ปรับพฤติกรรมอย่างไรเลี่ยง ‘ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม’ ต้นเหตุเสี่ยง ‘โรคกระดูกพรุน’

ปัญหาเรื่อง ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม นับเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน ถึง 90% ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากที่ร่างกายขาดแคลเซียมส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้เปราะหักง่าย เนื่องจากสาเหตุร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ต่อทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ข้อมูลยังพบว่าคนไทยอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 50% โดยพบในเพศหญิงถึง 35% มากกว่าเพศชายถึง 20% และยังพบด้วยว่าคนไทยมีแนวโน้มว่าอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะลดลงทุกปี ปัจจุบันภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหาร หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป นับเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่ถดถอยลงเรื่อยๆ   สาเหตุของภาวะร่างกายขาดแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเทียบกับแร่ธาตุชนิดอื่น แคลเซียมอยู่ในร่างกายเราถึง 98% ในส่วนของกระดูก มีผลต่อการสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง ไปจนถึงระบบประสาทที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของคนเรา และที่สำคัญร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้เอง ต้องมีการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเข้าไปให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ใช่แค่เด็กหรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องการแคลเซียม สำหรับคนทั่วไป ร่างกายต้องการแคลเซียมในปริมาณเฉลี่ยที่ 1,000 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาใช้ทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปในแต่ละวัน เราสามารถเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมได้จาก ข้าวโอ๊ต คะน้า บล็อกโคลี่ กุ้งแห้ง เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมตามที่ร่างกายต้องการ หากแต่ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันส่งผลให้เราไม่สามารถกินอาหารหลักที่ได้ปริมาณแคลเซียมครบตามที่ร่างกายต้องการ สำหรับหญิงที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการปริมาณแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป ปริมาณเฉลี่ยที่ต้องการ 1,500 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อให้ทารกสามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างตั้งแต่ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ และฟันในทารก อีกทั้งยังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของเซลล์ ที่ควบคุมระบบการทำงานของหัวใจ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดในร่างกายของทารก รวมถึงหัวใจและระบบประสาทของทารกก็ใช้แคลเซียมด้วย อีกทั้งยังเสริมสร้างสติปัญญาของทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก ทารกจะดึงแคลเซียมสะสมของคุณแม่ไปใช้ ส่งผลให้แคลเซียมสะสมของคุณแม่น้อยลง … Continue reading ปรับพฤติกรรมอย่างไรเลี่ยง ‘ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม’ ต้นเหตุเสี่ยง ‘โรคกระดูกพรุน’