‘โธมัส ดาวิน’ ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ เผยเด็กไทยอาการน่าเป็นห่วง เพราะ 4 สิ่งนี้…

เด็กไทยอาการน่าเป็นห่วง เพราะ 4 สิ่งนี้

เด็กไทยอาการน่าเป็นห่วง ท่ามกลางปัญหาสังคมไทยมากมายที่ยังแก้กันไม่ตก อย่างน้อยก็ยังมีเรื่องน่าดีใจแทนเด็กไทยที่ดีแทคและยูนิเซฟเล็งเห็นถึงความสำคัญ จับมือกันสร้างสรรค์นโยบาย และกิจกรรมใหม่ๆ ช่วยเหลือเด็ก แต่จะเป็นเรื่องอะไรบ้างนั้น คุณโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยมานานกว่า 16 ปี จะมาเผยข้อมูลให้ฟังกันชัดๆ บอกเลยว่าทุกคนควรรู้ และพ่อแม่ควรอ่าน​

O30A3705
ไทยมีอัตราแม่ให้นมลูกต่ำที่สุดในโลก!  
“นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากพัฒนาการทางสมองของมนุษย์จะเติบโตเร็วที่สุดในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปีแรกเท่านั้น แต่ที่น่ากังวลคือเด็กจำนวนมากได้รับสารอาหารบำรุงไม่เพียงพอ ทำให้สมองเติบโตได้ไม่เต็มที่ ซึ่งนั่นหมายถึงตลอดไปนะครับ คุณไม่สามารถทำให้สมองเติบโตได้อีกในภายหลัง สิ่งหนึ่งที่เราพบว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กคือ การกินนมแม่ ที่น่าตกใจคือมีเด็กไทยแค่ 
12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้กินนมแม่ เท่ากับว่าประเทศไทยมีอัตราแม่ให้นมลูกต่ำที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่แม่ทุกคนก็มีน้ำนมและฟรี แล้วนมแม่ก็มีประโยชน์มากต่อพัฒนาการของเด็ก พูดง่ายๆ คือลูกคุณจะฉลาดและแข็งแรงขึ้น แต่ทุกวันนี้บริษัทส่วนใหญ่อนุญาตให้พนักงานลาคลอดได้แค่ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งเรากำลังรณรงค์ให้เปลี่ยนเป็น 6 เดือน เพราะเด็กควรได้รับนมแม่อย่างน้อย 
6 เดือน น่าดีใจที่ตอนนี้มีดีแทคตอบรับแล้ว ถือเป็นบริษัทไทยรายแรกที่อนุมัติให้พนักงานลาคลอดได้ 6 เดือน จึงหวังว่าเราจะได้รับการตอบรับจากบริษัทอื่นๆ อีก
คุณภาพทางการศึกษา
“เด็กในโรงเรียนเล็กๆ ที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ต้องเรียนรวมกันในห้องเดียว สอนโดยครูคนเดียว ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
ส่งผลต่อการหางานและการหารายได้ในอนาคต คุณภาพชีวิตก็ต่ำลงด้วย
ส่วนคุณภาพการศึกษา เราพบความจริงว่าการเรียนการสอนและการสอบในประเทศไทยไม่ช่วยสนับสนุนให้เด็กรู้จักคิดด้วยตัวเองเท่าไรนัก จึงกำลังผลักดันให้มีการเปลี่่ยนแปลงครับ
การใช้ความรุนแรงกับเด็ก
“ถือเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ที่สำคัญในเมืองไทยยังมีค่านิยม
เรื่องการตีลูกเพื่อทำโทษ ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่าการใช้ความรุนแรงกับเด็กเป็นการสร้างการรับรู้ให้เด็กเข้าใจว่าการใช้ความรุนแรงเป็นการแก้ปัญหา และเป็นเรื่องปกติที่รับได้ในสังคม แนวโน้มคือเมื่อเขาโตขึ้นก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้กำลังในการแก้ปัญหา เพราพบว่ามากกว่าครึ่งของเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความรุนแรง เขาจะลงโทษลูกโดยใช้ความรุนแรงเช่นกัน ดังนั้นเราจึงพยายามผลักดันพ่อแม่ให้เปลี่ยนความคิดนี้เสีย รวมถึงคุยกับตำรวจและนักสังคมสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือ
เด็กๆ ที่ได้รับความรุนแรงอย่างทันท่วงที เพราะทุกการทำร้ายจะส่งผลกระทบต่อทั้งจิตใจและร่างกายของเด็ก
รู้ยัง! ไทยหนึ่งในประเทศที่เด็กมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยที่สุดในโลก 
“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เด็กมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยที่สุดในโลก คือ 13 ปี น่าตกใจมากนะครับ เพราะเด็กวัยนี้ยังแยกไม่ออกว่าความรักกับเพศสัมพันธ์ต่างกันอย่างไร เขาไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคติดต่ออื่นๆ อย่างไรบ้าง
 การป้องกันคืออะไร แม้ประเทศไทยจะบรรจุวิชาเพศศึกษาไว้ในหลักสูตร
 แต่เราพบว่าวิธีการสอนยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่ได้เน้นย้ำ
ให้เด็กตระหนักว่านี่คือเรื่องสำคัญที่เขาต้องรู้ หนักไปกว่านั้นคือ พ่อแม่
ไม่ยอมรับว่าลูกๆ ของเขามีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ถามลูกอย่างจริงจัง 
ซึ่งลูกส่วนใหญ่ก็ไม่คุยเรื่องนี้กับพ่อแม่อยู่แล้ว กลายเป็นว่าต่างคนต่างอยู่
ในโลกที่ตัวเองคิดเอาเอง
“จึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับพวกเขาครับ”

2 โครงการดีๆ อีกหนึ่งทางเลือกที่พ่อแม่ควรรู้
1.       โครงการ “บริการ*1515 คุณแม่นับหนึ่ง” ที่ยูนิเซฟ ดีแทค และ
กรมอนามัย ร่วมกันจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์
จนอายุ 2 ขวบ โดยส่งเป็นบริการข้อความ SMS ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองทุกวันที่สำคัญ ไม่มีค่าใช้จ่าย แค่คุณแม่สมัครเข้ามา ดีแทคก็จะส่งข้อความไปว่าเมื่อใดที่ คุณแม่ควรไปพบหมอ อะไรคือสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูเด็กแต่ละช่วงวัย ฯลฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากๆ

2.       โครงการทำคู่มือสำหรับพ่อแม่ (Parent Guide) แนะนำการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยกับลูกๆ เพราะทุกวันนี้เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ตครองโลก ยูนิเซฟกับดีแทคจึงทำงานร่วมกันคิดหาวิธีการที่จะให้พ่อแม่ช่วยแนะนำการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับลูกๆ รวมถึงป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นผ่านไกด์บุ๊กดังกล่าว

เรื่อง/ภาพ : แพรวดอทคอม

Praew Recommend

keyboard_arrow_up