“มะเร็งเต้านม” ป้องกันได้ไหม มีวัคซีนหรือไม่ และเทคนิคตัดเต้าแบบใหม่ดีอย่างไร?

คำถามยอดนิยมตลอดกาลเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม คือ ป้องกันได้ไหม? มีวัคซีนไหม? ตรวจคัดกรองเรื่อยๆ เหมือนรอให้เป็นแล้วค่อยรักษา? อยากมีวิธีป้องกันมากกว่า? ประโยคเหล่านี้เป็นคำถามจากคนไข้ที่มักได้ยินเป็นประจำ ซึ่งสามารถให้คำตอบสั้นๆ คือป้องกันได้ แต่ต้องอธิบายยาววว บทความนี้จะช่วยตอบทุกประเด็นและคลายทุกข้อสงสัย “มะเร็งเต้านม” มากกว่ารักษาคือการป้องกัน ก่อนอื่นขอปูพื้นความรู้เล็กน้อยก่อนว่ามะเร็งเต้านมอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามการตอบสนองต่อฮอร์โมน ได้แก่ Hormone Receptor Positive และ Hormone Receptor Negative ซึ่งส่วนใหญ่ของมะเร็งเต้านมเป็นชนิด Receptor Positive ฉะนั้น จึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมควรลดลง ซึ่งจากงานวิจัยก็พบว่าข้อสันนิษฐานเป็นความจริง และสามารถนำมาใช้แนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันได้จริง (Recommendation Guideline) โดยมี 2 วิธี คือ 1. ใช้ยาทานต้านฮอร์โมน เรียกวิธีนี้ว่า Chemoprevention (แต่ไม่ใช่ยาเคมี) ยาที่ใช้ก็คือ ยาต้านที่เคยนำมาใช้ในการรักษานั่นเอง อาทิ Tamoxifen, Raloxifene และ Aromatase Inhibitor 2. การผ่าตัด เพื่อลดการตอบสนอง ด้วยการตัดรังไข่ที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนออกทั้ง 2 ข้าง โดยทั้ง 2 วิธีนี้พบว่าให้ผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้ 60-70% เฉพาะชนิด Hormone Receptor Positive ฉะนั้น จึงต้องเริ่มกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันมะเร็งเต้านมได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งคำตอบก็ง่ายมากคือ ไม่มีเต้านมซะก็สิ้นเรื่อง ยังไม่ต้องวิจัยก็เดาผลได้ว่าน่าจะจริง และน่าจะเป็นการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเกิน 90% และผลการวิจัยก็เป็นเช่นนั้น โดยในช่วงแรกจะเป็นการผ่าตัดเต้านมแบบเรียบๆ ทั้ง 2 ข้าง หรือ Prophylactic Bilateral Simple Mastectomy ซึ่งมีจำนวนเคสที่ทำไม่มาก (ก็แน่ล่ะ ผู้หญิงคนไหนจะอยากทำ) ต่อมาได้พัฒนา “เทคนิคการตัดเต้าแบบใหม่ พร้อมกับการเสริมสร้างหน้าอกขึ้นมาใหม่” ในการผ่าตัดคราวเดียวกัน โดยการผ่าตัดนี้จะเก็บรูปลักษณ์ภายนอกของเต้านมไว้ทั้งหมด … Continue reading “มะเร็งเต้านม” ป้องกันได้ไหม มีวัคซีนหรือไม่ และเทคนิคตัดเต้าแบบใหม่ดีอย่างไร?