นางสงกรานต์

ตำนาน นางสงกรานต์ “ทุงสะเทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม

Alternative Textaccount_circle
นางสงกรานต์
นางสงกรานต์

เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ “ท้าวกบิลพรหม” จึงเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุม และมอบหมายให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร เนื่องจากพระเศียรของ “ท้าวกบิลพรหม” หากตกไปอยู่ที่ใดก็จะเป็นอันตราย หากหล่นลงพื้นจะทำให้ไฟไหม้โลก โยนขึ้นบนอากาศจะทำให้ฝนแล้ง และหากนำเศียรไปทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้งเหือดไปหมด ดังนั้นธิดาทั้ง 7 จึงต้องผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร นางทุงสะเทวี ผู้เป็นธิดาองค์โต เป็นคนแรกที่นำพานมารองรับเศียรของท้าวกบิลพรหม จากนั้นนางทุงสะเทวีก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7 ก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุกๆ ปี  จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์”

ทั้งนี้ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ได้ออกประกาศสงกรานต์ปี 2562 ว่า “ปีกุน (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุน้ำ) เอกศก จุลศักราช 1381 ทางจันทรคติเป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติเป็นปกติสุรทิน วันที่ 14 เม.ย. เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 เวลา 15 นาฬิกา 03 นาที 03 วินาที นางสงกรานต์ ทรงนามว่า ทุงสะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้ว-ปัทมราค ภักษาหารอุทุมพร พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังครุฑ เป็นพาหนะ วันที่ 16 เม.ย. เวลา 19.12 น. เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1381 ปีนี้ วันจันทร์ เป็นธงชัย วันเสาร์ เป็นอธิบดี วันอาทิตย์ เป็นอุบาทว์ วันจันทร์ เป็นโลกาวินาศ ปีนี้ วันพฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 3 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 2 ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ (ด้วงกับแมลง) จะได้ผลกึ่งเสียกึ่งเกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี”

“นางสงกรานต์ ประจำปี 2562” คือ “นางทุงษะเทวี” เป็นมนุษย์ผู้หญิง ธาตุน้ำ เป็น “นางสงกรานต์” ประจำวันอาทิตย์ ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้ว-ปัทมราค ภักษาหารอุทุมพร พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังครุฑเป็นพาหนะ โดยทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอาทิตย์ ชื่อ “นางแพงศรี”

 


ภาพจาก : @orn_nuorn   jordwphoto

Praew Recommend

keyboard_arrow_up