พฤติกรรมอะไรบ้างที่เสี่ยง “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

“หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดรุนแรงจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก ร่วมกับการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ การใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้อง การยกของหนักๆ การออกกำลังเวทเทรนนิ่งที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ พฤติกรรมอะไรบ้างที่เสี่ยง “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท“ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้รอบด้าน นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ตั้งแต่โครงสร้างของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไปจนถึงการป้องกันและรักษา เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โครงสร้างของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก กระดูกสันหลังของมนุษย์มีลักษณะเป็นปล้องๆ โดยส่วนหน้าจะเป็นรูปร่างทรงกระบอกสั้นๆ ระหว่างปล้องจะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นไว้ ส่วนปล้องจะมีแกนกระดูก 2 ข้าง ยื่นไปด้านหลัง สร้างเป็นวงโค้งโอบรอบไขสันหลัง และสร้างเป็นข้อต่อด้านหลัง รูปร่างของกระดูกสันหลังแต่ละปล้องจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย ขนาดของปล้องกระดูกสันหลังจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น จากกระดูกคอไล่ลงมาถึงเอว เพื่อรองรับน้ำหนักของร่างกายและการใช้งาน หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีลักษณะเป็นถุงแบนๆ ที่มีเปลือกหนาๆ ตามเส้นรอบวง ภายในบรรจุสารประกอบโปรตีนและน้ำ มีเซลล์สร้างสารประกอบดังกล่าวเล็กน้อย หมอนรองกระดูกทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลัง และทำให้การเคลื่อนไหวระหว่างปล้องขณะที่ก้มเงยหรือเอียงตัวเป็นไปอย่างราบรื่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดได้อย่างไร ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. จากการที่ถุงของหมอนรองกระดูกไม่สามารถทนรับแรงที่มากระทำได้เช่น การถูกกระแทกอย่างรุนแรง หรือการก้มตัวทำให้เปลือกด้านหลังเกิดการฉีก และสารประกอบภายในเกิดการเคลื่อนตัวโป่งนูน และเคลื่อนมาเบียดพื้นที่ของไขสันหลังและเส้นประสาท … Continue reading พฤติกรรมอะไรบ้างที่เสี่ยง “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”