จากนั้นมาเขาเริ่มได้รับ ผ้าโบราณราชสำนักเรื่อยมา บ้างก็ซื้อจากร้านขายของเก่าทั้งในไทยและต่างประเทศ หรือบางครั้งถึงขนาดนำวัตถุโบราณไปแลกกับผ้าก็มี
“บางราชสกุลเมื่อขายของเก่าไปแล้วมักแถมผ้าโบราณเหล่านี้ให้ร้านไปด้วยเพราะสมัยก่อนเป็นของไม่มีค่า มีคุณป้ารายหนึ่งนำผ้ามาให้ เพราะรู้ว่ามีคนเก็บผ้าเหล่านี้แทนท่านแล้ว บางท่านให้มาเป็นถุงใหญ่ บางท่านให้ผ้ามา 2 – 3 หีบ ทำให้ผ้าโบราณราชสำนักที่ผมมีหลายร้อยผืนมาจากหลากหลายแหล่ง”

ที่มา : คอลัมน์Unexpected นิตยสารแพรว ฉบับที่ 858 ปักษ์วันที่ 25 พฤษภาคม 2558

Praew Recommend

keyboard_arrow_up