ความเครียดมีผลไหม? พร้อมวิธีสังเกตตัวเองเบื้องต้นว่าคุณเสี่ยงเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ หรือไม่?

“ซึมเศร้า” ทางการแพทย์ หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีความรุนแรงมากกว่าอารมณ์เศร้าตามปกติ โดยบางรายอาการเด่นอาจจะมีลักษณะ ความสุขหายไปก็ได้ สาเหตุของโรคเกิดจากมีความผิดปกติในการหลั่งสารเคมีของสมองบริเวณส่วนของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม พบได้ทั้งในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มพบได้ในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสูง ซึ่งในปัจจุบัน โรคซึมเศร้า สามารถรักษาหายขาดได้ด้วยการใช้ยา หรือการใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด ความเครียด สาเหตุของโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยเกิดจากความเครียดที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้เกิดโทษกับชีวิตได้ บางกรณีอาจจะพัฒนากลายเป็นโรคจิตเวชอื่นๆ ต่อไป แล้วจะเริ่มสังเกตตัวเองอย่างไร?  วิธีสังเกตตัวเองว่าคุณเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า หรือไม่? ทางกาย1. พฤติกรรมการกินเปลี่ยน น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว2. การนอนผิดปกติ บางคนอาจจะมีการนอนไม่หลับแต่บางคนอาจจะนอนมากเกินกว่าปกติ3. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ปวดคอบ่าไหล่ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นเท่าปกติ4. มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้ามากขึ้น5. โรคประจำตัวเดิมอาจจะคุมได้ลำบากขึ้น เช่น ความดันขึ้น ทางอารมณ์1. มีความกังวล รู้สึกเครียดตลอดเวลา2. ซึมเศร้า รู้สึกทุกข์ใจมากกว่าปกติ3. อารมณ์หงุดหงิดมากผิดปกติ4. มีความกระวนกระวายใจ ว้าวุ่นใจ ทางความคิด1. ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ หลงลืมมากกว่าปกติ2. การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาแย่ลง3. คิดฟุ้งซ่าน คิดหมกมุ่นในเรื่องอดีต4. ความมั่นใจในตนเองลดลง5. มีความคิดทำร้ายตนเอง คิดเรื่องตาย หากมีอาการเหล่านี้หลายข้อ หรือครบทุกข้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาจจะต้องระวังว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียได้ ฉะนั้นการปล่อยให้มีอาการที่สะสมขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับชีวิตได้ ข้อมูล : โรงพยาบาล Bangkok Mental Health … Continue reading ความเครียดมีผลไหม? พร้อมวิธีสังเกตตัวเองเบื้องต้นว่าคุณเสี่ยงเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ หรือไม่?