เครื่องหัวสุดอลัง! ส่อง ‘ศิราภรณ์’ 3 ละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ พิษสวาท-เพลิงพระนาง-นาคี

ตามมาต่อกันที่เรื่อง เพลิงพระนาง ด้วยความอลังของคอสตูมและศิราภรณ์สุดอลังที่ประดับบนศีรษะของซุป’ตาร์ อั้ม พัชราภา ก็ดึงดูดความสนใจจากแฟนๆ ได้มากแล้ว

เป็ด อกฤษณ์ กาญจนกันติกะ เป็นผู้ดูแลเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับละครเรื่องนี้ ด้วยเนื้อเรื่องที่สมมติขึ้นบวกกับการนำโครงเรื่องมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพม่า ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพม่าเสียเมือง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพม่าเสียเมืองให้ฝรั่ง คุณเป็ด สไตลิสต์จึงได้ประยุกต์การแต่งกายจากหลายเชื้อชาติในอาเซียน รวมถึงดึงศิลปะอินเดียเข้ามาร่วมด้วย เห็นได้จากศิราภรณ์ที่สาวอั้มใส่นั่นเอง

ศิราภรณ์
ศิราภรณ์บนศีรษะอั้มภาพแรก ทำจากผ้าสวมใส่สบาย และอีกแบบสาวอั้มบอกว่า ใส่แล้วเจ็บ แต่สวยและขลัง ซึ่งก็มีความคล้ายกับศิลปะของพม่า

ศิราภรณ์สุดอลัง ที่สาวอั้มสวมใส่เตะตาผู้ชมนั้น มีหัวอยู่ 2 แบบ ซึ่งได้คุมโทนสีให้เข้ากับคาแรกเตอร์ของเจ้าอนัญทิพย์ ที่เป็นตัวละครเข้มข้น สีจึงอยู่ในโทนสีม่วง แดง ส้ม ต่างกับ ยุ้ย จีรนันท์ ที่รับบทเป็น พระมหาเทวีเจ้าเศกขระเทวี ฝ่ายดีที่ดีไซน์เป็นโทนสีพาสเทล

ศิราภรณ์ถึงแม้เรื่องเพลิงพระนางจะไม่ได้ระบุสมัยหรือเชื้อชาติที่ชัดเจน แต่เครื่องประดับก็จัดว่าสวย ต้องตาได้มาก

ส่งท้ายด้วยเรื่อง นาคี ที่ได้นางเอกหน้าหวาน แต้ว ณฐพร มารับบท เจ้าแม่นาคี สวมใส่เครื่องแต่งกายไทยโบราณและศิราภรณ์สุดอลัง ที่ได้สร้างความตะลึงให้แก่คนดูไปรอบหนึ่งแล้วในงานครบรอบ 46 ปี ช่อง 3

ศิราภรณ์ศิราภรณ์ด้วยเนื้อเรื่อง นาคี เกียวกับหญิงสาวพญานาคมีความรักกับชายหนุ่มนักโบราณคดีแสดงโดย เคน ภูภูมิ เกิดที่ทางฝั่งภาคอีสานใต้ จึงได้นำศิลปะวัฒนธรรมไทย-ขอม มาประยุกต์จัดทำเป็นศิราภรณ์ที่สาวแต้วสวมใส่ ซึ่งเครื่องศิราภรณ์จะเป็นทรงขอม แต่ได้นำรูปพญานาค จิตรกรรมแบบไทยมาผสมเข้าด้วยกัน

ศิราภรณ์หากสังเกตศิราภรณ์ของสาวแต้ว ก็จะพบว่ามี 2 แบบ อีกแบบในวันบวงสรวงก็จะไม่มีภาพพญานาคตรงกลาง และเมื่อมองภาพสาวแต้ว ก็ช่างละม้ายคล้ายนางอัปสรา หรือนางอัปสร เขมร ที่พบได้ภายในหินสลักในตัวปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ยกกองถ่ายไปที่แห่งนี้ด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสายตาผู้ชมว่า จะสวยแปลกต้องตามากน้อยแค่ไหน แต่ที่พูดได้เต็มปากเลยคือ สาวแต้วนั้นสวยเด่นมาก

และถ้าหากได้ศึกษาไปยังข้อมูลศิราภรณ์และงานประดับศิลปะขอมในไทย ลักษณะที่สังเกตได้ชัดเจนของศิราภรณ์แบบมงกุฏและกะบังหน้าคือ การปรับรูปทรงมงกุฏเป็นทรงกรวยสูง กระบังหน้ามีขนาดใหญ่และนิยมสร้างเป็นชิ้นเดียว และยังพบหลักฐานประติมากรรมที่ทรงมงกุฏทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้นอีกด้วย ซึ่งก็มีส่วนคล้ายคลึงกับศิราภรณ์ที่แต้วสวมใส่นั้นด้วย

ถือว่า ปีนี้เป็นปีแห่งละครพีเรียด ที่มีเรื่องสวยงามของคอสตูมและคุณค่าทางเนื้อเรื่องให้ผู้ชมตลอดปี

 

เรื่อง : Gingyawee_แพรวดอทคอม
ข้อมูล : https://www.yaklai.com/entertainment/pitsawart-2/, http://www.posttoday.com/ent/thai/443305, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ศิราภรณ์และงานประดับศิลปะเขมรในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยนางสาววรรณวิภา สุเนต์ตา
ภาพ : IG @aum_patchrapa @yui_chiranan, M-Berserk, www.indochinaexplorer.com

Praew Recommend

keyboard_arrow_up