สัญญาณเตือน ‘โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ’ ภาวะเร่งด่วนต้องรีบรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบแปลบอย่างทันทีและรุนแรงร่วมกับอาการเหนื่อย หายใจไม่ทัน อาจมีภาวะเสี่ยงหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตก ซึ่งถ้าได้รับการวินิจฉัยช้า และรับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นหลอดเลือดสำคัญทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ (Aortic dissection) เป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่ ตั้งแต่ต้นทางที่มีการปริแตกเซาะไปที่ขั้วหัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและแขน หลอดเลือดที่เลี้ยงตับและลำไส้ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ตลอดจนลงไปถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาทั้งสองข้าง ทำให้มีอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบ พบได้บ่อยในเพศชาย อายุ 50-70 ปี แต่สามารถเกิดในกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปีได้ในกลุ่มที่มีโรคของความผิดปกติของผนังหลอดเลือด สาเหตุการปริแตกของผนังหลอดเลือดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน หรือความผิดปกติของผนังหลอดเลือด จากกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง เช่น Marfan syndrome, Ehlers-Danlos syndrome สัญญาณเตือน ‘โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ‘ ภาวะเร่งด่วนต้องรีบรักษา โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ (Aortic dissection) ผู้ป่วยมักมีอาการอาการเจ็บหน้าอกแบบแปลบอย่างทันทีและรุนแรง สามารถแสดงอาการได้หลายแบบขึ้นกับตำแหน่งตามรอยโรคที่มีการแตกเซาะไป บางครั้งแสดงอาการเจ็บหน้าอกคล้ายโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เหนื่อย มีภาวะหัวใจลัมเหลว อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต แขน … Continue reading สัญญาณเตือน ‘โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ’ ภาวะเร่งด่วนต้องรีบรักษา