เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9

19 เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 แรงบันดาลใจของพสกนิกร ทรงอุทิศทั้งชีวิตเพื่ออาณาประชาราษฎร์

เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9
เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9

11.ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกําลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ก็ยังรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกําลังมีพายุเข้าประเทศ เพื่อพระองค์จะได้ทอดพระเนตรมอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

12. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักว่า ทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นั้นเป็นทุกข์ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ ทําให้พระองค์ทรงส่งเสริมพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้เกิดความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

13. ครั้งหนึ่งพระองค์มีพระราชดํารัสว่า “ข้าวกล้องมีประโยชน์ ทําให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้อง เรานี่ก็คนจน” สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ราษฎร ไม่เว้นกระทั่งเรื่องสุขอนามัย

14. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ก่อตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” เพื่อสนับสนุนส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชน จนกระทั่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดรับกับพระราชดํารัสเกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนาตอนหนึ่ง ความว่า “มูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งมีหน้าที่พัฒนาประเทศจนมีชัยชนะ ชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์คือ ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดีของประชาชน…”

15. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในระดับรากหญ้าตามพื้นที่ชนบท ด้วยทรงเล็งเห็นว่าความเป็น “รากหญ้า” ย่อมเต็มเปี่ยมด้วย “รากเหง้า” ทางภูมิปัญญา อันเป็น “รากฐาน” ทางสังคมที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งต้นไม้ที่มี “รากแก้ว” ซึ่งสามารถเจริญเติบโตไปเป็น “รากแกร่ง” ที่ลําเลียงธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลําต้นจนแตกกิ่งก้านสาขาผลิร่มเงาได้อย่างยั่งยืน เป็นที่มาของโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดําริ โดยมีพระราชประสงค์ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง จนชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

16. โครงการตามพระราชดําริทุกโครงการล้วนเกิดขึ้นจากพระราชหฤทัยที่ทรงพระเมตตาต่อพสกนิกรเป็นสําคัญ ดังพระราชดํารัสตอนหนึ่งที่ว่า “…การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนํา เราต้องเข้าไปช่วย โดยที่จะดัดเขาให้เข้ากับเราไม่ได้ แต่เราต้องเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ หลักการของการเข้าไปพัฒนาจึงจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”

17. บทเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุดเป็นอีกบทเพลงหนึ่งที่แฝงเร้นไว้ด้วยหลักธรรมคําสอน มุ่งปลูกฝังให้ประชาชนเรียนรู้ที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน ดังเนื้อร้องตอนหนึ่งที่ว่า “นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน”

18. คร้ังหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ทรงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั้งประเทศ”

19. เรียกได้ว่าตลอดพระชนมพรรษา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ในการบําเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อมวลพสกนิกรไทย โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนอื่นใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสแห่งห้วงพระราชหฤทัยที่ใฝ่เมตตาธรรมเป็นสําคัญ

ที่มา: นิตยสารแพรว ปี 2558 ฉบับที่ 871 (10 ธันวาคม 2558)

Praew Recommend

keyboard_arrow_up