สร้างบรรยากาศด้วยลิสต์เพลงไทยที่ต้องมีไว้ในงานแต่งงาน

account_circle

พิธีสวมแหวนหมั้น

เมื่อโน้ตตัวสุดท้ายจากวงกลองยาวสิ้นสุดลง วงดนตรีเครื่องสายหรือวงมโหรี (ที่เล่นมาตั้งแต่ช่วงพิธีสงฆ์) จะเล่นเพลงรับขันหมากต่อเนื่องทันที เพื่อบอกโดยนัยว่ากําลังจะเข้าสู่พิธีการสําคัญต่อไป โดยเพลงที่ใช้บรรเลงคลอเบาๆ จะเน้นความสนุก เพื่อสร้างบรรยากาศระหว่างที่ลําเลียงขันหมากไปวางยังตําแหน่งที่เตรียมไว้จนครบ จากนั้นจะบรรเลงอีกครั้งในช่วงที่เจ้าบ่าวเดินไปรับตัวเจ้าสาว (ช่วงนี้เป็นเพียงการเล่นเพื่อไม่ให้บรรยากาศเงียบเกินไปแต่จะไม่เล่นก็ไม่ผิด) เมื่อบ่าว – สาวนั่งประจําที่แล้วจึงเริ่มบรรเลงเพลงอีกครั้งในช่วงสวมแหวน

เพลงไทย

พิธีหลั่งน้ําพระพุทธมนต์

วงดนตรีที่ใช้ยังคงเป็นวงเครื่องสายหรือวงมโหรีเช่นเดิม แต่ใช้เพลงเฉพาะมากขึ้น ช่วงสวมมงคลนิยมใช้ เพลงมหาชัย ขณะที่ช่วงหลั่งน้ําพระพุทธมนต์ นิยมบรรเลงเพลงมงคลที่มีความหมายเกี่ยวกับความรักเพื่อเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าว – สาว ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเพลงชุดที่เรียกว่า เพลงตับ และนิยมใช้ เพลงตับวิวาห์พระสมุทร จากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นเพลงที่มีความหมายดีขับกล่อมระหว่างถอดมงคลจนถึงช่วงรับประทานอาหารว่าง จึงเป็นอันหมดหน้าที่ของวงดนตรี

ราคาจ้างขึ้นอยู่กับสิ่งนี้

ไม่ว่าจะเป็นวงเครื่องสายวงมโหรีหรือวงกลองยาว ราคาการจ้างงานโดยประมาณอยู่ที่ 1,500 – 2,000 บาทต่อหนึ่งคน แต่ส่วนใหญ่จะคิดราคาเหมาวงขนาดเล็ก 6 คน ราคาเริ่มต้นประมาณ 9,000 บาท รวมเครื่องแต่งกายแล้ว แต่หากบ่าว – สาวขอให้มีเครื่องแต่งกายเฉพาะ เช่น เครื่องประดับ ชุดนางรํา หรือมีการแสดงเพิ่มเติม เช่น ในวงกลองยาวขอให้มีการแสดงต่อตัว ตีลังกา เพิ่มเครื่องเป่าไทยหรือแตรวงเข้ามาด้วย ราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามความยากง่าย ซึ่งราคาที่ว่ายังไม่รวมค่าเดินทางในกรณีพิเศษ

หากอยากได้ดนตรีร่วมสมัยแต่ยังคงสําเนียงและท่วงทํานองแบบไทยอยู่ก็สามารถนําเครื่องดนตรีสากลมาผสม เช่น นําเปียโนมาเล่นคู่กับระนาดเอก ขิม หรือซอด้วง การผสมผสานนี้ยังสามารถนําไปบรรเลงเพลงตามต้องการได้มากขึ้น ทั้งเพลงไทยเดิมเพลงไทย หรือแม้แต่เพลงสากลด้วย

อ่านเพิ่มเติม เพลงมหาฤกษ์-เพลงมหาชัย เพลงไหนใช้ยังไงในงานแต่งงาน

Praew Recommend

keyboard_arrow_up