การรักษามะเร็ง

การรักษามะเร็ง แบบ Immunotherapy เพิ่มการทำงานภูมิคุ้มกันในร่างกาย

Alternative Textaccount_circle
การรักษามะเร็ง
การรักษามะเร็ง

โรคมะเร็งปอด ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ กับ การรักษามะเร็ง แบบใหม่ Immunotherapy เพิ่มการทำงานภูมิคุ้มกันในร่างกาย

การรักษามะเร็ง
โครงการ “Lung For(R)est (ลัง ฟอร์ เรสต์)” จัดโดย “มะเร็งวิทยาสมาคม”

โรคมะเร็งปอด ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ พบมากที่สุดทั่วโลกและในประเทศไทยมะเร็งปอดพบมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดอันดับ 1 มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ รวมถึงการได้รับควันบุหรี่(สูบบุหรี่มือสอง)และมลภาวะทางอากาศ อาทิ ฝุ่นแร่ที่มาจากบริเวณเหมืองแร่ต่างๆ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมบางชนิดที่ผิดปกติ โดยมะเร็งปอดส่วนใหญ่เกิดในผู้ป่วยวัยสูงอายุซึ่งอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอายุที่มากขึ้น อาการโดยทั่วไปที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปอด ได้แก่ หายใจถี่และหายใจไม่ออก มีเสียงแหบ มีอาการเจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง เป็นต้น

ล่าสุด “มะเร็งวิทยาสมาคม” มีความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงโรคนี้ จึงได้จัดงานเรียนรู้วิธีป้องกันความเสี่ยงจากมะเร็งปอด รวมถึงเข้าถึงการรักษาแบบทางเลือก ภายใต้แนวคิด “Lung forest  ป่าไม้แห่งปอด หรือ Lung  for  rest ให้ปอดได้พักผ่อน” ซึ่งรายได้ทั้งหมดจากกิจกรรมครั้งนี้จะมอบให้ มะเร็งวิทยาสมาคม สำหรับต่อยอดและพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มมาตรฐานการรักษาต่อไป

การรักษามะเร็ง
ไมค์-ภัทรเดช สงวนความดี,นายแพทย์ ไนยรัฐ ประสงค์สุข โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า,รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ วิโรจน์ศรีอุฬารพงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ  เกรท-วรินทร ปัญหกาญจน์ 

โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งปอด รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ วิโรจน์ศรีอุฬารพงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า การรักษามะเร็ง มักจํากัดอยู่ใน 3 แนวทาง คือ ผ่าตัดในกรณีที่สามารถทําได้ จากนั้นจึงเป็นการรักษาต่อเนืองด้วยรังสีรักษาหรือใช้ยาเคมีบําบัด หรืออาจเป็นการรักษาแบบผสมผสานมากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไปเพือหยุดการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ทั้งนีการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบําบัดซึงเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดนั่นอาจส่งผลข้างเคียงรุนแรงในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากตัวยาไม่เพียงออกฤทธิ์ ต่อเซลล์มะเร็งเท่านัน แต่ยังออกฤทธิ์ ต่อเซลล์ปกติในส่วนอืนๆ ของร่างกายผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง และมีการติดเชื้อง่าย ปัจจุบันมีการพัฒนายากลุ่มใหม่ๆ ใช้ได้ผลดีในมะเร็งกลุ่มที่เป็น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้น โดยล่าสุดได้มีการรักษาพัฒนาการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาทีดียิ่งขึ้น คือการรักษาด้วยยาทีออกฤทธิ์ เพิ่มการทํางานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunotherapy)

ในภาวะปกติสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย เช่น เชื้อโรคจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกําจัดแต่พบว่าเซลล์มะเร็งที่จัดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ไม่ถูกกําจัดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากการศึกษาพบว่ามะเร็งเป็นเซลล์ ร่างกายที่กลายพันธุ์และมีความแตกต่างจากเซลล์ปกติของร่างกาย กล่าวคือ เซลล์มะเร็งเปนเซลล์ทีสามารถแบ่งตัวและเติบโตได้เองแบบไม่มีข้อจํากัด และ ไม่ถูกทําลาย โดยคุณสมบัติหนึ่งของเซลล์มะเร็งสามารถขัดขวางการทํางาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทําลาย

จากการศึกษาพบว่าเซลล์มะเร็งขัดขวางการทํางานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายโดย ตัวรับเช็คพอยต์ (immune checkpoint receptor) บนเซลล์มะเร็งจับกับตัวรับเช็คพอยต์บนเซลล์เม็ดเลือดขาว จะมีผลยับยังการทํางาน ของเซลล์เม็ดเลือดขาว มีผลให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทําลาย เมื่อผู้ปวยได้รับการรักษาด้วยยายับยั้งการทํางานทีอิมมูนเช็คพ้อยต์ (immune checkpoint inhibitors) ที่เป็นยาที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีกลไกการทํางานโดยยับยั้ง กระบวนการที่เซลล์มะเร็งหยุดการทํางานของเซลล์เม็ดเลือดขาวดังทีกล่าวเบื้องต้น ทําให้เม็ดเลือดขาวกลับมาทํางานได้ปกติเละสามารถทําลายเซลล์มะเร็งได้ ซึงสามารถทําให้ผู้ปวยมีชีวิตทียืนยาวมากขึ้น”

อย่างไรก็ตามมะเร็งเกิดขึ้นได้กับเกือบทุกเซลล์ในร่างกาย การป้องกันการเกิดมะเร็งที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ซึ่งการป้องกันโรคมะเร็งปอดที่ดีที่สุดยังคงเป็นการไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดแหล่งควันบุหรี่ ออกกำลังกาย และหมั่นตรวจสุขภาพทุกปี หากสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายที่น่าสงสัย เช่น เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง น้ำหนักลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาที่มาและดำเนินการรักษาโดยทันที เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและห่างไกลโรค

การรักษามะเร็ง
2 นักแสดงหนุ่มร่วมบริจากสมทบทุน มะเร็งวิทยาสมาคม 

ภาพจาก : pexels

Praew Recommend

keyboard_arrow_up