‘ไฝเสน่ห์’ หรือ ‘มะเร็งผิวหนัง’ ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยง รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา

รู้หรือไม่ หากมีไฝ 100 ตำแหน่งขึ้นไป มีโอกาสที่จะเป็น มะเร็งผิวหนัง มากกว่าประชากรปกติถึง 7 เท่า โดยไฝเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณบนร่างกาย แม้กระทั่งใต้เล็บ สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปได้ตลอดเวลาหรือจางหายไปเมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไปไฝไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเมลาโนมาได้  ไฝ (Mole, Nevus) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของร่างกายมีการรวมตัวในบริเวณเดียวกันจนเห็นเป็นสีเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และอาจมีลักษณะเรียบหรือนูน การเกิดของไฝมีทั้งที่เป็นมาตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในภายหลัง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งมีสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เม็ดใหญ่ขึ้นหรือจางหายไปก็ได้  ‘ไฝเสน่ห์’ หรือ ‘มะเร็งผิวหนัง’ ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยง รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง ผู้ที่มีผิวสีอ่อนหรือมีความไวต่อแสงแดดมาก  มีไฝจำนวนมาก  มีไฝขนาดใหญ่แต่กำเนิด  มีไฝลักษณะผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง  ได้รับแสงแดดมากในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น  มีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว  ต้องสัมผัสแสงแดดอย่างมากเป็นประจำ  มีประวัติเคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน  ได้รับยากดภูมิบางชนิด  มะเร็งผิวหนังชนิด Melanomaมะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือ Melanoma ซึ่งพบผู้ป่วยกว่าสองแสนคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตถึง ห้าหมื่นคนต่อปี เพศชายมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศหญิง  Melanoma เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังหรือ Melanocyte ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากเกินไป การตรวจพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้และเริ่มรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ได้ถึง 99% … Continue reading ‘ไฝเสน่ห์’ หรือ ‘มะเร็งผิวหนัง’ ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยง รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา