ทำความเข้าใจ ความเศร้าเสียใจ-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง

“โรคซึมเศร้า” พบได้ทั่วไป จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคจิตเภทและปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ร้อยละ 3.2 และโรค dysthymia ร้อยละ 1.18 แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้เสียชีวิตโดยตรง ยกเว้นผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าก็เกิดความพิการได้ และเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 4 เมื่อวัดจากการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) และในปี ค.ศ. 2020 คาดว่าจะเลื่อนขึ้นเป็นอันดับ 2 ผู้ที่เข้ารับการรักษาในเวชปฏิบัติทั่วไปจำนวนไม่น้อยมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมกับโรคทางกายและโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล จึงมีบทบาทมากขึ้นในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาซึมเศร้า และจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อวินิจฉัยแยกโรค รวมถึงรักษาได้อย่างถูกต้อง ความหมายเกี่ยวกับอารมณ์ที่ควรทราบ – Emotion คือ ความรู้สึกที่มีความซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรม – Mood คือ ส่วนของ Emotion ซึ่งเป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในและคงอยู่นาน ถ้ามีความผิดปกติรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทุกด้าน รวมทั้งการรับรู้โรคภายนอก – Affect หมายถึง ลักษณะอารมณ์ที่แสดงให้เห็นภายนอก บอกถึงระดับความรู้สึกภายในและบอกสภาวะอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ โดยที่ผู้อื่นสามารถสังเกตและประเมินได้ ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางสีหน้า … Continue reading ทำความเข้าใจ ความเศร้าเสียใจ-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง