ลดหุ่นผิดวิธีหรือเปล่า? เพราะออกกำลังกายแล้ว “น้ำหนักลด แต่ไขมันไม่ลด”

สงสัยว่าทำไม “น้ำหนักลด แต่ไขมันไม่ลด” วิชาฟิสิกส์สอนให้เราเข้าใจว่า น้ำหนักของเรานั้น คือ แรงที่เกิดจากอัตราเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก กระทำต่อมวลวัตถุหรือตัวเรา ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดในการทำให้น้ำหนักเราลดลงโดยไม่ต้องทำอะไรเลย คือ ย้ายไปอาศัยบนดาวดวงอื่น ที่มีแรงกระทำต่อตัวเราน้อยกว่า สมมติถ้าน้ำหนักเรา ชั่งบนโลกได้ 50 กิโลกรัม หากเราไปชั่งบนดาวอื่นๆ เราจะหนัก 8.28 กก. บนดวงจันทร์, 45.55 กก. บนดาวศุกร์, 19 กก. บนดาวอังคาร และ 3.5 กก. บนดาวพลูโต แต่เรายังเดินทางไปอาศัยบนดาวดวงอื่นไม่ได้ในตอนนี้ ผู้ที่กังวลในเรื่องของน้ำหนักส่วนเกิน ยังมีความจำเป็นต้องรักษาวินัยในการทานอาหารและออกกำลังกายต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้บนโลกอันโหดร้ายที่มีแต่อาหารอร่อยๆ ซึ่งเป้าหมายของการมีรูปร่างที่ดีนั้น แต่ละคนมีเป้าหมายที่ต่างกัน บางคนต้องการลดไขมันและเพิ่มกล้ามเนื้อให้รูปร่างดูดีสมส่วนแบบนักเพาะกาย หรือนายแบบและนางแบบ ทำให้หลายคนพบว่า หลังเข้าคอร์สดูแลรูปร่าง น้ำหนักกลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม แต่มีรูปร่างที่ดีขึ้นจนเสมือนว่าผอมลง เพราะมีมวลกล้ามเนื้อเข้ามาแทนที่มวลไขมันที่หายไป แต่สำหรับบางคนนั้น การลดน้ำหนักต้องการลดเพียงแค่มวลไขมันเท่านั้น สิ่งเหล่านี้จึงควรปรึกษาแพทย์เพราะภายในร่างกายของแต่ละคนมีความเฉพาะเจาะจงนั่นเอง ลดหุ่นผิดวิธีหรือเปล่า? เพราะออกกำลังกายแล้ว “น้ำหนักลด แต่ไขมันไม่ลด” กินให้น้อยลงหรืออดอาหาร ทำให้ไขมันลดลงได้เร็ว? ขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายจะเลือกใช้พลังงานพร้อมใช้ (Dietary Fuel) ที่ได้จากการที่เราทานอาหารก่อน เมื่อหมดลงจึงจะปรับมาใช้พลังงานที่สะสมไว้ (Body Fuel) ได้แก่ โปรตีนในกล้ามเนื้อ และไขมันสะสมเป็นลำดับถัดไป การจำกัดอาหารอย่างไม่ถูกวิธี หรืออดอาหาร แล้วไปออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงแรก ไขมันจะลดลง แต่กล้ามเนื้อก็จะหายไปด้วยเป็นเพราะร่างกายไม่มีสารอาหารเพียงพอที่จะไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สลายออกไป การเผาผลาญไขมันโดยให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อน้อยที่สุด คือ ควรมีการออกกำลังกายที่เพิ่มแรงต้านให้กล้ามเนื้อแบบ weight training (การออกกำลังกายโดยใช้แรงของกล้ามเนื้อในการยกอุปกรณ์ หรือออกแรงต้านน้ำหนักตัวเองโดยไม่มีอุปกรณ์ ) และทำควบคู่กับออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยสลายไขมันส่วนเกิน แต่ควรทำร่วมกับการควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรงดไปบางมื้อโดยเฉพาะมื้อเช้า  โดยหลักการง่ายๆ ของการคุมอาหารคือ งดน้ำตาล เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และของหวาน ลดการทานแป้งขัดขาว ทานผักใบ 40-50% ของมื้ออาหาร คุมปริมาณไขมันที่ทานในแต่ละวัน เน้นทานไขมันดี ทานโปรตีนที่ดี เช่น อกไก่ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันอื่นๆ และลดโปรตีนแปรรูป เช่น แหนม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม เลี่ยงการยกเวทในผู้หญิงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อโตแบบสาวเพาะกาย? การที่กล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นมาได้ขนาดนั้น เราต้องออกแรงจนกล้ามเนื้อเกือบรับไม่ไหว เพื่อให้กล้ามเนื้อสร้างตัวเองเพิ่มขึ้น โดยต้องมีสารอาหารและการพักผ่อนที่เหมาะสมด้วย แต่สำหรับการยกเวทเบาๆ หรือการออกกำลังกายชนิดใช้แรงต้าน จะช่วยคงไว้ซึ่งกล้ามเนื้อของเรา ไม่ให้หายไปขณะออกกำลังกายนั่นเอง รางวัลของคนที่ชอบเพิ่มกล้ามเนื้อ คือ ทุกๆ 0.5 กิโลกรัมของมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้ถึง 40-50 kcal ต่อวัน และถ้าหากออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเสริมด้วย ร่างกายจะใช้พลังงานพร้อมใช้ (Dietary Fuel) ไปจนหมดในช่วงครึ่งชั่วโมงแรกของการออกกำลังกายและจะดึงเอาไขมันสะสมมาใช้เป็นพลังงานแทนหลังจากที่พลังงานส่วนแรกหมดลง เพื่อชดเชยและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ใช้ขณะออกกำลังกาย ปัจจุบันเรามีการตรวจร่างกายแบบเฉพาะเจาะจงและเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์มวลไขมันและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้แต่ละคนมีรูปร่างที่ดี และยังมีสุขภาพดีไปได้พร้อมกัน ขอบคุณข้อมูล : นพ. สมิทธิ์ อารยะสกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และผิวหนัง รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ภาพ : Pixabay   บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 3 ทิปส์ดูแลสุขภาพให้สมดุล ยิ่งอากาศร้อนแบบนี้อย่าหงุดหงิดง่าย เดี๋ยวแก่เร็ว Ketogenic Diet เข้าใจง่ายๆ ใน 4 … Continue reading ลดหุ่นผิดวิธีหรือเปล่า? เพราะออกกำลังกายแล้ว “น้ำหนักลด แต่ไขมันไม่ลด”